การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) คือ หลักการและแนวคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมร่วมกับการฝึกคิดหลากหลายมิติ จนเกิดองค์ความรู์ในเรื่องที่ทํานั้นอย่างลึกซึ้ง ดังที่ Bonwell & Eison (1991) ได้ให้คําจํากัดความไว้ว่า Active Learning is Instructional Activities involving students in doing things and thinking about what they are doing ปัจจุบัน Active Learning ถูกแปลความหมาย และใช้คําในภาษาไทยหลายคํา อาทิ การเรียนรู้เชิงรุก การเรียนรู้แบบกระตือรือร้น การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ โดยมีลักษณะที่สําคัญ (นนทลี พรธาดาวิทย์, 2559: 26-27) ดังนี้

  1. ผู้สอนควรกําหนด เป้าประสงค์ (Purposive) โดยเป้าประสงค์นั้นควรสัมพันธ์กับกิจกรรม/งานที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เน้นการพัฒนาทักษะผู้เรียนมากกว่าการเนื้อหาเน้นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. ผู้เรียนควรมีส่วนร่วมในการกําหนดแนวคิด การวางแผนการเรียนรู้ การยอมรับ การประเมินผลและการนําเสนอผลงาน
  3. วิธีการจัดการเรียนรู้สามารถสะท้อน สิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้ได้จากกิจกรรม และสามารถผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับจากผู้สอนทันทีทันใดในการทํากิจกรรม
  4. ควรมีกิจกรรมการเจรจาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
  5. ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่ผู้เรียนชื่นชอบ และไม่ชอบ รวมทั้ง
    วิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหาในการเรียนรู้
  6. ผู้สอนต้องออกแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจ และความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน แต่ละกิจกรรม ที่ทําต้องมีความหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงแก้ปัญหาได้ตามสภาพจริง (Authentic Situation)
  7. การจัดการเรียนรู้ที่มีการสร้างสถานการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดในระดับสูง (Higher Order Thinking) ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือสถานการณ์นั้น
  8. การจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียน กับชีวิตจริง หรือสถานการณ์จริงรวมถึงการบูรณาการวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
  9. การจัดการเรียนรู้ที่ทําให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเรียนเหมือนไม่เรียน สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ จัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการทํางานร่วมกับผู้อื่น ใช้กระบวนการกลุ่ม และมีการประเมินผลที่หลากหลายทั้งตัวผู้เรียน เพื่อนและผู้สอน
  10. การจัดการเรียนรู้ที่ไม่จํากัดเฉพาะการเรียนรู้ภายในห้องเรียน สามารถเรียนรู้ได้ทุก สถานการณ์ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน ที่บ้าน และสามารถเรียนรู้ได้จากบุคคลทุกคนที่เกี่ยวข้องทํา ให้ความรู้ไม่มีขอบเขตจํากัด
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความหมายและประเภทของเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมายและประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยี เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ระบบเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบเทคโนโลยี เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ วัสดุและเครื่องมือ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุและเครื่องมือต่างๆ กระบวนการทางเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคโนโลยีต่างๆ เข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี หลักการออกแบบ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบที่สำคัญ...

การออกแบบ User Interface (UI) และ User Experience (UX) ในยุคดิจิทัล

การออกแบบ User Interface (UI) และ User Experience (UX) ในยุคดิจิทัล ในยุคดิจิทัลที่ผู้คนใช้เวลากับเทคโนโลยีมากขึ้น การออกแบบ User Interface (UI) และ User Experience (UX) กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ การออกแบบ UI/UX...

แนวคิดบทความเกี่ยวกับการออกแบบเทคโนโลยี

แน่นอน นี่คือไอเดียสำหรับบทความเกี่ยวกับการออกแบบเทคโนโลยี: การออกแบบ User Interface (UI) และ User Experience (UX) ในยุคดิจิทัล บทความนี้จะสำรวจแนวโน้มและเทคนิคการออกแบบ UI/UX ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน รวมถึงการนำ AI และ Machine Learning มาช่วยในการออกแบบเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ การออกแบบสำหรับเทคโนโลยี Wearable: การรวมความสะดวกสบายกับการใช้งาน บทความนี้จะพูดถึงความท้าทายและโอกาสในการออกแบบเทคโนโลยีสวมใส่...

การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ไขปัญหา: วิธีคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ไขปัญหา บทนำ การใช้เหตุผลเชิงตรรกะเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่ช่วยให้เราสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในชีวิตประจำวันหรือในที่ทำงาน การมีเหตุผลเชิงตรรกะช่วยให้เรามองเห็นปัญหาในมุมที่ชัดเจน และสามารถหาทางแก้ไขได้อย่างตรงจุด ความหมายและพื้นฐานของเหตุผลเชิงตรรกะ ความหมายของเหตุผลเชิงตรรกะ เหตุผลเชิงตรรกะหมายถึงการใช้ความคิดอย่างมีระบบระเบียบเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์และปรัชญา ซึ่งช่วยให้เรามองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ และสามารถวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง หลักการพื้นฐานของเหตุผลเชิงตรรกะ หลักการพื้นฐานของเหตุผลเชิงตรรกะประกอบด้วย: ความชัดเจน (Clarity) ความถูกต้อง (Accuracy) ความสม่ำเสมอ (Consistency) การเป็นเหตุเป็นผล (Relevance) ความแตกต่างระหว่างเหตุผลเชิงตรรกะกับเหตุผลเชิงอารมณ์ เหตุผลเชิงตรรกะเน้นที่การใช้ความคิดและการวิเคราะห์อย่างมีระบบ ขณะที่เหตุผลเชิงอารมณ์เน้นที่ความรู้สึกและการตอบสนองทางอารมณ์ ประโยชน์ของการใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ไขปัญหา การปรับปรุงการตัดสินใจ การใช้เหตุผลเชิงตรรกะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลและมีความมั่นใจมากขึ้น ซึ่งลดความเสี่ยงในการตัดสินใจผิดพลาด การลดความขัดแย้ง การมีเหตุผลเชิงตรรกะช่วยให้เรามีความสามารถในการเจรจาและแก้ไขความขัดแย้งอย่างเป็นเหตุเป็นผล ทำให้สามารถหาทางออกที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ การเพิ่มประสิทธิภาพในที่ทำงาน ในที่ทำงาน การใช้เหตุผลเชิงตรรกะช่วยให้การทำงานเป็นระบบมากขึ้น ลดความผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ขั้นตอนในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ การระบุปัญหา ขั้นตอนแรกคือการระบุปัญหาอย่างชัดเจน โดยการตั้งคำถามเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา การรวบรวมข้อมูล รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ทั้งข้อมูลที่เป็นจริงและข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมา เพื่อหาความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลต่างๆ การประเมินทางเลือก ประเมินทางเลือกที่มีอยู่ โดยพิจารณาข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือก การตัดสินใจและการดำเนินการ ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดและดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ตัวอย่างการใช้เหตุผลเชิงตรรกะในชีวิตประจำวัน การจัดการเวลา การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการจัดการเวลา...

About ครูออฟ 1260 Articles
https://www.kruaof.com