ยุคของคอมพิวเตอร์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

คอมพิวเตอร์มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจากอดีตสู่ปัจจุบันรวมถึงอนาคตอันใกล้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 6 ยุค ตามลักษณะของฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้างและการใช้งานคอมพิวเตอร์ ดังนี้

ยุคที่ 1 ยุคหลอดสุญญากาศ เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1940–1953 คือ ยุคที่ใช้หลอดสุญญากาศเป็นอุปกรณ์หลักในการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำให้คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ต้องอยู่ในห้องปรับอากาศตลอดเวลา ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ยังใช้ภาษาเครื่องที่มีลักษณะเป็นรหัสเลขฐานสองอยู่

ยุคที่ 2 ยุคทรานซิสเตอร์ เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1954–1963 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็กลงและไม่ต้องใช้เวลาในการอุ่นเครื่องนานเหมือนคอมพิวเตอร์ในยุคสุญญากาศ เนื่องจากใช้ทรานซิสเตอร์แทนหลอดสุญญากาศ ทำให้มีราคาถูก ใช้พลังงานน้อยลง มีประสิทธิภาพ และทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ยุคที่ 3 ยุคอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1964–1972 ในยุคนี้มีการนำแผงวงจรรวมที่มีความสามารถเทียบเท่ากับการใช้ทรานซิสเตอร์หลายร้อยตัวมารวมกันมาสร้างคอมพิวเตอร์ ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงกว่าเดิม ใช้พลังงานน้อย ทำงานได้เร็ว และมีราคาถูกลง จนในปี ค.ศ. 1965 จึงได้มีการสร้างมินิคอมพิวเตอร์ขึ้นและใช้งานในบุคคลทั่วไปอย่างแพร่หลาย

ยุคที่ 4 ยุคคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือยุคไมโครคอมพิวเตอร์ เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1972–1984 เป็นการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 ซึ่งใช้แผงวงจรรวมขนาดเล็กมาเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่มากจนเกิดเป็นไมโครโพรเซสเซอร์หรือชิปขึ้น โดยชิปตัวแรกผลิตโดยบริษัทอินเทล ชื่อ อินเทล 4004 ส่งผลให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง มีความเร็วมากขึ้น สามารถเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันได้ ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันและสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ได้

ยุคที่ 5 ยุคคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1984–1990 เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์ได้รับความนิยมและเกิดการแข่งขันทางด้านคอมพิวเตอร์อย่างสูง ส่งผลให้คอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง มีการพัฒนารูปแบบการใช้งานที่ทันสมัย ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับพกพา และรองรับระบบเครือข่ายด้วยความเร็วสูง

ยุคที่ 6 ยุคคอมพิวเตอร์ในอนาคต เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1900 เป็นต้นไป จะมีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการตัดสินใจ แก้ปัญหา และการจัดการข้อมูลในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างแพร่หลาย ทำให้คอมพิวเตอร์มีลักษณะการทำงานและการประมวลผลคล้ายมนุษย์มากยิ่งขึ้น

 

ที่มา : คู่มือครู แผนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศ ม.1 สำนักพิมพ์วัฒนาพาณิชย์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความหมายและประเภทของเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมายและประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยี เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ระบบเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบเทคโนโลยี เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ วัสดุและเครื่องมือ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุและเครื่องมือต่างๆ กระบวนการทางเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคโนโลยีต่างๆ เข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี หลักการออกแบบ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบที่สำคัญ...

About ครูออฟ 1263 Articles
https://www.kruaof.com