การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง “การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม” แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

สำหรับปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การเขียนโปรแกรมอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ การตรวจสอบข้อผิดพลาดอาจทำได้โดยทดลองตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมทีละขั้นตอน หรือทีละคำสั่ง  เมื่อพบจุดที่ทำงานไม่ถูกต้องให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

เนื้อหา การศึกษาเรื่อง “การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม”

สำหรับปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การเขียนโปรแกรมอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ การตรวจสอบข้อผิดพลาดอาจทำได้โดยทดลองตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมทีละขั้นตอน หรือที่ละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำงานไม่ถูกต้องให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

ตัวอย่าง การเขียนโปรแกรมให้ผึ้งเดินไปเก็บน้ำหวาน จะต้องให้ผึ้งเดินไปข้างหน้า 2 ครั้ง แล้วเลี้ยวขวา จากนั้นเดินไปข้างหน้าอีก 2 ครั้ง พร้อมทั้งตรวจสอบว่าตำแหน่งนั้นเป็นน้ำหวานหรือไม่ ถ้าใช่ให้เก็บน้ำหวาน ดังภาพ

การเขียนโปรแกรมให้ผึ้งเดินทางไปรับน้ำหวาน
รูปที่ 1 การเขียนโปรแกรมให้ผึ้งเดินทางไปรับน้ำหวาน

ถ้าโปรแกรมที่เขียนขึ้นทำงานไม่ถูกต้องอาจตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมโดยให้ผึ้งทำงานที่ละคำสั่ง โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม เป็นขั้นตอน ดังภาพ

การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมเป็นขั้นตอนครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
รูปที่ 2 การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมเป็นขั้นตอนครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2

นักเรียนพิจารณาทีละคำสั่งจนจบโปรแกรม หากพบตำแหน่งที่ผิดพลาดให้เขียนโปรแกรมใหม่ ซึ่งในกรณีนี้พบว่าในการทำซ้ำ 2 ครั้งสุดท้าย ผึ้งไม่ได้เดินไปข้างหน้า ดังนั้นจะต้องแก้ไขโดยนำบล็อกคำสั่ง ไปข้างหน้า มาไว้ภายในบล็อกคำสั่งทำซ้ำนั่นเอง

การแก้ไขบล็อกคำสั่งให้ผึ้งเดินทางไปข้างหน้า
รูปที่ 3 การแก้ไขบล็อกคำสั่งให้ผึ้งเดินทางไปข้างหน้า

การเขียนโปรแกรมอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดความผิดพลาดจึงต้องมีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม เพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้อง โดยจะกระทำไปทีละขั้นตอนหรือทีละคำสั่ง ทั้งนี้

การตรวจสอบหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมต้องใช้ประสบการณ์ แต่เราอาจฝึกสิ่งเหล่านี้ได้โดยการช่วยหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมของผู้อื่น ซึ่งจะเป็นการพัฒนาทักษะในการหาสาเหตุของปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

การเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา: เปลี่ยนบทเรียนให้เป็นสนามเด็กเล่น

เกมการศึกษาคืออะไร? เกมการศึกษา หมายถึง เกมที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ โดยผสมผสานเนื้อหาการศึกษาเข้ากับรูปแบบเกมที่สนุกสนาน เกมเหล่านี้อาจเป็นเกมดิจิทัล เกมกระดาน หรือเกมไพ่ ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา การเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา มีประโยชน์มากมาย ดังนี้ เพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้: เกมที่สนุกสนานและท้าทาย ช่วยให้นักเรียนรู้สึกเพลิดเพลิน และอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น ส่งเสริมการมีส่วนร่วม: เกมกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา: เกมหลาย ๆ เกม ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม:...

พุทธสาวก คืออะไร

พุทธสาวก คือ ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชาวพุทธเพื่อนำไปปฏิบัติตาม โดยมีทั้งพุทธสาวก (ผู้ชาย) และพุทธสาวิกา (ผู้หญิง) ในระดับ ประถมศึกษาปีที่ 1 เราจะได้ศึกษา คือ สามเณรบัณฑิต...

ประวัติศาสดาของศาสนาคริสต์

ศาสดาของศาสนาคริสต์ คือ พระเยซู เป็นชาวยิวเกิดใน พ.ศ. ๕๔๓ (ค.ศ. ๑) ที่เมืองเยรูซาเลม ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิสราเอล พระเยซูเติบโตขึ้นด้วยความสนใจในทางศาสนา เมื่ออายุ ๓๐ ปีท่านได้เข้าพิธีรับศีลล้างบาป และเผยแผ่ศาสนาคริสต์เป็นเวลา ๓ ปี มีผู้ศรัทธาหันมานับถือเป็นจำนวนมากทำให้กลุ่มผู้นำศาสนาเดิมคิดกำจัดพระเยซู โดยกล่าวหาว่า พระเยซู...

ประวัติศาสดาของศาสนาอิสลาม

ศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมุฮัมมัด มุฮัมมัดเป็นชาวอาหรับเกิดใน  พ.ศ. ๑๑๑๔ ที่นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มุฮัมมัดเป็นผู้นำโองการของอัลลอฮ์ (พระเจ้าของศาสนาอิสลาม) มาเผยแผ่จนเกิดเป็นศาสนาอิสลามขึ้น...

About ครูออฟ 1186 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.