การเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

จุดประสงค์การเรียนรู้

  • อธิบายขั้นตอนในการเขียนโปรแกรมและการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำได้ (K)
  • เขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำได้ถูกต้อง (P)
  • เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ (A)

คำถามประจำเรื่อง

  • นักเรียนรู้หรือไม่ว่าการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำมีลักษณะเป็นอย่างไร
  • นักเรียนคิดว่าการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำมีข้อดีอย่างไร
  • นักเรียนคิดว่าน้ำผึ้งเกิดขึ้นได้อย่างไร ใครเป็นผู้ผลิตขึ้นมา และมีกระบวนการผลิตน้ำผึ้งอย่างไร
  • นักเรียนคิดว่ากระบวนการผลิตน้ำผึ้งมีการทำงานซ้ำ ๆ กันหรือไม่ อย่างไรบ้างที่ต้องทำงานซ้ำ ๆ

การเขียนโปรแกรม หมายถึง การเขียนชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยเริ่ม กระบวนการตั้งแต่การออกแบบโปรแกรม การเขียนชุดคำสั่งเพื่อให้โปรแกรมทำงานตามที่ออกแบบไว้ จนกระทั่งตรวจสอบผลลัพธ์การทำงานที่ได้ และทำการแก้ไขข้อผิดพลาดที่พบ ส่วนการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ จะช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายและสะดวกขึ้น โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง

กระบวนการผลิตน้ำผึ้ง

น้ำผึ้งเกิดจากน้ำหวานของเกสรดอกไม้ที่ผึ้งหลาย ๆ ตัวช่วยกันบินไปหาน้ำหวานจากเกสรดอกไม้หลาย ๆ ดอก และนำมาผลิตรวมกันไว้ที่รวงผึ้ง

วาดภาพการผลิตน้ำผึ้ง

ผึ้งเดินทางออกจากรวงผึ้ง => เก็บน้ำหวานจากดอกไม้หลาย ๆ ดอก => น้ำหวานไปผลิตเป็นน้ำผึ้งที่รวงผึ้ง

เขียนเปลี่ยนข้อๆ ลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้

1. ขั้นตอนเดินทาง เพราะผึ้งต้องเดินทางหลาย ๆ รอบ
2. ขั้นตอนเก็บน้ำหวาน เพราะผึ้งต้องเก็บน้ำหวานจากเกสรดอกไม้หลาย ๆ ดอก
3. ขั้นตอนผลิตน้ำหวาน เพราะผึ้งมีขนาดตัวที่เล็กส่งผลให้เก็บน้ำหวานได้จำกัดในแต่ละครั้ง จึงต้องนำน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ไปผลิตน้ำผึ้งที่รวงผึ้งหลาย ๆ รอบ

การทำงานเป็นกระบวนการซ้ำ ๆ กันหากถูกนำมาเขียนโปรแกรมจะเป็นการเขียนโปรแกรมคำสั่งในรูปแบบที่ให้โปรแกรมทำงานซ้ำกันหลาย ๆ รอบ โดยใช้ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ในการเขียนชุดคำสั่งเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนด

การเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ หมายถึง การเขียนชุดคำสั่งให้โปรแกรมทำงานซ้ำกันหลายรอบ นักเรียนจะเขียนโปรแกรมคำสั่งได้ก็ต้องรู้ความหมายของคำสั่งแต่ละคำสั่งว่ามีหน้าที่การทำงานอย่างไร

การเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำจะช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นและมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมซ้ำกันหลาย ๆ รอบ ช่วยลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า สิน ประสูติเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ เป็นบุตรของนายไหฮองกับนางนกเอี้ยง และได้อุปสมบทอยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี เพื่อศึกษาหาความรู้จนเกิดความชำนาญในด้านภาษาต่าง ๆ หลังจากลาสิกขาจึงได้เข้ารับราชการจนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก พ.ศ. ๒๓๐๘ พม่าได้ล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาตาก (สิน) จึงถูกเรียกตัวเข้ามาช่วยป้องกันพระนคร เมื่อเห็นว่าสถานการณ์ไม่พร้อมที่จะสู้พม่าได้...

พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มรณภาพ (อ่านว่า มอ-ระ-นะ-พาบ หมายถึง ตาย ใช้สำหรับพระสงฆ์) เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ สิริรวมอายุได้ ๘๕ ปี ๖๕ พรรษา คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง เป็นผู้มีเมตตาสูง ศรัทธาในพระรัตนตรัย...

พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : มหาวาณิชชาดก (โลภมากจนตัวตาย)

มหาวาณิชชาดก (โลภมากจนตัวตาย) ในอดีตมีพ่อค้ากลุ่มหนึ่งได้เดินทางไปค้าขายต่างเมือง ระหว่างที่เดินผ่านทะเลทรายอันแห้งแล้ง เสบียงอาหารและน้ำที่มีอยู่ค่อย ๆ หมดไป พวกพ่อค้ารู้สึกหมดอาลัยและคิดว่าพวกตนคงจะต้องอดน้ำและอาหารตายกลางทะเลทรายเป็นแน่ แต่เป็นโชคดีของพวกพ่อค้าเพราะกลางทะเลทรายมีต้นไม้อยู่ต้นหนึ่ง มีกิ่งก้านให้ร่มเงา พวกพ่อค้าต่างพากันอาศัยพักพิงใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่นั้น มีพ่อค้าคนหนึ่งมองเห็นน้ำซึมออกมาจากกิ่งทางด้านทิศตะวันออก จึงลองตัดปลายกิ่งออก ทันใดนั้น สายน้ำเย็นสะอาดก็ไหลออกมามากมาย พวกพ่อค้าต่างรู้สึกดีใจพากันดื่มน้ำดับกระหายจากต้นไม้วิเศษนั้นพ่อค้าอีกคนเห็นกิ่งไม้ด้านทิศใต้มีกลิ่นหอม น่ารับประทาน จึงตัดกิ่งไม้นั้นปรากฏว่ามีอาหารและผลไม้หล่นออกมามากมาย พวกพ่อค้าต่างดีใจและเก็บผลไม้มารับประทาน ทุกคนจึงรอดตายจากความอดอยาก เมื่อตัดกิ่งทางทิศตะวันตก...

About ครูออฟ 1207 Articles
https://www.kruaof.com