ประเภทของไฟล์ภาพ ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

ประเภทของไฟล์ภาพกราฟิก

JPEG หรือ JPG (Join Photographic Export Group)

JPEG    เป็นรูปแบบไฟล์ที่เก็บภาพแบบราสเตอร์ที่ไม่ต้องการคุณภาพสูงมากนัก เช่น ภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล ภาพถ่ายจากโทรศัพท์มือถือและภาพกราฟิกสำหรับแสดงบนอินเทอร์เน็ต สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี เป็นไฟล์ภาพชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยม เพราะไฟล์มีขนาดเล็กสามารถบีบอัดข้อมูลได้หลายระดับ

จุดเด่น
1. สนับสนุนสีได้ถึง 24 bit
2. แสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี
3. สามารถกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
4. มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อย ๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบโพรเกรสซีฟ (Progressive)
5. มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
6. เรียกดูได้กับบราวเซอร์ (Browser) ทุกตัว
จุดด้อย
1. ไม่สามารถทำภาพให้มีพื้นหลังแบบโปร่งใส (Transparent) ได้
2. ทำภาพเคลื่อนไหว (Animation) ไม่ได้

 GIF (Graphic Interchange Format) 

 GIF เป็นไฟล์ภาพที่สามารถบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กได้ส่วนมากจะนำไปใช้บันทึกเป็นไฟล์ภาพ เคลื่อนไหวและนิยมมากในการใช้งานบนเว็บเพจ

จุดเด่น
     1.  สามารถใช้งานข้ามระบบไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) หรือระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix) ก็สามารถเรียกใช้ไฟล์ภาพสกุลนี้ได้
     2.  ภาพมีขนาดไฟล์ต่ำ จากเทคโนโลยีการบีบอัดภาพทำให้สามารถส่งไฟล์ภาพได้อย่างรวดเร็ว
     3.  สามารถทำภาพพื้นหลังแบบโปร่งใสได้
     4.  มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
     5.  เรียกดูได้กับบราวเซอร์ทุกตัว
     6.  สามารถนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหวได้
จุดด้อย
     1.  แสดงสีได้เพียง 256 สี 
     2.  ไม่เหมาะกับภาพที่ต้องการความคมชัดหรือความสดใส 

PNG (Portable Network Graphics)

PNG เป็นชนิดของไฟล์ภาพที่นำจุดเด่นของไฟล์ภาพแบบ GIF และแบบ JPG มาพัฒนาร่วมกัน ทำให้ไฟล์ภาพชนิดนี้แสดงสีได้มากกว่า 256 สี และยังสามารถทำพื้นหลังภาพให้โปร่งใสได้ จึงเป็นไฟล์ภาพที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน  

จุดเด่น
     1.   สนับสนุนสีได้ตามค่า True color (16 bit, 32 bit หรือ 64 bit)
     2.   สามารถกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ได้ตามที่ต้องการ
     3.   ทำภาพพื้นหลังแบบโปร่งใสได้
จุดด้อย
     1.   หากกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ไว้สูงจะใช้เวลาในการคลายไฟล์ภาพสูงตามไปด้วย 
     2.   ไม่สนับสนุนกับบราวเซอร์รุ่นเก่า 
     3.   โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย

BMP (Bitmap)

BMP เป็นรูปแบบของไฟล์ภาพมาตรฐานที่ใช้ได้ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์โดยมีลักษณะการจัดเก็บ ไฟล์ภาพเป็นจุดสีทีละจุดจึงทำให้ภาพดูเสมือนจริง

จุดเด่น
      1.   แสดงรายละเอียดสีได้ 24 บิต
      2.   ไม่มีการสูญเสียข้อมูลใด ๆ เมื่อมีการย่อหรือขยายภาพ
      3.   นำไปใช้งานได้กับทุกโปรแกรมในระบบปฏิบัติการวินโดวส์
จุดด้อย 
      1.   ภาพมีขนาดใหญ่มากจึงใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บค่อนข้างมาก
      2.   ความละเอียดของภาพอาจจะไม่ชัดเจนเหมือนต้นฉบับ

TIF หรือ TIFF (Tagged Image File)

TIF  เป็นไฟล์ที่ใช้เก็บภาพแบบราสเตอร์คุณภาพสูง เช่น ภาพกราฟิกที่นำไปทำงานด้านสิ่งพิมพ์ (Artwork) สามารถเก็บข้อมูลของภาพไว้ได้ครบถ้วน ทำให้คุณภาพของสีเหมือนต้นฉบับ 

จุดเด่น 
      1.   สามารถใช้งานข้ามระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์หรือระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ก็สามารถเรียกใช้ไฟล์ภาพชนิดนี้ได้
      2.   แสดงรายละเอียดสีได้ 48 บิต
      3.   ไฟล์มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
      4.   เมื่อมีการบีบอัดไฟล์จะมีการสูญเสียข้อมูลน้อยมาก
      5.   มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
จุดด้อย 
      1.   ไฟล์ภาพมีขนาดค่อนข้างใหญ่
      2.   ใช้พื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์ภาพสูง

PSD (Photoshop Document) 

PSD     เป็นไฟล์ภาพเฉพาะโปรแกรม Adobe Photoshop    จะทำการบันทึกแบบแยกเลเยอร์ (Layer) โดยเก็บประวัติการทำงานและรายละเอียดการตกแต่งภาพ เอาไว้ เพื่อง่ายต่อการแก้ไขในภายหลัง 

จุดเด่น 
     1.   มีการบันทึกแบบแยกเลเยอร์และเก็บประวัติการทำงานทุกขั้นตอน
     2.   สามารถนำไฟล์ภาพมาแก้ไขได้ในภายหลัง
จุดด้อย 
     1.   ไฟล์ภาพมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับไฟล์ภาพประเภทอื่น
     2.   ไม่สามารถเปิดใช้งานในโปรแกรมอื่นได้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความหมายและประเภทของเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมายและประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยี เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ระบบเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบเทคโนโลยี เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ วัสดุและเครื่องมือ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุและเครื่องมือต่างๆ กระบวนการทางเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคโนโลยีต่างๆ เข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี หลักการออกแบบ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบที่สำคัญ...

About ครูออฟ 1263 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.