ภาษาคอมพิวเตอร์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์หรือภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Language) มีพื้นฐานมาจากการเปิดและปิดกระแสไฟฟ้า หรือระบบเลขฐานสอง คือ 0 และ 1 เรียงต่อกันเพื่อแทนความหมายต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีผู้สร้างและพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์หลายภาษา เช่น John Kemeny และ Thomas Kurtz สร้างภาษาเบสิก (BASIC) Niklaus Wirth สร้างภาษาปาสคาล (PASCAL) และ Dennis Ritchie สร้างภาษาซี (C) ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งตามลักษณะของภาษาและการใช้งานได้ 4 ประเภท ดังนี้

  1. ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นตัวเลขในระบบเลขฐานสอง คือ 0 และ 1 ภาษาเครื่องเป็นภาษาในรูปแบบเดียวที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้ตัวแปลชุดคำสั่ง แต่มนุษย์จะเข้าใจได้เมื่อแทนด้วยรหัสแทนข้อมูล
  2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) จัดเป็นภาษาระดับต่ำ (Low-level Language) ที่พัฒนามาจากภาษาเครื่อง โดยภาษาแอสเซมบลีจะใช้รหัสภาษาอังกฤษแทนคำสั่งในคอมพิวเตอร์ ทำให้การเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งในภาษาแอสเซมบลีทำได้ง่ายและสะดวกกว่าการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งในภาษาเครื่อง แต่วิธีการเขียนคำสั่งยังมีส่วนคล้ายคลึงกับภาษาเครื่อง รหัสที่ใช้เป็นคำสั่งในภาษาแอสเซมบลี เรียกว่า รหัสนีมอนิก (Mnemonic Code) ใช้แทนเลขฐานสองที่เป็นภาษาเครื่อง
  3. ภาษาระดับสูง (High-level Language) หรือภาษาในยุคที่สาม (Third-generation Language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจภาษาที่ใช้ในคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาที่มนุษย์ใช้ในปัจจุบัน การใช้งานภาษาระดับสูงจะต้องอาศัย
    ตัวแปลภาษา ได้แก่ คอมไพเลอร์และอินเทอร์พรีเตอร์
  4. ภาษาระดับสูงมากและภาษาธรรมชาติ (Natural Language) จัดเป็นภาษารุ่นที่ 4 และ 5 ของพัฒนาการภาษาคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายและตอบสนองต่อผู้ใช้งานทั่วไปมากยิ่งขึ้น คำสั่งของภาษาในระดับนี้จะไม่มีการกำหนดขั้นตอน แต่จะเป็นการบอกหรือระบุสิ่งที่ต้องการแทน นอกจากนี้ในภาษาธรรมชาติยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้และมีความยืดหยุ่นในการใช้คำสั่งมากยิ่งขึ้น เนื่องจากจะใช้ระบบฐานความรู้ (Knowledge Base System) ช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆ

ที่มา : คู่มือครู แผนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศ ม.3 สำนักพิมพ์วัฒนาพาณิชย์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

พุทธสาวก คืออะไร

พุทธสาวก คือ ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชาวพุทธเพื่อนำไปปฏิบัติตาม โดยมีทั้งพุทธสาวก (ผู้ชาย) และพุทธสาวิกา (ผู้หญิง) ในระดับ ประถมศึกษาปีที่ 1 เราจะได้ศึกษา คือ สามเณรบัณฑิต...

ประวัติศาสดาของศาสนาคริสต์

ศาสดาของศาสนาคริสต์ คือ พระเยซู เป็นชาวยิวเกิดใน พ.ศ. ๕๔๓ (ค.ศ. ๑) ที่เมืองเยรูซาเลม ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิสราเอล พระเยซูเติบโตขึ้นด้วยความสนใจในทางศาสนา เมื่ออายุ ๓๐ ปีท่านได้เข้าพิธีรับศีลล้างบาป และเผยแผ่ศาสนาคริสต์เป็นเวลา ๓ ปี มีผู้ศรัทธาหันมานับถือเป็นจำนวนมากทำให้กลุ่มผู้นำศาสนาเดิมคิดกำจัดพระเยซู โดยกล่าวหาว่า พระเยซู...

ประวัติศาสดาของศาสนาอิสลาม

ศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมุฮัมมัด มุฮัมมัดเป็นชาวอาหรับเกิดใน  พ.ศ. ๑๑๑๔ ที่นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มุฮัมมัดเป็นผู้นำโองการของอัลลอฮ์ (พระเจ้าของศาสนาอิสลาม) มาเผยแผ่จนเกิดเป็นศาสนาอิสลามขึ้น...

ปรินิพพาน (ตาย)

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเวลา ๔๕ ปี มีพุทธสาวกเป็นจำนวนมาก พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน (ดับ-ขัน-ธะ-ปะ-ริ-นิบ-พาน หมายถึง ตาย) ขณะพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ที่ใต้ต้นสาละ ณ เมืองกุสินารา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖...

About ครูออฟ 1185 Articles
https://www.kruaof.com