1.1.3 โครงสร้างผังงาน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

การกำหนดโครงสร้างของการเขียนผังงาน เพื่อนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรม เป็นการกำหนดขั้นตอนให้โปรแกรมทำงาน โดยมีโครงสร้างการควบคุมพื้นฐาน 3 หลักการ ดังนี้

  1. โครงสร้างแบบลำดับ (Sequence Structure)
  2. โครงสร้างแบบเลือกทำ หรือมีเงื่อนไข (Selection Structure)
  3. โครงสร้างแบบการทำซ้ำ (Repetition Structure)

ซึ่งการกำหนดโครงสร้างของผังงาน จะช่วยให้การทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับ สามารถเข้าใจถึงความต้องการนำไปสู่การแก้ไขที่ตรงจุดได้ ช่วยลดข้อผิดพลาดและสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ง่าย และยังช่วยพัฒนาทักษะที่ดีในการวางแผน การวิเคราะห์ปัญหาในการทำงาน และปัญหาที่พบเจอในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

Read more: 1.1.3 โครงสร้างผังงาน

การเขียนผังงาน จะช่วยให้การทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับ สามารถเข้าใจถึงความต้องการนำไปสู่การแก้ไขที่ตรงจุดได้ ช่วยลดข้อผิดพลาดและสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ง่าย และยังช่วยพัฒนาทักษะที่ดีในการวางแผน การวิเคราะห์ปัญหาในการทำงาน และปัญหาที่พบเจอในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย ซึ่งการกำหนดโครงสร้างของการเขียนผังงาน เพื่อนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรม เป็นการกำหนดขั้นตอน ให้โปรแกรมทำงาน โดยมีโครงสร้างการควบคุมพื้นฐาน 3 หลักการ ดังนี้

1. โครงสร้างแบบลำดับ (Sequence Structure)

โครงสร้างแบบลำดับ (Sequence Structure) คือการเขียนให้การทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัด จากบรรทัดบนสุด ลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด

2. โครงสร้างแบบเลือกทำ หรือมีเงื่อนไข (Selection Structure)

โครงสร้างแบบเลือกทำ หรือมีเงื่อนไข (Selection Structure) เป็นโครงสร้างที่มีเงื่อนไข ขั้นตอนการทำงานบางขั้นตอนต้องมีการตัดสินใจ เพื่อเลือกวิธีการประมวลผลขั้นต่อไป และจะมีบางขั้นตอนที่ไม่ได้รับการประมวลผล การตัดสินใจ อาจมีทางเลือก หนึ่งทาง หรือมากกว่าก็ได้ โดยแต่ละโครงสร้างมีชื่อเรียก ดังนี้

  1. โครงสร้างที่มีทางเลือกเพียง 1 ทาง เรียกชื่อว่าโครงสร้างแบบ if 
  2. โครงสร้างที่มีทางเลือกเพียง 2 ทาง เรียกชื่อว่าโครงสร้างแบบ if…then…else
  3. โครงสร้างที่มีทางเลือกมากกว่า 2 ทาง เรียกชื่อว่า โครงสร้างแบบ switch case  และโครงสร้างแบบ if – elseif

3. โครงสร้างแบบการทำซ้ำ (Repetition Structure)

โครงสร้างแบบการทำซ้ำ (Repetition Structure) เป็นโครงสร้างที่มีการทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง เป็นโครงสร้างที่ขั้นตอนการทำงานบางขั้นตอนได้รับการประมวลผลมากกว่าหนึ่งครั้ง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการโครงสร้างแบบทำซ้ำนี้ต้องมีการตัดสินใจในการทำงานซ้ำ และลักษณะการทำงานของโครงสร้างแบบนี้มี 2 ลักษณะ ดังนี้

  1. การทำซ้ำแบบ do while คือ มีการตรวจสอบเงื่อนไขในการทำซ้ำทุกครั้งก่อนดำเนินการกิจกรรมใดๆ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะทำงานซ้ำไปเรื่อย ๆ และหยุดเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ โครงสร้างที่มีทางเลือกเพียง 2 ทาง เรียกชื่อว่าโครงสร้างแบบ if…then…else
  2. การทำซ้ำแบบ do until คือ กิจกรรมซ้ำเรื่อย ๆ จนกระทั่งเงื่อนไขที่กำหนดเป็นจริงแล้วจึงหยุดการทำงาน โดยแต่ละครั้งที่เสร็จสิ้นการดำเนินการแต่ละรอบจะต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไข

การใช้ผังงานในการเขียนโปรแกรม หรือใช้ในการอธิบายกระบวนการทำงานจะช่วยทำให้ตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้ง่าย และยังทำให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมและแก้ไขโปรแกรม หรือกระบวนการทำงานได้ง่าย

โดยสรุป ในชีวิตประจำวันเรามักจะพบเจอกับปัญหาต่างๆ มากมาย ซึ่งในทุกปัญหา สามารถนำมาเขียนเป็นผังงาน เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของกระบวนการทำงาน ช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับการเขียนโปรแกรม จำเป็นจะต้องเขียนผังงานตามโครงสร้าง เพื่อให้โปรแกรม หรือคอมพิวเตอร์ทำงานตามขั้นตอน สามารถเข้าใจถึงความต้องการ นำไปสู่การแก้ไขที่ตรงจุดได้และยังช่วยลดข้อผิดพลาดและสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ง่าย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

ความสำคัญของสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัล

บทความเกี่ยวกับความสำคัญของสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัลในชีวิตประจำวัน การใช้ดิจิทัลกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ และความสำเร็จในโลกปัจจุบันเกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญในด้านนี้มากขึ้นด้วย เรามาสำรวจความสำคัญของการมีสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัลกันเถอะ! 1. ความสำคัญของการทำความเข้าใจเทคโนโลยี การที่เราเข้าใจเทคโนโลยีและการใช้งานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือหรือการทำงานกับคอมพิวเตอร์ เป็นพื้นฐานที่สำคัญ และช่วยให้เราปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ 2. การเข้าถึงข้อมูลและการเรียนรู้ การมีสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัลช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลและการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์หรือการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้เราสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง 3. การสื่อสารและการทำงาน การใช้ดิจิทัลทำให้การสื่อสารและการทำงานกับผู้อื่นเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการส่งอีเมล์ การประชุมออนไลน์ หรือการทำงานร่วมกับทีมผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ 4. การพัฒนาองค์ความรู้และทักษะ การมีสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัลช่วยให้เราสามารถพัฒนาองค์ความรู้และทักษะต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ภาษาต่างๆ การเรียนรู้ทักษะการโปรแกรมหรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ 5....

สมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy)

ไอเดียหน้าเว็บไซต์ ทำการวิจัยคำค้นหาเพื่อค้นหาคำสำคัญบนหน้าหลักและคำสำคัญหลัก 10 คำที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ จัดสรรแต่ละคำสำคัญไปยังหน้าเว็บไซต์ โดยไม่จำเป็นต้องรวมหน้าถามตอบ (FAQ), แกลเลอรี, และหน้าติดต่อหัวข้อหน้าคำสำคัญโครงร่างหน้าหลักสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัล- พูดถึงความสำคัญของการมีสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัล - อธิบายเกี่ยวกับประโยชน์และวิธีใช้ของสมรรถนะด้านการใช้ดิจิทัล - การเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจำวันบทความการเรียนรู้ดิจิทัล- ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ดิจิทัล - วิธีการพัฒนาทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ - การใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ไอเดียบทความบล็อก จากนั้น...

เทคนิคการเตรียมตัวสอบ IELTS: เตรียมตัวอย่างไรให้ได้คะแนนสูง?

เทคนิคการเตรียมตัวสอบ IELTS เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ที่ต้องการไปเรียนต่อต่างประเทศหรือทำงานต่างประเทศต้องใส่ใจอย่างยิ่ง เพราะการสอบ IELTS เป็นหนทางที่มีน้ำหนักมากในการประเมินภาษาอังกฤษของผู้เข้าสอบ ในบทความนี้เราจะพูดถึง 10 เทคนิคที่มีประสิทธิภาพในการเตรียมตัวสอบ IELTS เพื่อให้คุณมั่นใจและสามารถทำคะแนนสูงได้อย่างเชี่ยวชาญ 1. การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสอบ การทำความเข้าใจถึงโครงสร้างของการสอบ IELTS เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากมีส่วนสำคัญในการเตรียมตัว คุณควรทราบถึงโครงสร้างของการสอบแต่ละส่วน เช่น ส่วน Listening, Reading,...

Website Content Plan for การเตรียมตัวสอบ IELTS

1) Website Pages Ideas 2) Blog Post Ideas Writing Style and Tone: สไตล์การเขียนควรเป็นเชิงประชาสัมพันธ์และเต็มไปด้วยคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังเตรียมตัวสอบ IELTS โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและเป็นกันเอง การให้ข้อมูลควรมีความคิดสร้างสรรค์และแบ่งปันประสบการณ์จริงๆ และควรเน้นการแนะนำและส่งเสริมให้ผู้อ่านรู้สึกมั่นใจและพร้อมสำหรับการสอบได้อย่างเต็มที่ การใช้ภาษาที่เป็นมิตรและดูเผชิญปัญหาของผู้อ่านจะช่วยสร้างความสนใจและเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น...

About ครูออฟ 1224 Articles
https://www.kruaof.com