การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง “การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม” แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

สำหรับปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การเขียนโปรแกรมอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ การตรวจสอบข้อผิดพลาดอาจทำได้โดยทดลองตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมทีละขั้นตอน หรือทีละคำสั่ง  เมื่อพบจุดที่ทำงานไม่ถูกต้องให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

เนื้อหา การศึกษาเรื่อง “การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม”

สำหรับปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การเขียนโปรแกรมอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ การตรวจสอบข้อผิดพลาดอาจทำได้โดยทดลองตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมทีละขั้นตอน หรือที่ละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำงานไม่ถูกต้องให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

ตัวอย่าง การเขียนโปรแกรมให้ผึ้งเดินไปเก็บน้ำหวาน จะต้องให้ผึ้งเดินไปข้างหน้า 2 ครั้ง แล้วเลี้ยวขวา จากนั้นเดินไปข้างหน้าอีก 2 ครั้ง พร้อมทั้งตรวจสอบว่าตำแหน่งนั้นเป็นน้ำหวานหรือไม่ ถ้าใช่ให้เก็บน้ำหวาน ดังภาพ

การเขียนโปรแกรมให้ผึ้งเดินทางไปรับน้ำหวาน
รูปที่ 1 การเขียนโปรแกรมให้ผึ้งเดินทางไปรับน้ำหวาน

ถ้าโปรแกรมที่เขียนขึ้นทำงานไม่ถูกต้องอาจตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมโดยให้ผึ้งทำงานที่ละคำสั่ง โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม เป็นขั้นตอน ดังภาพ

การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมเป็นขั้นตอนครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
รูปที่ 2 การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมเป็นขั้นตอนครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

นักเรียนพิจารณาทีละคำสั่งจนจบโปรแกรม หากพบตำแหน่งที่ผิดพลาดให้เขียนโปรแกรมใหม่ ซึ่งในกรณีนี้พบว่าในการทำซ้ำ 2 ครั้งสุดท้าย ผึ้งไม่ได้เดินไปข้างหน้า ดังนั้นจะต้องแก้ไขโดยนำบล็อกคำสั่ง ไปข้างหน้า มาไว้ภายในบล็อกคำสั่งทำซ้ำนั่นเอง

การแก้ไขบล็อกคำสั่งให้ผึ้งเดินทางไปข้างหน้า
รูปที่ 3 การแก้ไขบล็อกคำสั่งให้ผึ้งเดินทางไปข้างหน้า

การเขียนโปรแกรมอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดความผิดพลาดจึงต้องมีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม เพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้อง โดยจะกระทำไปทีละขั้นตอนหรือทีละคำสั่ง ทั้งนี้

การตรวจสอบหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมต้องใช้ประสบการณ์ แต่เราอาจฝึกสิ่งเหล่านี้ได้โดยการช่วยหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมของผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการพัฒนาทักษะในการหาสาเหตุของปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การบันทึกจราจรบนอินเตอร์เน็ต ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) และผู้ให้บริการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log) ไว้เป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปคือไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันที่ข้อมูลนั้นถูกสร้างขึ้น เพื่อตรวจสอบและติดตามการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ได้ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log) คือ ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น ที่อยู่ IP,...

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

About ครูออฟ 1264 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.