1.1.4 ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Language) คือ ชุดคำสั่งที่นักเขียนโปรแกรม หรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer) เขียนโปรแกรมซอร์สโค้ด (Source Code) ที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสาร ควบคุมการรับส่งข้อมูล และสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่นักเขียนโปรแกรมต้องการได้

          การเขียนโปรแกรมแบบ Block-based programming คือ การเขียนโปรแกรมในลักษณะการนำ Block ของคำสั่งมาต่อๆ กัน คล้ายการต่อจิ๊กซอว์ โดยใชวิธีการลากวาง (Drag and Drop) เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น

Read more: 1.1.4 ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
คลิปวิดีโอ  Real Steel (2011) Final Round (4K)

“คอมพิวเตอร์ หรือหุ่นยนต์ รวมถึงอุปกรณ์อัจฉริยะอื่นๆ เข้าใจคำสั่งของเราได้อย่างไร?”

คลิปวิดีโอ หุ่นยนต์ดินสอ-รายการลุยไม่รู้โรย TPBS

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Language) คือ ชุดคำสั่งที่นักเขียนโปรแกรม หรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer) เขียนโปรแกรมซอร์สโค้ด (Source Code) ที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสาร ควบคุมการรับส่งข้อมูล และสั่งให้คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ หรืออุปกรณ์อัจฉริยะต่าง ๆ ทำงานตามที่นักเขียนโปรแกรมต้องการได้

โดยภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน มีหลายภาษาให้เลือกใช้งาน ขึ้นอยู่กับความถนัด หรือความสามารถของนักพัฒนาโปรแกรม (Programmer) ที่จะเลือกใช้ภาษาโปรแกรมให้เหมาะกับโปรแกรม หรือเหมาะสมกับงานที่จะนำไปใช้ เช่น ภาษา C, ภาษา HTML,ภาษา python, ภาษา javascript, ภาษา Scratch และ ภาษา kidbright

ซึ่ง ภาษา ภาษา Scratch และ ภาษา kidbright เป็นการเขียนโปรแกรมแบบ Block-based programming คือ การเขียนโปรแกรมในลักษณะการนำ Block ของคำสั่งมาต่อๆ กัน คล้ายการต่อจิ๊กซอว์ โดยใชวิธีการลากวาง (Drag and Drop) เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น

ส่วนประกอบของหุ่นยนต์ จะต้องประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ดังนี้

  • ส่วนการควบคุม เป็นเทคโนโลยีที่เน้นศึกษาด้านการออกแบบชิ้นส่วนหุ่นยนต์การประกอบหุ่นยนต์ และการควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์
  • ส่วนการรับรู้ เป็นเทคโนโลยีที่เน้นพัฒนาส่วนของการรับรู้ข้อมูลของหุ่นยนต์จากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ รวมทั้งระบบ Computer Vision ที่ทำให้หุ่นยนต์มองเห็น หรือตรวจสอบระยะใกล้ไกลของวัตถุ โดยข้อมูลที่ได้มานั้นจะนำมาประมวลผลและส่งต่อคำสั่งไปที่ตัวขับเคลื่อนต่าง ๆ
  • ส่วนการเข้าใจ เป็นเทคโนโลยีที่เน้นการพัฒนาระบบการตัดสินใจของหุ่นยนต์เมื่อได้รับข้อมูลจากตัวตรวจจับ ซึ่งเป็นการใช้หลักการของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และมีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AI และศาสตร์ Machine Learning

ดังนั้น หุ่นยนต์ที่แต่ละกลุ่มออกแบบ จะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังกล่าว

โดยสรุป ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมีอยู่หลายภาษา โดยภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสาร กับคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เข้าใจคำสั่ง

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความหมายและประเภทของเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมายและประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยี เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ระบบเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบเทคโนโลยี เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ วัสดุและเครื่องมือ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุและเครื่องมือต่างๆ กระบวนการทางเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคโนโลยีต่างๆ เข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี หลักการออกแบบ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบที่สำคัญ...

About ครูออฟ 1263 Articles
https://www.kruaof.com