การออกแบบโปรแกรม (Design Program)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

การออกแบบโปรแกรม (Design Program) คือ การแสดงลำดับของการทำงานของโปรแกรม เพื่อให้เห็นภาพรวมของการทำงานของขั้นตอนทั้งหมด และเป็นการวางแผนการทำงาน การออกแบบโปรแกรม โดยการใช้ผังงาน (flowchart) ทำให้เข้าใจและเห็นภาพขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมได้ง่ายขึ้น โครงสร้างพื้นฐานของผังงาน (Sequence Structure) แบ่งเป็น  3 ประเภท ครอบคลุม (1) โครงสร้างแบบลำดับ (Sequential Structure) (2) โครงสร้างแบบมีทางเลือก (Selection Structure) และ (3) โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Repetition Structure)

ระบบการทำงานของโปรแกรม

ระบบการทำงานของโปรแกรมประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1. ข้อมูลเข้า (Input) 2. วิธีการประมวลผลที่จะนำมาซึ่งคำตอบ (Process)  และ 3. อะไรเป็นข้อมูลออก (Output)

การออกแบบโปรแกรม (Design Program) คืออะไร

การออกแบบโปรแกรม (Design Program) คือ การแสดงลำดับของการทำงานของโปรแกรม เพื่อให้เห็นภาพรวมของการทำงานของขั้นตอนทั้งหมด และเป็นการวางแผนการทำงาน การออกแบบโปรแกรม โดยการใช้ผังงาน (flowchart) ทำให้เข้าใจและเห็นภาพขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมได้ง่ายขึ้น โครงสร้างพื้นฐานของผังงาน (Sequence Structure) แบ่งเป็น  3 ประเภท ครอบคลุม (1) โครงสร้างแบบลำดับ (Sequential Structure) (2) โครงสร้างแบบมีทางเลือก (Selection Structure) และ (3) โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Repetition Structure)

โครงสร้างแบบลำดับ (Sequential Structure) เป็นโครงสร้างที่แสดงขั้นตอนการทำงาน จากคำสั่งที่ 1 ไปคำสั่งที่ 2 ต่อไปจนถึงคำสั่งสุดท้าย และแต่ละคำสั่งจะมีการประมวนผลเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

โครงสร้างแบบมีการเลือก (Selection Structure) เป็นโครงสร้างที่มีการตรวจสอบเงื่อนไขในการตัดสินใจ แบ่งออกเป็นโครงสร้างแบบมีทางเลือก 2 ทางเลือก หรือโครงสร้างแบบ If..Then..Else และโครงสร้างแบบมีมากกว่า 2 ทางเลือก

โครงสร้างแบบทำซ้ำ (Repetition Structure) จะทำงานแบบเดียวกันซ้ำไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ยังเป็นไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนไขเป็นจริง จนกระทั้งเงื่อนไขเป็นเท็จจึงทำงานอื่นต่อไป

ประโยชน์ของการเขียนผังงาน

  1. ทำให้เข้าใจและเห็นภาพขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมได้ง่ายขึ้น
  2. ทำให้ง่ายในการเขียนโปรแกรม มองเห็นลำดับการทำงาน รู้ว่าสิ่งใดควรทำก่อน-หลัง
  3. สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้ง่าย
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า สิน ประสูติเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ เป็นบุตรของนายไหฮองกับนางนกเอี้ยง และได้อุปสมบทอยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี เพื่อศึกษาหาความรู้จนเกิดความชำนาญในด้านภาษาต่าง ๆ หลังจากลาสิกขาจึงได้เข้ารับราชการจนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก พ.ศ. ๒๓๐๘ พม่าได้ล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาตาก (สิน) จึงถูกเรียกตัวเข้ามาช่วยป้องกันพระนคร เมื่อเห็นว่าสถานการณ์ไม่พร้อมที่จะสู้พม่าได้...

พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มรณภาพ (อ่านว่า มอ-ระ-นะ-พาบ หมายถึง ตาย ใช้สำหรับพระสงฆ์) เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ สิริรวมอายุได้ ๘๕ ปี ๖๕ พรรษา คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง เป็นผู้มีเมตตาสูง ศรัทธาในพระรัตนตรัย...

พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : มหาวาณิชชาดก (โลภมากจนตัวตาย)

มหาวาณิชชาดก (โลภมากจนตัวตาย) ในอดีตมีพ่อค้ากลุ่มหนึ่งได้เดินทางไปค้าขายต่างเมือง ระหว่างที่เดินผ่านทะเลทรายอันแห้งแล้ง เสบียงอาหารและน้ำที่มีอยู่ค่อย ๆ หมดไป พวกพ่อค้ารู้สึกหมดอาลัยและคิดว่าพวกตนคงจะต้องอดน้ำและอาหารตายกลางทะเลทรายเป็นแน่ แต่เป็นโชคดีของพวกพ่อค้าเพราะกลางทะเลทรายมีต้นไม้อยู่ต้นหนึ่ง มีกิ่งก้านให้ร่มเงา พวกพ่อค้าต่างพากันอาศัยพักพิงใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่นั้น มีพ่อค้าคนหนึ่งมองเห็นน้ำซึมออกมาจากกิ่งทางด้านทิศตะวันออก จึงลองตัดปลายกิ่งออก ทันใดนั้น สายน้ำเย็นสะอาดก็ไหลออกมามากมาย พวกพ่อค้าต่างรู้สึกดีใจพากันดื่มน้ำดับกระหายจากต้นไม้วิเศษนั้นพ่อค้าอีกคนเห็นกิ่งไม้ด้านทิศใต้มีกลิ่นหอม น่ารับประทาน จึงตัดกิ่งไม้นั้นปรากฏว่ามีอาหารและผลไม้หล่นออกมามากมาย พวกพ่อค้าต่างดีใจและเก็บผลไม้มารับประทาน ทุกคนจึงรอดตายจากความอดอยาก เมื่อตัดกิ่งทางทิศตะวันตก...

About ครูออฟ 1207 Articles
https://www.kruaof.com