เครื่องพิมพ์ (Printer)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

เครื่องพิมพ์ (Printer)

เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยนำเสนองานในรูปแบบสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นรูปแบบของงานนำเสนอที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันทั่วไปจะต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ขณะใช้งาน ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. เครื่องพิมพ์แบบตกกระทบหรือเครื่องพิมพ์แบบใช้แรงกระแทก (Impact Print) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการทำงานคล้ายกับเครื่องพิมพ์ดีด คือ ชิ้นงานอาศัยหลักการสร้างจุดด้วยหัวเข็มกระแทกผ่านผ้าหมึกไปยังชิ้นงาน ทำให้เกิดจุดเพื่อสร้างข้อมูลลงบนชิ้นงาน ความคมชัดของข้อมูลจะขึ้นอยู่กับจำนวนจุดที่กระแทกลงไป โดยจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลจะยิ่งมีความคมชัดมากขึ้น เครื่องพิมพ์ประเภทนี้มักมีขนาดใหญ่ เวลาใช้งานจะมีเสียงดัง เหมาะสำหรับชิ้นงานที่ต้นทุนต่ำและต้องการทำสำเนาหลาย ๆ แผ่น
  2. เครื่องพิมพ์แบบไม่ใช้การตกกระทบหรือเครื่องพิมพ์แบบไม่ใช้แรงกระแทก (Nonimpact Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่พัฒนามาจากเครื่องพิมพ์แบบตกกระทบ มีขนาดเล็ก เวลาใช้งานจะมีเสียงเบาและงานที่ได้จะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบตกกระทบ แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

2.1  เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต (Inkjet) อาศัยหลักการหยดหมึกเป็นจุดเล็ก ๆ ไปที่ชิ้นงานเพื่อประกอบเป็นข้อมูล

2.2  เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser) มีหลักการทำงานด้วยการใช้เทคโนโลยีการยิงผงหมึกด้วยระบบเลเซอร์ไปสร้างข้อมูลที่ต้องการบนชิ้นงาน ผลงานที่ได้จึงมีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต

ปัจจุบันมีเครื่องพิมพ์ให้เลือกหลากหลายชนิดแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ผู้ใช้งานเครื่องพิมพ์จึงควรเลือกใช้เครื่องพิมพ์โดยพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้

  • ลักษณะงาน พิจารณาว่า ข้อมูลที่ต้องการพิมพ์มีลักษณะเป็นตัวหนังสือ รูปภาพ หรือภาพกราฟิกที่มีความละเอียดสูง หากงานนั้นเป็นข้อมูลตัวหนังสือที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนักก็ควรใช้เครื่องพิมพ์แบบตกกระทบ แต่หากงานนั้นเป็นภาพกราฟิกที่มีความละเอียดสูงก็ควรเลือกใช้เครื่องพิมพ์แบบไม่ใช้การตกกระทบ
  • ต้นทุน พิจารณาถึงราคาของเครื่องพิมพ์ ราคาน้ำหมึก ราคาวัสดุที่ใช้พิมพ์ และค่าดูแลรักษาเครื่องพิมพ์ เช่น ค่าล้างหัวเข็ม ค่าทำความสะอาดส่วนประกอบภายใน ค่าเปลี่ยนสายพาน
  • ความเร็ว พิจารณาเปรียบเทียบความเร็วในการพิมพ์งาน ซึ่งเครื่องพิมพ์ประเภทเดียวกันแต่อาจมีความเร็วในการพิมพ์งานแตกต่างกัน ทั้งนี้ต้องศึกษาความเร็วทั้งในการพิมพ์ข้อมูลตัวอักษรและความเร็วในการพิมพ์ข้อมูลภาพ
  • ความละเอียด พิจารณาถึงประสิทธิภาพของงานที่ได้จากการพิมพ์ โดยสิ่งพิมพ์ที่มีความละเอียดมากจะทำให้ข้อมูลมีความชัดมากไปด้วย

 

ที่มา : คู่มือครู แผนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศ ม.3 สำนักพิมพ์วัฒนาพาณิชย์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความหมายและประเภทของเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมายและประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยี เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ระบบเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบเทคโนโลยี เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ วัสดุและเครื่องมือ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุและเครื่องมือต่างๆ กระบวนการทางเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคโนโลยีต่างๆ เข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี หลักการออกแบบ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบที่สำคัญ...

About ครูออฟ 1263 Articles
https://www.kruaof.com