1.1.3 โครงสร้างผังงาน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

การกำหนดโครงสร้างของการเขียนผังงาน เพื่อนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรม เป็นการกำหนดขั้นตอนให้โปรแกรมทำงาน โดยมีโครงสร้างการควบคุมพื้นฐาน 3 หลักการ ดังนี้

  1. โครงสร้างแบบลำดับ (Sequence Structure)
  2. โครงสร้างแบบเลือกทำ หรือมีเงื่อนไข (Selection Structure)
  3. โครงสร้างแบบการทำซ้ำ (Repetition Structure)

ซึ่งการกำหนดโครงสร้างของผังงาน จะช่วยให้การทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับ สามารถเข้าใจถึงความต้องการนำไปสู่การแก้ไขที่ตรงจุดได้ ช่วยลดข้อผิดพลาดและสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ง่าย และยังช่วยพัฒนาทักษะที่ดีในการวางแผน การวิเคราะห์ปัญหาในการทำงาน และปัญหาที่พบเจอในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

Read more: 1.1.3 โครงสร้างผังงาน

การเขียนผังงาน จะช่วยให้การทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับ สามารถเข้าใจถึงความต้องการนำไปสู่การแก้ไขที่ตรงจุดได้ ช่วยลดข้อผิดพลาดและสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ง่าย และยังช่วยพัฒนาทักษะที่ดีในการวางแผน การวิเคราะห์ปัญหาในการทำงาน และปัญหาที่พบเจอในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย ซึ่งการกำหนดโครงสร้างของการเขียนผังงาน เพื่อนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรม เป็นการกำหนดขั้นตอน ให้โปรแกรมทำงาน โดยมีโครงสร้างการควบคุมพื้นฐาน 3 หลักการ ดังนี้

1. โครงสร้างแบบลำดับ (Sequence Structure)

โครงสร้างแบบลำดับ (Sequence Structure) คือการเขียนให้การทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัด จากบรรทัดบนสุด ลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด

2. โครงสร้างแบบเลือกทำ หรือมีเงื่อนไข (Selection Structure)

โครงสร้างแบบเลือกทำ หรือมีเงื่อนไข (Selection Structure) เป็นโครงสร้างที่มีเงื่อนไข ขั้นตอนการทำงานบางขั้นตอนต้องมีการตัดสินใจ เพื่อเลือกวิธีการประมวลผลขั้นต่อไป และจะมีบางขั้นตอนที่ไม่ได้รับการประมวลผล การตัดสินใจ อาจมีทางเลือก หนึ่งทาง หรือมากกว่าก็ได้ โดยแต่ละโครงสร้างมีชื่อเรียก ดังนี้

  1. โครงสร้างที่มีทางเลือกเพียง 1 ทาง เรียกชื่อว่าโครงสร้างแบบ if 
  2. โครงสร้างที่มีทางเลือกเพียง 2 ทาง เรียกชื่อว่าโครงสร้างแบบ if…then…else
  3. โครงสร้างที่มีทางเลือกมากกว่า 2 ทาง เรียกชื่อว่า โครงสร้างแบบ switch case  และโครงสร้างแบบ if – elseif

3. โครงสร้างแบบการทำซ้ำ (Repetition Structure)

โครงสร้างแบบการทำซ้ำ (Repetition Structure) เป็นโครงสร้างที่มีการทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง เป็นโครงสร้างที่ขั้นตอนการทำงานบางขั้นตอนได้รับการประมวลผลมากกว่าหนึ่งครั้ง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการโครงสร้างแบบทำซ้ำนี้ต้องมีการตัดสินใจในการทำงานซ้ำ และลักษณะการทำงานของโครงสร้างแบบนี้มี 2 ลักษณะ ดังนี้

  1. การทำซ้ำแบบ do while คือ มีการตรวจสอบเงื่อนไขในการทำซ้ำทุกครั้งก่อนดำเนินการกิจกรรมใดๆ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะทำงานซ้ำไปเรื่อย ๆ และหยุดเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ โครงสร้างที่มีทางเลือกเพียง 2 ทาง เรียกชื่อว่าโครงสร้างแบบ if…then…else
  2. การทำซ้ำแบบ do until คือ กิจกรรมซ้ำเรื่อย ๆ จนกระทั่งเงื่อนไขที่กำหนดเป็นจริงแล้วจึงหยุดการทำงาน โดยแต่ละครั้งที่เสร็จสิ้นการดำเนินการแต่ละรอบจะต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไข

การใช้ผังงานในการเขียนโปรแกรม หรือใช้ในการอธิบายกระบวนการทำงานจะช่วยทำให้ตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้ง่าย และยังทำให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมและแก้ไขโปรแกรม หรือกระบวนการทำงานได้ง่าย

โดยสรุป ในชีวิตประจำวันเรามักจะพบเจอกับปัญหาต่างๆ มากมาย ซึ่งในทุกปัญหา สามารถนำมาเขียนเป็นผังงาน เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของกระบวนการทำงาน ช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับการเขียนโปรแกรม จำเป็นจะต้องเขียนผังงานตามโครงสร้าง เพื่อให้โปรแกรม หรือคอมพิวเตอร์ทำงานตามขั้นตอน สามารถเข้าใจถึงความต้องการ นำไปสู่การแก้ไขที่ตรงจุดได้และยังช่วยลดข้อผิดพลาดและสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ง่าย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความหมายและประเภทของเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมายและประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยี เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ระบบเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบเทคโนโลยี เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ วัสดุและเครื่องมือ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุและเครื่องมือต่างๆ กระบวนการทางเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคโนโลยีต่างๆ เข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี หลักการออกแบบ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบที่สำคัญ...

About ครูออฟ 1263 Articles
https://www.kruaof.com