ข่าวลวงคืออะไร ?

ข่าวลวง
ข่าวลวง
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ในทุก ๆ วันเราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ต้องยอมรับว่าหลาย ๆ ข้อมูลส่งผลกระทบต่อความคิด ความเชื่อของเรา ซึ่งข้อมูลบางส่วนนั้นถูกจัดว่าเป็น FAKE NEWS

แล้ว FAKE NEWS คืออะไร ?

1. พาดหัว ลวงให้คลิก (clickbait) ใช้คำหรือรูปภาพพาดหัวที่ทำให้ดูชวนสงสัย ทั้งที่เนื้อข่าวอาจไม่มีอะไรเลย เพื่อเรียกยอดการเข้าดู

2. โฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เรื่องราวที่ถูกคัดและสร้างขึ้นเพื่อให้เข้าใจผิด สร้างอคติทั้งทางลบและบวก โดยมากมักหวังผลทางการเมือง

3. เสียดสี/ล้อเลียน (Satire/Parody) เป็นการเรียกยอดผู้ชมโดยการสร้างข่าวล้อเลียน เสียดสี่คนดังเพื่อความบันเทิง

4. นำเสนอข่าวแบบลวก ๆ (Sloppy Journalism) บางครั้งผู้สื่อข่าวอาจเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือหรือไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมดทำให้ผู้ชมเข้าใจผิด

5. พาดหัวให้เข้าใจผิด (Mislead heading) ใช้คำหรือข้อความในการพาดหัวเพื่อให้คนเข้าใจผิดหรือเรียกร้องความสนใจ ให้คนแชร์ต่อ เนื้อหาอาจไม่ใช่เรื่องเท็จทั้งหมด ซึ่งแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วในสื่อออนไลน์

6. ข่าวลำเอียง (Biased/Slanted news) โซเชียลมีเดียนำพาผู้ใช้สื่อไปยังข่าวหรือข้อมูลบางอย่างที่ช่วยสนับสนุนความคิด ความเชื่อ อคติของผู้ใช้สื่อ โดยวิเคราะห์จากลักษณะคำค้นหาของผู้ใช้สื่อเอง

บางครั้งข่าวสาร หรือข้อมูลที่ผ่านเข้ามาอาจจะไม่ใช่เรื่องจริงทั้งหมด ดังนั้น หมั่นหาความรู้เพิ่มเติม รับข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง เพื่อให้เราไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอมได้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาปี 2551

ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2551 ปรับปรุง 2560 แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทางและเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่างกายของเรา ป.6

ตอนที่ 1.1 สารอาหาร 1.1.1 ความหมายของอาหารและสารอาหาร 1.1.2 อาหารหลัก 5 หมู่ 1.1.3 ประโยชน์ของสารอาหาร 1.1.4 ธงโภชนาการ 1.1.5 การทดสอบสารอาหาร ตอนที่ 1.2 ระบบย่อยอาหาร 1.2.1 ความหมายและประเภทของระบบย่อยอาหาร 1.2.2 ระบบย่อยอาหารของคน 1.2.3 เคล็ดลับการกินเพื่อระบบย่อยอาหารที่ดี...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ไฟฟ้า

ตอนที่ 3.1 แรงในชีวิตประจำวัน 3.1.1 แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า ตอนที่ 3.2 พลังงานในชีวิตประจำวัน 3.2.1 การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย 3.2.2 สัญลักษณ์ของส่วนประกอบต่าง ฯ ในการต่อวงจรไฟฟ้า 3.2.3 การต่อเซลล์ไฟฟ้า 3.2.4 ประโยชน์ของความรู้ของการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน...

ทฤษฎีการใช้บัตรภาพ

ทฤษฎีการใช้บัตรภาพ (Picture Superiority Effect) เป็นหลักการทางจิตวิทยาที่กล่าวถึงความสามารถของความจำในการจดจำภาพถ่ายที่ดีกว่าการจดจำข้อความเปล่า ๆ หรือคำพูดเท่านั้น หลักการนี้เชื่อว่าความจำมีความแข็งแกร่งและยาวนานขึ้นเมื่อมีการใช้ภาพภายนอกเป็นส่วนประกอบ ตัวอย่างของทฤษฎีการใช้บัตรภาพเป็นไปได้ก็เช่นการใช้ Flashcards ที่มีภาพด้วยข้อความ แทนการใช้ Flashcards ที่มีเพียงข้อความเท่านั้น การมองภาพหรือสัมผัสภาพในบัตรภาพสามารถช่วยสร้างความสัมพันธ์ทางความจำได้ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำและการเรียนรู้ การใช้บัตรภาพยังช่วยสร้างความสนุกสนานและน่าสนใจในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งอาจกระตุ้นความสนใจและความตั้งใจในการเรียนรู้มากขึ้น นอกจากนี้การใช้ภาพยังช่วยให้การจดจำเป็นไปในลักษณะการเรียกขึ้นคืน (retrieval) ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างความรู้ที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม...

About ครูออฟ 1525 Articles
https://www.kruaof.com