การจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบ ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

การจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการทำงานบ้านตามลำดับขั้นตอน ซึ่งสามารถมอบหมายงาน ติดตาม ควบคุม และตรวจสอบการทำงานจนได้ผลงานที่มีคุณภาพ ช่วยประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในครอบครัว
๒.๑ กระบวนการทำงานบ้าน
การจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการดังนี้
๑. การวางแผนการทำงานบ้าน เป็นการกำหนดงานที่จะทำ เป้าหมายของงานที่จะทำ วิธีการทำงาน วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน เวลาที่ใช้ในการทำงาน และผู้รับผิดชอบงานแต่ละงาน
๒. การทำงานบ้านตามแผนที่วางไว้ เป็นการทำงานบ้านตามแผนงานที่กำหนด จะช่วยลดความสับสนและความผิดพลาดในการทำงานได้
๓. การประเมินผลงาน เป็นการตรวจสอบว่างานที่ทำมีข้อบกพร่องหรือไม่ถ้ามี ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

๒.๒ แผนการทำงานบ้านที่ดี
แผนการทำงานบ้านที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้
๑. เรียงลำดับความสำคัญของงานว่างานใดสำคัญเป็นอันดับแรก และงานใดสำคัญรองลงมา
๒. ระบุวันเวลาและกิจกรรมในแผนงานอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย และเข้าใจตรงกัน
๓. ระบุผู้รับผิดชอบในแต่ละงาน โดยเลือกให้เหมาะสมกับวัย ความสนใจความสามารถ หรือเวลาว่างของผู้รับผิดชอบงานนั้น ๆ ๔. จัดสรรเวลาให้เหมาะสมกับงาน โดยงานที่ใช้แรงงานมากและใช้เวลา
ในการทำงานมาก เช่น พรวนดิน ตัดหญ้า ตักน้ำ ทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ควรทำในตอนเช้าหรือทำเฉพาะวันหยุด ส่วนงานที่ใช้แรงงานน้อยและใช้เวลาทำไม่มากนัก เช่นงานปัด กวาด เช็ด ถูควรทำทุกวัน
๕. ต้องจัดสรรเวลาว่างร่วมกันหลังจากทำงานบ้านแล้ว เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้พูดคุย และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ดูโทรทัศน์ ออกกำลังกาย ทำสวนรับประทานอาหารเย็น ๖. แผนงานที่กำหนดไว้ต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
๗. แผนงานที่กำหนดไว้ทุกคนต้องปฏิบัติได้

ตัวอย่างการทำงานในวันหยุด 1 วัน
รูปที่ 2 ตัวอย่างการทำงานในวันหยุด 1 วัน

๒.๓ ทักษะการจัดการงานบ้าน
ทักษะการจัดการ หมายถึง ความพยายามของบุคคลที่จะจัดระบบงาน
ในการทำงานเป็นรายบุคคล และจัดระบบคนในการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้ทำงานสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะการจัดการงานบ้านจึงเป็นการทำงานบ้านด้วยตนเองเพียงคนเดียว หรือการทำงานบ้านร่วมกับสมาชิกในครอบครัวอย่างเป็นระบบ ประณีต และมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงาน เช่น ไฟฟ้า น้ำ กระดาษ อย่างประหยัดและคุ้มค่า เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยนำความรู้เรื่อง การจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบและการเขียนแผนการทำงานบ้านมาประยุกต์ใช้กับงานแต่ละงานที่จะทำ

๒.๔ การจัดห้องครัว
ห้องครัวเป็นห้องที่ใช้เตรียมอาหาร ประกอบอาหาร จัดวางและเก็บสิ่งของเครื่องใช้ในครัวต่างๆ และบางครอบครัวอาจมีโต๊ะรับประทานอาหารในห้องครัวด้วย
๑) การจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ในห้องครัว
การจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ในห้องครัวในตำแหน่งที่เหมาะสม จะช่วยให้เดินเข้า-ออกได้สะดวก มีความคล่องตัวในการทำงาน ดูแลรักษาและทำความสะอาดได้ง่าย โดยมีแนวทาง ดังนี้

แนวทางที่ 1

การจัดแบบชิดผนังด้านเดียวหรือแบบเส้นตรง นิยมใช้กับบ้านที่มีเนื้อที่จำกัด

แนวทางที่ 2

การจัดแบบชิดผนังสองด้านหรือตัวแอล (L) ใช้กับห้องครัวลักษณะแคบและยาว

แนวทางที่ 3

การจัดแบบชิดผนังสามด้านหรือแบบตัวยู (U) เหมาะสำหรับห้องครัวที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่า

แนวทางที่ 4

การจัดแบบเส้นขนานใช้สำหรับห้องครัวที่มีประตูอยู่ตรงข้ามกัน ๒ ประตู

นอกจากนี้ควรมีถังขยะสำหรับใส่เศษอาหารแห้ง อาหารสด และปลักไฟเพื่อใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

๒) การจัดเก็บอุปกรณ์ประกอบอาหารและรับประทานอาหารในห้องครัว
อุปกรณ์ประกอบอาหารและรับประทานอาหารในห้องครัวที่ล้างสะอาด
และพึ่งให้แห้งแล้ว ควรนำมาจัดเก็บ ดังนี้
🔴 หม้อลังถึง คว่ำไว้บนชั้นวางหรือเก็บในตู้โปร่ง
🟠 ครก คว่าไว้บนชั้นวางโปร่ง ๆ สากและเขียงวางไว้ข้าง ๆ
🟡 กระทะ ตะหลิว ทัพพี และกระชอนที่มีรูสำหรับแขวน ให้แขวนไว้บนที่แขวน ส่วนที่ไม่มีรูแขวนให้วางไว้ในที่วาง
🔵 มีด เก็บไว้ในที่เสียบ เพื่อป้องกันคมมีดกระทบกันและเสียคม
🟣 จาน ชาม ถ้วย คว่ำไว้บนชั้นวางโปร่ง ๆ หรือเก็บในตู้
🟤 แก้วน้ำ ถ้วย คว่ำไว้บนชั้นวางหรือเก็บในตู้
⚫ ช้อน ส้อม วางไว้ในที่วางและปิดฝาไว้
๓) การจัดเก็บเครื่องปรุงรส ข้าวสาร และอาหารแห้งในห้องครัว
หลังใช้งาน ปิดฝาขวดหรือฝาภาชนะเครื่องปรุงรส ข้าวสาร และอาหารแห้งให้แน่นสนิทก่อนนำไปจัดเก็บ ดังนี้
🟥 ขวดเครื่องปรุงรสวางรวมกันไว้บนชั้นวางหรือใกล้เตาปรุงอาหารเพื่อให้หยิบใช้สะดวก
🟧 ข้าวสารน้ำตาล เกลือ กะปิ วางไว้ในที่โปร่ง ไม่อับชื้นและไม่ร้อน 🟨 หอม กระเทียม แขวนไว้ในที่โปร่งหรือวางไว้ในตะกร้าโปร่ง
🟩 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง วุ้นเส้น เก็บในตู้มีประตูปิด

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

การพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัลในสถานศึกษาและที่ทำงาน: การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างความสำเร็จ

การทำความเข้าใจเรื่องการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัล การเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การเพิ่มความเข้าใจในการทำงานด้านดิจิทัล การฝึกฝนทักษะด้านดิจิทัล การพัฒนาทักษะในการใช้โปรแกรมและแอปพลิเคชัน การฝึกทักษะการสื่อสารดิจิทัล การสนับสนุนและการพัฒนาความสามารถด้านดิจิทัล การให้ความรู้และการสนับสนุน การเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัล การสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้ด้านดิจิทัล การสร้างพื้นที่เรียนรู้ด้านดิจิทัล การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ดิจิทัล การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคม การตอบสนองแก่ความต้องการและแนวโน้มใหม่ๆ การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์และบล็อกเชน การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัล: โอกาสและความท้าทาย 1. การทำความเข้าใจเรื่องการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัล การเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในการทำงานและการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี การเพิ่มความเข้าใจในการทำงานด้านดิจิทัล การเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานด้านดิจิทัลช่วยให้บุคคลสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในสถานการณ์ที่ต้องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้ดีขึ้น 2. การฝึกฝนทักษะด้านดิจิทัล การพัฒนาทักษะในการใช้โปรแกรมและแอปพลิเคชัน การฝึกฝนทักษะในการใช้โปรแกรมและแอปพลิเคชันช่วยเสริมสร้างความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงาน การฝึกทักษะการสื่อสารดิจิทัล การฝึกทักษะการสื่อสารดิจิทัลช่วยเพิ่มความเข้าใจและการสื่อสาร ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ 3. การสนับสนุนและการพัฒนาความสามารถด้านดิจิทัล การให้ความรู้และการสนับสนุน การให้ความรู้และการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัล การเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลช่วยเสริมความมั่นใจและความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงาน 4. การสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้ด้านดิจิทัล การสร้างพื้นที่เรียนรู้ด้านดิจิทัล การสร้างพื้นที่เรียนรู้ด้านดิจิทัลช่วยให้บุคคลสามารถฝึกฝนและพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตช่วยสร้างความสนใจและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้านดิจิทัลตลอดชีวิต 5. การแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ดิจิทัล การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลช่วยให้บุคคลสามารถแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคม การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคมช่วยเสริมสร้างความรู้สึกของความรับผิดชอบต่อสังคมและการช่วยเหลือผู้อื่น 6. การตอบสนองแก่ความต้องการและแนวโน้มใหม่ๆ การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์และบล็อกเชน การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์และบล็อกเชนช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ และเปิดโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความสามารถในการใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและความต้องการในปัจจุบันและอนาคต FAQs (คำถามที่พบบ่อย) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมีผลกระทบอย่างไรต่อการเรียนรู้และการทำงาน?การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการเรียนรู้และการทำงาน โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นได้ท ุกที่ทุกเวลา ทำไมการฝึกฝนทักษะด้านดิจิทัลถึงสำคัญ?การฝึกฝนทักษะด้านดิจิทัลช่วยเพิ่มความสามารถในการแก้ไขปัญหาและการทำงานในสถานการณ์ต่างๆ ที่ต้องการใช้เทคโนโลยี เทคโนโลยีดิจิทัลมีส่วนสำคัญต่ออุตสาหกรรมในปัจจุบันหรือไม่?ใช่ เทคโนโลยีดิจิทัลมีส่วนสำคัญมากในอุตสาหกรรมในปัจจุบัน โดยช่วยให้กระบวนการการทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น การฝึกฝนทักษะด้านดิจิทัลสามารถทำได้ผ่านช่องทางใดบ้าง?การฝึกฝนทักษะด้านดิจิทัลสามารถทำได้ผ่านการเรียนออนไลน์...

Unleashing the Power of Digital Competencies in Education and the Workplace

Introduction: ในยุคดิจิทัลปัจจุบัน ความชำนาญในการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับความสำเร็จทั้งในด้านการศึกษาและการทำงาน บทความนี้จะสำรวจถึงความสำคัญของการพัฒนาความสามารถด้านดิจิทัลและผลกระทบที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับบุคคลและองค์กร Understanding Digital Competencies Defining Digital Literacy การรู้ความสามารถทางดิจิทัลมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเข้าถึง ประเมินและสร้างข้อมูล Navigating Digital Citizenship การเป็นพลเมืองดิจิทัลเกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือดิจิทัลอย่างรับผิดชอบและมีจริยธรรม เพื่อสนับสนุนการปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ที่ปลอดภัยและเคารพหน้าที่ต่อสังคม Embracing Technological Fluency ความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีคือความเข้าใจลึกลับในระบบดิจิทัลและความสามารถในการปรับตัวกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง Fostering Information Literacy ความรู้ความสามารถทางข้อมูลเป็นการส่งให้ความรู้ให้กับบุคคลที่สามารถประเมินอย่างสำคัญและรับรู้ถึงความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลดิจิทัล The Impact of Digital Competencies Empowering Learning...

ประสบการณ์การเตรียมตัวสอบ SAT จากนักเรียน

1. การเตรียมตัวสอบ SAT: ทักษะและเคล็ดลับที่สำคัญ เตรียมตัวสอบ SAT เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและก้าวหน้าทางการเรียนรู้ เรียนรู้เคล็ดลับการเตรียมตัวสอบ SAT จากประสบการณ์ของนักเรียนที่ผ่านมา 2. สาระสำคัญในการเตรียมตัวสอบ SAT จากประสบการณ์ การวางแผนเวลาเรียนรู้และฝึกทักษะ การใช้เครื่องมือและทริคการเตรียมตัวสอบ SAT อย่างมีประสิทธิภาพ การรับฟังคำแนะนำและปรึกษาจากผู้ที่เคยสอบ SAT มาก่อน ความสำคัญของการเตรียมจิตใจและร่างกายในวันสอบ Meta Description:...

About ครูออฟ 1229 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.