การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) คือ หลักการและแนวคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมร่วมกับการฝึกคิดหลากหลายมิติ จนเกิดองค์ความรู์ในเรื่องที่ทํานั้นอย่างลึกซึ้ง ดังที่ Bonwell & Eison (1991) ได้ให้คําจํากัดความไว้ว่า Active Learning is Instructional Activities involving students in doing things and thinking about what they are doing ปัจจุบัน Active Learning ถูกแปลความหมาย และใช้คําในภาษาไทยหลายคํา อาทิ การเรียนรู้เชิงรุก การเรียนรู้แบบกระตือรือร้น การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ โดยมีลักษณะที่สําคัญ (นนทลี พรธาดาวิทย์, 2559: 26-27) ดังนี้

  1. ผู้สอนควรกําหนด เป้าประสงค์ (Purposive) โดยเป้าประสงค์นั้นควรสัมพันธ์กับกิจกรรม/งานที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เน้นการพัฒนาทักษะผู้เรียนมากกว่าการเนื้อหาเน้นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. ผู้เรียนควรมีส่วนร่วมในการกําหนดแนวคิด การวางแผนการเรียนรู้ การยอมรับ การประเมินผลและการนําเสนอผลงาน
  3. วิธีการจัดการเรียนรู้สามารถสะท้อน สิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้ได้จากกิจกรรม และสามารถผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับจากผู้สอนทันทีทันใดในการทํากิจกรรม
  4. ควรมีกิจกรรมการเจรจาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
  5. ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่ผู้เรียนชื่นชอบ และไม่ชอบ รวมทั้ง
    วิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหาในการเรียนรู้
  6. ผู้สอนต้องออกแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจ และความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน แต่ละกิจกรรม ที่ทําต้องมีความหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงแก้ปัญหาได้ตามสภาพจริง (Authentic Situation)
  7. การจัดการเรียนรู้ที่มีการสร้างสถานการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดในระดับสูง (Higher Order Thinking) ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือสถานการณ์นั้น
  8. การจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียน กับชีวิตจริง หรือสถานการณ์จริงรวมถึงการบูรณาการวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
  9. การจัดการเรียนรู้ที่ทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเรียนเหมือนไม่เรียน สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ จัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการทํางานร่วมกับผู้อื่น ใช้กระบวนการกลุ่ม และมีการประเมินผลที่หลากหลายทั้งตัวผู้เรียน เพื่อนและผู้สอน
  10. การจัดการเรียนรู้ที่ไม่จํากัดเฉพาะการเรียนรู้ภายในห้องเรียน สามารถเรียนรู้ได้ทุก สถานการณ์ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน ที่บ้าน และสามารถเรียนรู้ได้จากบุคคลทุกคนที่เกี่ยวข้องทํา ให้ความรู้ไม่มีขอบเขตจํากัด
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความหมายและประเภทของเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมายและประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยี เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ระบบเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบเทคโนโลยี เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ วัสดุและเครื่องมือ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุและเครื่องมือต่างๆ กระบวนการทางเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคโนโลยีต่างๆ เข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี หลักการออกแบบ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบที่สำคัญ...

About ครูออฟ 1263 Articles
https://www.kruaof.com