การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

การพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) เป็นทักษะการเรียนรู้ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ไว้ดังนี้

   “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21”

   เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษาดังกล่าวข้างต้น แผนการศึกษาแห่งชาติได้วางเป้าหมาย ด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8CS) ประกอบด้วย ทักษะและคุณลักษณะต่อไปนี้

3Rs  ประกอบด้วย

  1. Reading  คือ การอ่านออก
  2. (W)Riting  คือ การเขียนได้
  3. (A)Rithmetics   คือ การคิดเลขเป็น

8Cs ประกอบด้วย

  1. Critical Thinking &Problem Solving  คือ ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
  2. Creativity & Innovation    คือ ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม
  3. Cross-cultural Understanding  คือ ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์
  4. Collaboration, Teamwork & Leadership  คือ ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
  5. Communications Information & Media Literacy  คือ ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ
  6. Computing & ICT Literacy  คือ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  7. Career & Learning Skills  คือ ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้
  8. Compassion คือ ความมีเมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม

ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs8Cs) เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ที่เน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการแข่งขันนั้น จำเป็นต้องพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ คิดอย่างเป็นระบบด้วยเหตุผลอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ สามารถนำไปปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในสาขาวิชาต่างๆ ได้ทั้ง คณิตศาสตร์ มนุษยศาสตร์ หรือ วิชาอื่นๆ

Computational Thinking (CT) เป็นกระบวนการคิดที่ต้องใช้ทักษะและเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเช่นที่ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) หรือวิศวกรซอฟต์แวร์ (Software Engineer) ใช้ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งแก่นแท้คือการแก้ปัญหาแบบมีลำดับขั้นตอนให้กลายเป็นเรื่องที่สายอาชีพอื่น ๆ สามารถนำแนวคิดลำดับขั้นตอนไปแก้ปัญหา ในเชิงนามธรรม อย่างเช่นการจัดการแถวขบวนของเจ้าของร้านอาหารที่จะทำยังไงให้ไม่เกิดภาวะต่อคิวยาวนาน หรือปัญหา Classics ที่ให้นักทำบัญชีหาวิธีการใช้เครื่องมืออื่น ๆ มาช่วยบันทึกยอดมากกว่าจดลงกระดาษแล้วใช้เครื่องคิดเลขกระทบยอด เป็นต้น

ที่มา www.VDOLearning.com 

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความหมายและประเภทของเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมายและประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยี เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ระบบเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบเทคโนโลยี เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ วัสดุและเครื่องมือ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุและเครื่องมือต่างๆ กระบวนการทางเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคโนโลยีต่างๆ เข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี หลักการออกแบบ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบที่สำคัญ...

About ครูออฟ 1263 Articles
https://www.kruaof.com