ขั้นตอนสําคัญของการดําเนินงานวิจัย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ในการวิจัยแต่ละประเภทอาจมีขั้นตอนแตกต่างกันไป ในที่นี้จะกล่าวถึงขั้นตอนโดยทั่วไป ซึ่งไม่ได้หมายคลุมไปถึงว่าการวิจัยทุกประเภทต้องมีขั้นตอนตามที่จะกล่าวต่อไปนี้ทุกประการ

  1. เลือกหัวข้อปัญหาในขั้นแรกผู้วิจัยจะต้องตกลงใจให้แน่ชัดเสียก่อนว่าจะวิจัยเรื่องอะไร ซึ่งจะต้องพิจารณาให้รอบคอบด้วยความมั่นใจ
  2. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัยหลังจากที่กําหนดเรื่องที่จะวิจัยแล้วจะต้องศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยโดยศึกษาสาระความรู้แนวความคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นในสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น ตําราหนังสือวารสารรายงานการวิจัยและเอกสารอื่นๆและสื่ออิเลคทรอนิกส์ เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต สําหรับผลงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้ทราบว่ามีใครวิจัยในแง่มุมใดไปแล้วบ้างมีผลการค้นพบอะไรมีวิธีดําเนินการใช้เครื่องมือและเทคนิคการวิเคราะห์เช่นไร ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้ทําการวิจัยได้อย่างเหมาะสมรัดกุมไม่ซ้ําซ้อนกับที่คนอื่นได้ทําไปแล้วและช่วยให้ตั้งสมมุติฐานได้อย่างสมเหตุสมผล (กรณีที่มีสมมุติฐาน)
  3. เขียนเค้าโครงการวิจัยซึ่งจะประกอบด้วยส่วนที่เป็นภูมิหลังหรือที่มาของปัญหาความมุ่งหมายของการวิจัยขอบเขตของการวิจัยตัวแปรต่างๆที่วิจัย (กรณีที่ศึกษาเกี่ยวกับตัวแปร) คํานิยามศัพท์เฉพาะ (กรณีที่จําเป็น) สมมุติฐานในการวิจัย (ถ้ามี) วิธีดําเนินการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (ถ้ามี) รูปแบบการวิจัยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล (ถ้ามี) สําหรับส่วนที่กล่าวถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้อาจแยกกล่าวต่างหากหรืออยู่ในส่วนที่เป็นภูมิหลังก็ได้
  4. สร้างเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ดําเนินการสร้างตามหลักและขั้นตอนของการสร้างเครื่องมือประเภทนั้นๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องศึกษาวิธีสร้างเครื่องมือลักษณะธรรมชาติและโครงสร้างของสิ่งที่จะวัด การเขียนข้อความหรือข้อคําถามต่างๆ การให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาแก้ไขการทดลองและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การปรับปรุงเป็นเครื่องมือฉบับจริง เป็นต้น อย่างไรก็ตามผู้วิจัยไม่จําเป็นจะต้องสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลเองเสมอไป กรณีที่ทราบว่ามีเครื่องมือที่มีผู้สร้างเป็นมาตรฐานไว้แล้วอาจยืมเครื่องมือดังกล่าวมาใช้ได้ ถ้าสงสัยในเรื่องความเชื่อมั่นของเครื่องมือเนื่องจากสร้างไว้นานแล้ว ก็อาจนํามาทดลองใช้ที่เป็นมาตรฐาน และตรงกับกลุ่มที่จะทําวิจัย ก็อาจยืมเครื่องมือนั้นและวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพบว่ามีความเชื่อมั่นเข้าเกณฑ์ก็นํามาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้ การวิจัยบางเรื่องอาจไม่ใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลที่เป็นแบบแผนก็จะตัดขั้นตอนนี้ออกไปได้
  5. เลือกกลุ่มตัวอย่างในกรณีที่ไม่ได้ศึกษาจากประชากร แต่จะศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างก็ทําการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามวิธีการที่ได้กําหนดไว้ในขั้นที่ 3 ในการวิจัยบางเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเลือกกลุ่มตัวอย่างก็จะตัดขั้นตอนนี้ออก
  6. เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือหรือเทคนิคต่าง ๆ ที่ได้กําหนดไว้ในขั้นที่ 4 ซึ่งอาจ เป็นแบบสอบถามการสังเกตการณ์หรือการสัมภาษณ์ ฯลฯ กรณีวิจัยเชิงทดลองจะดําเนินการทดลอง สังเกตและวัดผลด้วยฃ
  7. จัดกระทํากับข้อมูลโดยอาจนํามาจัดเข้าตารางวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบสมมุติฐานหรือ นํามาวิเคราะห์ตามทฤษฎีต่างๆ ตามวิธีการของการวิจัยเรื่องนััน
  8. ตีความผลการวิเคราะห์จากผลการวิเคราะห์ในขั้นที่ 7 ผู้วิจัยพิจารณาตีความผลการวิเคราะห์
  9. เขียนรายงานการวิจัยจัดพิมพ์และเผยแพร่ ขั้นนี้เป็นขั้นสุดท้ายของการวิจัยผู้วิจัย จะต้องเขียนรายงานตามรูปแบบของการเขียนรายงานการวิจัยเผยแพร่ประเภทนั้นๆ ทําการเผยแพร่โดย ลงในวารสาร ทั้งในรูปสิ่งพิมพ์ และใน internet เพื่อให้คนอื่นได้ศึกษา
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาปี 2551

ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2551 ปรับปรุง 2560 แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทางและเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา ป.6

ตอนที่ 1.1 สารอาหาร 1.1.1 ความหมายของอาหารและสารอาหาร 1.1.2 อาหารหลัก 5 หมู่ 1.1.3 ประโยชน์ของสารอาหาร 1.1.4 ธงโภชนาการ 1.1.5 การทดสอบสารอาหาร ตอนที่ 1.2 ระบบย่อยอาหาร 1.2.1 ความหมายและประเภทของระบบย่อยอาหาร 1.2.2 ระบบย่อยอาหารของคน 1.2.3 เคล็ดลับการกินเพื่อระบบย่อยอาหารที่ดี...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ไฟฟ้า

ตอนที่ 3.1 แรงในชีวิตประจำวัน 3.1.1 แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า ตอนที่ 3.2 พลังงานในชีวิตประจำวัน 3.2.1 การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย 3.2.2 สัญลักษณ์ของส่วนประกอบต่าง ฯ ในการต่อวงจรไฟฟ้า 3.2.3 การต่อเซลล์ไฟฟ้า 3.2.4 ประโยชน์ของความรู้ของการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน...

ทฤษฎีการใช้บัตรภาพ

ทฤษฎีการใช้บัตรภาพ (Picture Superiority Effect) เป็นหลักการทางจิตวิทยาที่กล่าวถึงความสามารถของความจำในการจดจำภาพถ่ายที่ดีกว่าการจดจำข้อความเปล่า ๆ หรือคำพูดเท่านั้น หลักการนี้เชื่อว่าความจำมีความแข็งแกร่งและยาวนานขึ้นเมื่อมีการใช้ภาพภายนอกเป็นส่วนประกอบ ตัวอย่างของทฤษฎีการใช้บัตรภาพเป็นไปได้ก็เช่นการใช้ Flashcards ที่มีภาพด้วยข้อความ แทนการใช้ Flashcards ที่มีเพียงข้อความเท่านั้น การมองภาพหรือสัมผัสภาพในบัตรภาพสามารถช่วยสร้างความสัมพันธ์ทางความจำได้ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำและการเรียนรู้ การใช้บัตรภาพยังช่วยสร้างความสนุกสนานและน่าสนใจในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งอาจกระตุ้นความสนใจและความตั้งใจในการเรียนรู้มากขึ้น นอกจากนี้การใช้ภาพยังช่วยให้การจดจำเป็นไปในลักษณะการเรียกขึ้นคืน (retrieval) ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างความรู้ที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม...

About ครูออฟ 1525 Articles
https://www.kruaof.com