ระบบขับถ่าย

สารอาหารกับการดำรงชีวิต
สารอาหารกับการดำรงชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

 ร่างกายมนุษย์มีกลไกต่าง ๆ ที่ซับซ้อน ร่างกายต้องการพลังงาน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตพลังงานเหล่านี้ ได้จากการเผาพลาญอาหาร ที่กินเข้าไปโดยอาศัยแก๊สออกซิเจน ในกระบวนการนี้ทำให้เกิดของเสียที่ไม่มีประโยชน์ภายในร่างกาย และบางชนิดอาจเป็นพิษต่อร่างกาย ของเสียทีเกิด ได้แก่ น้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และยูเรีย นักเรียนทราบหรือไม่ว่า ของเสียเหล่านั้นถูกขับออกจากร่างกายทางใด

การกำจัดของเสียทางไต

   ไต เป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว ขนาดยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร และหนา 3 เซนติเมตร มนุษย์มีไต 2 ข้างติดอยู่ทางด้านหลังของช่องท้อง สูงระดับเอว ถ้าผ่านไตตามยาว พบว่า ไตประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ เปลือกไตชั้นนอกและเปลือกไตชั้นใน เนื้อไตประกอบด้วยหน่วยไตเล็ก ๆ จำนวนมาก มีลักษณะเป็นท่อขดอยู่ และมีหลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกกระจายอยู่เต็มไปหมด ดังภาพ

ภาพที่ 14 ไตและไตผ่าซีก
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 27

หลอดเลือดที่นำเลือดมายังไต เป็นหลอดเลือดที่ออกจากหัวใจ จะนำสารที่มีประโยชน์ และสารที่ต้องการกำจัด ออกส่งเข้าสู่หน่วยไตทางหลอดเลือดฝอย หน่วยไตจะทำหน้าที่กรองสารออกจากเลือด แร่ธาตุและสารบางชนิด ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และน้ำบางส่วนจะถูกผนังของหน่วยไตดูดซึมกลับคืนมายังหลอดเลือดฝอย ส่วนของเสียอื่น ๆ รวมกันอีก น้ำปัสสาวะ ถูกส่งไปตามท่อไตเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีความจุประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่มีน้ำปัสสาวะเพียง 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร กระเพาะปัสสาวะจะหดตัว ขับน้ำปัสสาวะออกมา ร่างกายขับปัสสาวะประมาณวันละ  1 – 1.5 ลิตร ในปัสสาวะมีส่วนประกอบดังตาราง

สารปริมาณสารชนิดต่าง ๆ (กรัม/100 ลูกบาศก์เซนติเมตร)
น้ำเลือดปัสสาวะ
น้ำ90 – 9395
โปรตีน10 – 200 (ดูดกลับหมด)
ยูเรีย0.032 (ดูดกลับน้อยที่สุด)
กลูโคส0.100 (ดูดกลับหมด)
คลอไรด์0.370.6
ตารางที่ 2 ปริมาณของสารต่าง ๆ ในน้ำเลือดจากของเหลวที่กรองได้และในปัสสาวะของคนปกติ

การกำจัดของเสียทางผิวหนัง

 ผิวหนัง ทำหน้าที่กำจัดของเสียที่เรียกว่า เหงื่อ ซึ่งประกอบด้วยน้ำและแร่ธาตุเป็นส่วนใหญ่ มียูเรียเล็กน้อยเหงื่อถูกลำเลียงผ่านหลอดเลือดในชั้นผิวหนังแท้มารวมกันในต่อมเหงื่อแล้วระเหยออกนอกร่างกายทางรูเหงื่อ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปใต้ผิวหนัง การขับเหงื่อของต่อมเหงื่อจะถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ ดังนั้น เมื่อตกใจหรือมีอารมณ์เครียด ระบบประสาทอัตโนมัติจะกระตุ้นให้มีการขับเหงื่อมากกว่าปกติ

ภาพที่ 15 ต่อมเหงื่อและส่วนประกอบของผิวหนังของมนุษย์
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 28
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาปี 2551

ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2551 ปรับปรุง 2560 แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทางและเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา ป.6

ตอนที่ 1.1 สารอาหาร 1.1.1 ความหมายของอาหารและสารอาหาร 1.1.2 อาหารหลัก 5 หมู่ 1.1.3 ประโยชน์ของสารอาหาร 1.1.4 ธงโภชนาการ 1.1.5 การทดสอบสารอาหาร ตอนที่ 1.2 ระบบย่อยอาหาร 1.2.1 ความหมายและประเภทของระบบย่อยอาหาร 1.2.2 ระบบย่อยอาหารของคน 1.2.3 เคล็ดลับการกินเพื่อระบบย่อยอาหารที่ดี...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ไฟฟ้า

ตอนที่ 3.1 แรงในชีวิตประจำวัน 3.1.1 แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า ตอนที่ 3.2 พลังงานในชีวิตประจำวัน 3.2.1 การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย 3.2.2 สัญลักษณ์ของส่วนประกอบต่าง ฯ ในการต่อวงจรไฟฟ้า 3.2.3 การต่อเซลล์ไฟฟ้า 3.2.4 ประโยชน์ของความรู้ของการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน...

ทฤษฎีการใช้บัตรภาพ

ทฤษฎีการใช้บัตรภาพ (Picture Superiority Effect) เป็นหลักการทางจิตวิทยาที่กล่าวถึงความสามารถของความจำในการจดจำภาพถ่ายที่ดีกว่าการจดจำข้อความเปล่า ๆ หรือคำพูดเท่านั้น หลักการนี้เชื่อว่าความจำมีความแข็งแกร่งและยาวนานขึ้นเมื่อมีการใช้ภาพภายนอกเป็นส่วนประกอบ ตัวอย่างของทฤษฎีการใช้บัตรภาพเป็นไปได้ก็เช่นการใช้ Flashcards ที่มีภาพด้วยข้อความ แทนการใช้ Flashcards ที่มีเพียงข้อความเท่านั้น การมองภาพหรือสัมผัสภาพในบัตรภาพสามารถช่วยสร้างความสัมพันธ์ทางความจำได้ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำและการเรียนรู้ การใช้บัตรภาพยังช่วยสร้างความสนุกสนานและน่าสนใจในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งอาจกระตุ้นความสนใจและความตั้งใจในการเรียนรู้มากขึ้น นอกจากนี้การใช้ภาพยังช่วยให้การจดจำเป็นไปในลักษณะการเรียกขึ้นคืน (retrieval) ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างความรู้ที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม...

About ครูออฟ 1525 Articles
https://www.kruaof.com