รู้จักขั้นตอนการแก้ปัญหา ป.4

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง รู้จักขั้นตอนการแก้ปัญหา แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

ขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นหลักการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งประกอบด้วย  ระบุปัญหา รวบรวมข้อมูล วางแผนการแก้ปัญหา แก้ปัญหา ทดสอบและประเมินผล

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง รู้จักขั้นตอนการแก้ปัญหา

นักเรียนร่วมกันอ่านสถานการณ์ตัวอย่างที่กำหนด แล้วตอบคำถาม ดังนี้

         สถานการณ์ตัวอย่าง
แบงค์ชอบนอนดูการ์ตูนและเล่นเกมตอนกลางคืน ทำให้นอนดึกเป็นประจำส่งผลให้แบงค์ตื่นสาย และเดินทางไปโรงเรียนไม่ทันเวลาเข้าเรียน โดนหักคะแนนความประพฤติแบงค์จึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง โดยปรับเวลานอนให้เร็วขึ้น แล้วตื่นให้เช้ากว่าเดิม เพื่อไปโรงเรียนได้ทันเวลาเข้าเรียน           

  • จากสถานการณ์ ปัญหาคืออะไร
  • ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง
  • ในสถานการณ์มีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
  1. นักเรียนร่วมกันสนทนาทบทวนประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับการใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหาดังนี้
    • ตอนนี้นักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับอะไร
    • นักเรียนคิดว่าปัญหาดังกล่าวมีวิธีการแก้ปัญหาหรือไม่
    • นักเรียนเคยลองหาวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวหรือไม่
    • ถ้าเคย นักเรียนแก้ปัญหาดังกล่าวสำเร็จหรือไม่
  2. นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ปัญหาว่ามีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง โดยส่งตัวแทนนักเรียน 1 คน ออกมาเขียนเป็นภาพความคิดบนกระดาน ดังนี้
  1. นักเรียนร่วมกันศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ปัญหา จากบทความด้านล่าง
  2. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับขั้นตอนการแก้ปัญหาในแต่ละขั้นตอนว่ามีลักษณะอย่างไร โดยเขียนสรุปความคิดรวบยอดเป็นภาพความคิด แล้วตอบคำถาม ดังนี้
    • ระบุปัญหา เป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาว่าต้องการอะไร ทราบอะไร
    • รวบรวมข้อมูล    เป็นการรวบรวมข้อมูล นำความรู้ที่มีอยู่หรือหาความรู้ เพิ่มเติมมาแก้ปัญหานั้น
    • วางแผนการแก้ปัญหา     เป็นการวางแผนออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งอาจมีหลายวิธี โดยเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของตนเอง
    • แก้ปัญหา  เป็นการเริ่มแก้ปัญหาตามวิธีการที่เลือก
    • ทดสอบและประเมินผล    เป็นการตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ว่าสามารถแก้ปัญหาที่ต้องการได้หรือไม
    • ก่อนที่นักเรียนจะลงมือแก้ปัญหา นักเรียนทำอย่างไร
    • หลังจากที่นักเรียนลงมือแก้ปัญหาแล้ว นักเรียนทำอย่างไร
  1. นักเรียนแบ่งกลุ่มตามความเหมาะสม แต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ตัวอย่างปัญหาพาเด็กน้อยไปขึ้นจรวดนักเรียนจะหาเส้นทางที่พาเด็กเดินทางผ่านด่านไปขึ้นจรวดได้อย่างไรให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด จากนั้นแต่ละกลุ่มร่วมกันตอบคำถาม ดังนี้

สถานการณ์ตัวอย่าง
เด็กคนหนึ่งจะเดินทางผ่านด่านไปขึ้นจรวดที่อยู่อีกด้านหนึ่ง แต่การเดินทางนั้นจะต้องเสีย ค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในตาราง นักเรียนจะหาเส้นทางที่พาเด็กเดินผ่านไปได้อย่างไรโดยให้เสีย ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และการเดินทางนั้นจะต้องเดินทางขึ้นหรือลง ไปทางซ้ายหรือขวา ไม่สามารถเดินทางในแนวทแยงหรือแนวเฉียงได้

  • ปัญหาของสถานการณ์ดังกล่าวคืออะไร
  • ปัญหาดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนใดของขั้นตอนการแก้ปัญหา
  • จากสถานการณ์นี้ต้องรวบรวมข้อมูลอะไร
  • ขั้นวางแผนการแก้ปัญหามีวิธีการอย่างไร
  • ขั้นแก้ปัญหาของสถานการณ์เป็นอย่างไร
  • ขั้นทดสอบและประเมินผลของสถานการณ์เป็นอย่างไร
  1. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวอย่างปัญหา โดยตอบคำถามกระตุ้นความคิดดังนี้
    • จากตัวอย่างพาเด็กน้อยไปขึ้นจรวด จงบอกจำนวนครั้งของด่านที่ต้องผ่าน
    • มีเส้นทางที่สั้นกว่านี้หรือไม่ ถ้ามีทำไมจึงไม่เลือกเส้นทางนั้น

สรุปความคิดรวบยอด

ขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นหลักการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งประกอบด้วยระบุปัญหา รวบรวมข้อมูล วางแผนการแก้ปัญหา แก้ปัญหา ทดสอบและประเมินผล

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความหมายและประเภทของเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมายและประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยี เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ระบบเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบเทคโนโลยี เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ วัสดุและเครื่องมือ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุและเครื่องมือต่างๆ กระบวนการทางเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคโนโลยีต่างๆ เข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี หลักการออกแบบ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบที่สำคัญ...

About ครูออฟ 1263 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.