ทักษะการจัดการในการทำงาน ป.6

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง ทักษะการจัดการในการทำงาน แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

    ทักษะการจัดการในการทำงานเป็นความพยายามของบุคคลที่จัดระบบงานในการทำงานเป็นรายบุคคล และจัดระบบคนในการทำงาน เพื่อให้ทำงานได้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

เนื้อหาการศึกษา เรื่อง ทักษะการจัดการในการทำงาน

  1. นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับทักษะการจัดการในการทำงาน โดยการตอบคำถาม ดังนี้
    • นักเรียนรู้จักทักษะการจัดการในการทำงานหรือไม่
    • การทำความสะอาดบ้านจำเป็นต้องมีทักษะการจัดการในการทำงานหรือไม่ เพราะเหตุใด
  2. นักเรียนเล่าลำดับขั้นตอนในการทำความสะอาดห้องนอนของตนเองที่เคยปฏิบัติ
  3. นักเรียนร่วมกันศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหลักการ ทักษะการจัดการในการทำงาน จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น หนังสือเรียน อินเทอร์เน็ต

ทักษะการจัดการในการทำงานและทักษะการทำงานร่วมกัน

การดูแลรักษาสมบัติภายในบ้านอย่างเป็นระบบ ควรมีทักษะการจัดการในการทำงานและทักษะการทำงานร่วมกัน ดังนี้

ทักษะการจัดการในการทำงาน หมายถึง ความพยายามของบุคคลที่จะจัดระบบงานในการทำงานเป็นรายบุคคล และจัดระบบคนในการทำงานกลุ่มเพื่อให้ทำงานสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีกระบวนการดังนี้

 1)   การวิเคราะห์งาน เป็นการพิจารณางานที่จะทำในเรื่องความยากง่ายของวิธีการทำงาน ระยะเวลาในการทำงาน   วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ต้องใช้ในการทำงาน จำนวนคนที่จะใช้ทำงาน ความสามารถของคนที่จะทำงาน  แต่ละอย่างให้สำเร็จได้ดี เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการทำงาน

 2)   การวางแผนในการทำงาน เป็นการกำหนดเป้าหมายของงานที่จะทำ กำหนดวิธีการทำงาน วัสดุ อุปกรณ์ และ  เครื่องมือที่จะใช้งาน กำหนดระยะเวลาในการทำงาน จำนวนคนที่ทำงาน ระบุหน้าที่การทำงานของแต่ละคน   ตามความถนัดและความสามารถ เพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมายโดยประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย  รวมทั้งมีความปลอดภัยในการทำงาน

3)   การปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน เป็นการปฏิบัติงานตามแผนงานที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อลดความซํ้าซ้อน  ในการทำงาน

4)   การประเมินผลการทำงาน เป็นการตรวจผลการปฏิบัติงานหรือผลงานที่ทำเสร็จแล้ว ว่าเรียบร้อย สำเร็จตรงตาม  เป้าหมายที่วางไว้หรือไม่  มีข้อบกพร่องอย่างไร เพื่อที่จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

ทักษะการทำงานร่วมกัน หมายถึง การทำงานเป็นกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยมุ่งเน้นให้ทำงานอย่างมีกระบวนการตามขั้นตอน และฝึกการทำงานกลุ่ม รู้จักบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม ฝึกทักษะในการฟัง พูด สรุปผลนำเสนอรายงานและมีคุณธรรมในการทำงานร่วมกัน งานบ้านที่ต้องอาศัยทักษะการทำงานร่วมกัน ได้แก่ งานทาสีรั้วบ้าน งานซ่อมแซมท่อประปา หรืองานครัว ซึ่งงานบ้านเหล่านี้ ต้องอาศัยสมาชิกในบ้านร่วมกันคิด วางแผน ปฏิบัติ และประเมินผลการทำงานร่วมกัน ต้องรู้จักการแบ่งหน้าที่กันทำตามความสามารถมีการเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนในบ้านได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ดังนั้น ทุกคนในบ้านจึงสลับกันเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดี เพื่อให้งานบ้านเป็นที่พึงพอใจของสมาชิกทุกคนในบ้าน 

  1. นักเรียนแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม แต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์เกี่ยวกับทักษะการจัดการในการทำงาน โดยเขียนเป็นแผนภาพความคิด ดังตัวอย่าง
  1. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันคิดประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่า โดยการตอบคำถามกระตุ้นความคิด ดังนี้
    • ทักษะการจัดการในการทำงานมีความสำคัญอย่างไร
  2. นักเรียนวางแผนการทำความสะอาดเครื่องเรือนภายในห้องเรียน 1 ชนิดโดยใช้ทักษะการจัดการตามกระบวนการทำงาน แล้วบันทึกลงในกระดาษ  ดังตัวอย่าง

การทำความสะอาดเครื่องเรือนไม้

การวิเคราะห์งาน

  • การทำความสะอาดเครื่องเรือนไม้เป็นงานที่ง่าย เพราะมีวิธีการทำงานไม่ซับซ้อน ยุ่งยาก ใช้เวลาน้อย
  • ตรวจดูความสกปรกของเครื่องเรือนไม้ว่ามีความยากหรือง่ายในการทำความสะอาด และมีปริมาณความสกปรกมากหรือน้อย

    การวางแผนในการทำงาน

  • กำหนดเป้าหมายในการทำงาน เช่น เครื่องเรือนไม้สกปรก เนื่องจากฝุ่นละอองและมีรอยขูดขีด ดังนั้น เป้าหมายในการทำงาน คือ เครื่องเรือนไม้สะอาด ไม่มีรอยขูดขีด
  • กำหนดวิธีการทำงาน  1) ใช้ไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่นออก 2) ใช้ผ้าแห้งเนื้อนุ่มเช็ด ถ้ามีรอยขูดขีดให้ใช้ผ้าแห้งสะอาดชุบน้ำมันชักเงาเช็ดรอยขูดขีดนั้น
  • กำหนดวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน ไม้กวาดขนไก่ ผ้าเนื้อนุ่ม น้ำมันชักเงา
  • กำหนดระยะเวลาในการทำงาน 30 นาที
  • กำหนดผู้รับผิดชอบในการทำงาน ตนเอง

การปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน ทำความสะอาดเครื่องเรือนไม้ตามแผนการทำงานที่วางไว้

การประเมินผลการทำงาน ตรวจเครื่องเรือนไม้ว่าสะอาดหรือไม่ รอยขูดขีด ลบเลือนหรือไม่ ถ้ายังไม่เรียบร้อย จึงทำความสะอาดซ้ำอีกครั้ง

สรุปสิ่งที่เข้าใจเป็นความรู้ร่วมกัน

ทักษะการจัดการในการทำงานเป็นความพยายามของบุคคลที่จัดระบบงานในการทำงานเป็นรายบุคคล และจัดระบบคนในการทำงาน เพื่อให้ทำงานได้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาปี 2551

ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2551 ปรับปรุง 2560 แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทางและเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา ป.6

ตอนที่ 1.1 สารอาหาร 1.1.1 ความหมายของอาหารและสารอาหาร 1.1.2 อาหารหลัก 5 หมู่ 1.1.3 ประโยชน์ของสารอาหาร 1.1.4 ธงโภชนาการ 1.1.5 การทดสอบสารอาหาร ตอนที่ 1.2 ระบบย่อยอาหาร 1.2.1 ความหมายและประเภทของระบบย่อยอาหาร 1.2.2 ระบบย่อยอาหารของคน 1.2.3 เคล็ดลับการกินเพื่อระบบย่อยอาหารที่ดี...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ไฟฟ้า

ตอนที่ 3.1 แรงในชีวิตประจำวัน 3.1.1 แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า ตอนที่ 3.2 พลังงานในชีวิตประจำวัน 3.2.1 การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย 3.2.2 สัญลักษณ์ของส่วนประกอบต่าง ฯ ในการต่อวงจรไฟฟ้า 3.2.3 การต่อเซลล์ไฟฟ้า 3.2.4 ประโยชน์ของความรู้ของการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน...

ทฤษฎีการใช้บัตรภาพ

ทฤษฎีการใช้บัตรภาพ (Picture Superiority Effect) เป็นหลักการทางจิตวิทยาที่กล่าวถึงความสามารถของความจำในการจดจำภาพถ่ายที่ดีกว่าการจดจำข้อความเปล่า ๆ หรือคำพูดเท่านั้น หลักการนี้เชื่อว่าความจำมีความแข็งแกร่งและยาวนานขึ้นเมื่อมีการใช้ภาพภายนอกเป็นส่วนประกอบ ตัวอย่างของทฤษฎีการใช้บัตรภาพเป็นไปได้ก็เช่นการใช้ Flashcards ที่มีภาพด้วยข้อความ แทนการใช้ Flashcards ที่มีเพียงข้อความเท่านั้น การมองภาพหรือสัมผัสภาพในบัตรภาพสามารถช่วยสร้างความสัมพันธ์ทางความจำได้ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำและการเรียนรู้ การใช้บัตรภาพยังช่วยสร้างความสนุกสนานและน่าสนใจในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งอาจกระตุ้นความสนใจและความตั้งใจในการเรียนรู้มากขึ้น นอกจากนี้การใช้ภาพยังช่วยให้การจดจำเป็นไปในลักษณะการเรียกขึ้นคืน (retrieval) ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างความรู้ที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม...

About ครูออฟ 1525 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.