การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่เน้นศึกษาความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Naturalism) และปรากฏการณ์ (Phenomenalism) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมอย่างลุ่มลึก เข้าใจความหมาย กระบวนการความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ฯลฯ เพื่อรู้ลึก รู้จริง ของสิ่งที่ศึกษา โดยเน้นการพรรณนา วิเคราะห์และเชื่อมโยงเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่เน้นอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคนและสังคม ที่ต้องการคําตอบว่า ทําไม และอย่างไร มากกว่า ที่จะบอกว่า ใครทําอะไร มีจุดเด่นที่แตกต่างจากการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ได้ผลการวิจัยในเชิงลึกเฉพาะกรณี ไม่เน้นการอ้างอิงไปยังประชากรกลุ่มอื่นๆ (Generalization) กลุ่มตัวอย่างไม่มากเน้นการศึกษาที่เลือกเฉพาะกลุ่มที่ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informant) เป็นการศึกษาที่ให้ความสนใจบริบทของสิ่งที่ศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ (Stakeholders) เน้นการนําเสนอผลการวิจัยมีสีสันโดยการเล่าเรื่อง (Narrative) ทําให้น่าสนใจเพราะคนส่วนใหญ่มักสนใจอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวของคนและสิ่งต่างๆ รอบตัว เป็นการวิจัยที่ไม่ให้น้ำหนักกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณมากนักจึงไม่จําเป็นต้องใช้สถิติขั้นสูงมาช่วยอธิบาย ดําเนินวิจัยไปได้อย่างอิสระโดยทําในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ (Naturalistic) และเน้นการศึกษาวิจัยภาคสนามทําให้ได้รายละเอียดของข้อมูลและผลสรุปที่ละเอียดรอบด้าน ใช้ตรรกะแบบอุปมานเป็นหลักเพื่อทําความเข้าใจแบบองค์รวม (Holistic) มีความยืดหยุ่น (Flexibility) ในการออกแบบวิจัย จึงไม่นิยมเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย และนักวิจัยเป็นเครื่องมือที่สําคัญที่สุด ข้อจํากัดของการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ เป็นการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก ไม่เน้นการสรุปอ้างอิงจากกลุ่มเล็กไปสู่กลุ่มใหญ่ ผลการวิจัยจึงไม่แพร่กระจายและมักใช้ประโยชน์ได้เฉพาะกลุ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูลไม่แกร่งเหมือนข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นค่าสถิติหรือตัวเลข เพราะเน้นข้อมูลที่เป็นข้อความ คําพูด รูปภาพ ของจริง ร่องรอย หรือหลักฐานต่างๆ และ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การตีความเชิงเหตุผลหรือให้เหตุผลในเชิงตรรกะ (Logic Reasoning) ซึ่งต้องใช้การแปลความหมายด้วย เทคนิคค่อนข้างสูง ซึ่งหากวิเคราะห์ไม่ดีจะทําให้ผลการวิจัยขาดความน่าเชื่อถือหรือบิดเบือนไปจากความจริง (สุบิน ยุระรัช. 2559 : 11)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

การเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา: เปลี่ยนบทเรียนให้เป็นสนามเด็กเล่น

เกมการศึกษาคืออะไร? เกมการศึกษา หมายถึง เกมที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ โดยผสมผสานเนื้อหาการศึกษาเข้ากับรูปแบบเกมที่สนุกสนาน เกมเหล่านี้อาจเป็นเกมดิจิทัล เกมกระดาน หรือเกมไพ่ ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา การเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา มีประโยชน์มากมาย ดังนี้ เพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้: เกมที่สนุกสนานและท้าทาย ช่วยให้นักเรียนรู้สึกเพลิดเพลิน และอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น ส่งเสริมการมีส่วนร่วม: เกมกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา: เกมหลาย ๆ เกม ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม:...

พุทธสาวก คืออะไร

พุทธสาวก คือ ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชาวพุทธเพื่อนำไปปฏิบัติตาม โดยมีทั้งพุทธสาวก (ผู้ชาย) และพุทธสาวิกา (ผู้หญิง) ในระดับ ประถมศึกษาปีที่ 1 เราจะได้ศึกษา คือ สามเณรบัณฑิต...

ประวัติศาสดาของศาสนาคริสต์

ศาสดาของศาสนาคริสต์ คือ พระเยซู เป็นชาวยิวเกิดใน พ.ศ. ๕๔๓ (ค.ศ. ๑) ที่เมืองเยรูซาเลม ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิสราเอล พระเยซูเติบโตขึ้นด้วยความสนใจในทางศาสนา เมื่ออายุ ๓๐ ปีท่านได้เข้าพิธีรับศีลล้างบาป และเผยแผ่ศาสนาคริสต์เป็นเวลา ๓ ปี มีผู้ศรัทธาหันมานับถือเป็นจำนวนมากทำให้กลุ่มผู้นำศาสนาเดิมคิดกำจัดพระเยซู โดยกล่าวหาว่า พระเยซู...

ประวัติศาสดาของศาสนาอิสลาม

ศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมุฮัมมัด มุฮัมมัดเป็นชาวอาหรับเกิดใน  พ.ศ. ๑๑๑๔ ที่นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มุฮัมมัดเป็นผู้นำโองการของอัลลอฮ์ (พระเจ้าของศาสนาอิสลาม) มาเผยแผ่จนเกิดเป็นศาสนาอิสลามขึ้น...

About ครูออฟ 1186 Articles
https://www.kruaof.com