การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) คือ หลักการและแนวคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมร่วมกับการฝึกคิดหลากหลายมิติ จนเกิดองค์ความรู์ในเรื่องที่ทํานั้นอย่างลึกซึ้ง ดังที่ Bonwell & Eison (1991) ได้ให้คําจํากัดความไว้ว่า Active Learning is Instructional Activities involving students in doing things and thinking about what they are doing ปัจจุบัน Active Learning ถูกแปลความหมาย และใช้คําในภาษาไทยหลายคํา อาทิ การเรียนรู้เชิงรุก การเรียนรู้แบบกระตือรือร้น การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ โดยมีลักษณะที่สําคัญ (นนทลี พรธาดาวิทย์, 2559: 26-27) ดังนี้

  1. ผู้สอนควรกําหนด เป้าประสงค์ (Purposive) โดยเป้าประสงค์นั้นควรสัมพันธ์กับกิจกรรม/งานที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เน้นการพัฒนาทักษะผู้เรียนมากกว่าการเนื้อหาเน้นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. ผู้เรียนควรมีส่วนร่วมในการกําหนดแนวคิด การวางแผนการเรียนรู้ การยอมรับ การประเมินผลและการนําเสนอผลงาน
  3. วิธีการจัดการเรียนรู้สามารถสะท้อน สิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้ได้จากกิจกรรม และสามารถผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับจากผู้สอนทันทีทันใดในการทํากิจกรรม
  4. ควรมีกิจกรรมการเจรจาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
  5. ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่ผู้เรียนชื่นชอบ และไม่ชอบ รวมทั้ง
    วิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหาในการเรียนรู้
  6. ผู้สอนต้องออกแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจ และความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน แต่ละกิจกรรม ที่ทําต้องมีความหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงแก้ปัญหาได้ตามสภาพจริง (Authentic Situation)
  7. การจัดการเรียนรู้ที่มีการสร้างสถานการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดในระดับสูง (Higher Order Thinking) ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือสถานการณ์นั้น
  8. การจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียน กับชีวิตจริง หรือสถานการณ์จริงรวมถึงการบูรณาการวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
  9. การจัดการเรียนรู้ที่ทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเรียนเหมือนไม่เรียน สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ จัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการทํางานร่วมกับผู้อื่น ใช้กระบวนการกลุ่ม และมีการประเมินผลที่หลากหลายทั้งตัวผู้เรียน เพื่อนและผู้สอน
  10. การจัดการเรียนรู้ที่ไม่จํากัดเฉพาะการเรียนรู้ภายในห้องเรียน สามารถเรียนรู้ได้ทุก สถานการณ์ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน ที่บ้าน และสามารถเรียนรู้ได้จากบุคคลทุกคนที่เกี่ยวข้องทํา ให้ความรู้ไม่มีขอบเขตจํากัด
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

ความสำคัญของสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัล

บทความเกี่ยวกับความสำคัญของสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัลในชีวิตประจำวัน การใช้ดิจิทัลกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ และความสำเร็จในโลกปัจจุบันเกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญในด้านนี้มากขึ้นด้วย เรามาสำรวจความสำคัญของการมีสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัลกันเถอะ! 1. ความสำคัญของการทำความเข้าใจเทคโนโลยี การที่เราเข้าใจเทคโนโลยีและการใช้งานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือหรือการทำงานกับคอมพิวเตอร์ เป็นพื้นฐานที่สำคัญ และช่วยให้เราปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ 2. การเข้าถึงข้อมูลและการเรียนรู้ การมีสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัลช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลและการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์หรือการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้เราสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง 3. การสื่อสารและการทำงาน การใช้ดิจิทัลทำให้การสื่อสารและการทำงานกับผู้อื่นเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการส่งอีเมล์ การประชุมออนไลน์ หรือการทำงานร่วมกับทีมผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ 4. การพัฒนาองค์ความรู้และทักษะ การมีสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัลช่วยให้เราสามารถพัฒนาองค์ความรู้และทักษะต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ภาษาต่างๆ การเรียนรู้ทักษะการโปรแกรมหรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ 5....

สมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy)

ไอเดียหน้าเว็บไซต์ ทำการวิจัยคำค้นหาเพื่อค้นหาคำสำคัญบนหน้าหลักและคำสำคัญหลัก 10 คำที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ จัดสรรแต่ละคำสำคัญไปยังหน้าเว็บไซต์ โดยไม่จำเป็นต้องรวมหน้าถามตอบ (FAQ), แกลเลอรี, และหน้าติดต่อหัวข้อหน้าคำสำคัญโครงร่างหน้าหลักสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัล- พูดถึงความสำคัญของการมีสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัล - อธิบายเกี่ยวกับประโยชน์และวิธีใช้ของสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัล - การเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจำวันบทความการเรียนรู้ดิจิทัล- ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ดิจิทัล - วิธีการพัฒนาทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ - การใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ไอเดียบทความบล็อก จากนั้น...

เทคนิคการเตรียมตัวสอบ IELTS: เตรียมตัวอย่างไรให้ได้คะแนนสูง?

เทคนิคการเตรียมตัวสอบ IELTS เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ที่ต้องการไปเรียนต่อต่างประเทศหรือทำงานต่างประเทศต้องใส่ใจอย่างยิ่ง เพราะการสอบ IELTS เป็นหนทางที่มีน้ำหนักมากในการประเมินภาษาอังกฤษของผู้เข้าสอบ ในบทความนี้เราจะพูดถึง 10 เทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการเตรียมตัวสอบ IELTS เพื่อให้คุณมั่นใจและสามารถทำคะแนนสูงได้อย่างเชี่ยวชาญ 1. การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสอบ การทำความเข้าใจถึงโครงสร้างของการสอบ IELTS เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากมีส่วนสำคัญในการเตรียมตัว คุณควรทราบถึงโครงสร้างของการสอบแต่ละส่วน เช่น ส่วน Listening, Reading,...

Website Content Plan for การเตรียมตัวสอบ IELTS

1) Website Pages Ideas 2) Blog Post Ideas Writing Style and Tone: สไตล์การเขียนควรเป็นเชิงประชาสัมพันธ์และเต็มไปด้วยคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังเตรียมตัวสอบ IELTS โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและเป็นกันเอง การให้ข้อมูลควรมีความคิดสร้างสรรค์และแบ่งปันประสบการณ์จริงๆ และควรเน้นการแนะนำและส่งเสริมให้ผู้อ่านรู้สึกมั่นใจและพร้อมสำหรับการสอบได้อย่างเต็มที่ การใช้ภาษาที่เป็นมิตรและดูเผชิญปัญหาของผู้อ่านจะช่วยสร้างความสนใจและเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น...

About ครูออฟ 1224 Articles
https://www.kruaof.com