การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่เน้นศึกษาความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Naturalism) และปรากฏการณ์ (Phenomenalism) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมอย่างลุ่มลึก เข้าใจความหมาย กระบวนการความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ ฯลฯ เพื่อรู้ลึก รู้จริง ของสิ่งที่ศึกษา โดยเน้นการพรรณนา วิเคราะห์และเชื่อมโยงเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่เน้นอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคนและสังคม ที่ต้องการคําตอบว่า ทําไม และอย่างไร มากกว่า ที่จะบอกว่า ใครทําอะไร มีจุดเด่นที่แตกต่างจากการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ได้ผลการวิจัยในเชิงลึกเฉพาะกรณี ไม่เน้นการอ้างอิงไปยังประชากรกลุ่มอื่นๆ (Generalization) กลุ่มตัวอย่างไม่มากเน้นการศึกษาที่เลือกเฉพาะกลุ่มที่ให้ข้อมูลสําคัญ (Key Informant) เป็นการศึกษาที่ให้ความสนใจบริบทของสิ่งที่ศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ (Stakeholders) เน้นการนําเสนอผลการวิจัยมีสีสันโดยการเล่าเรื่อง (Narrative) ทําให้น่าสนใจเพราะคนส่วนใหญ่มักสนใจอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวของคนและสิ่งต่างๆ รอบตัว เป็นการวิจัยที่ไม่ให้น้ำหนักกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณมากนักจึงไม่จําเป็นต้องใช้สถิติขั้นสูงมาช่วยอธิบาย ดําเนินวิจัยไปได้อย่างอิสระโดยทําในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ (Naturalistic) และเน้นการศึกษาวิจัยภาคสนามทําให้ได้รายละเอียดของข้อมูลและผลสรุปที่ละเอียดรอบด้าน ใช้ตรรกะแบบอุปมานเป็นหลักเพื่อทําความเข้าใจแบบองค์รวม (Holistic) มีความยืดหยุ่น (Flexibility) ในการออกแบบวิจัย จึงไม่นิยมเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย และนักวิจัยเป็นเครื่องมือที่สําคัญที่สุด ข้อจํากัดของการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ เป็นการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก ไม่เน้นการสรุปอ้างอิงจากกลุ่มเล็กไปสู่กลุ่มใหญ่ ผลการวิจัยจึงไม่แพร่กระจายและมักใช้ประโยชน์ได้เฉพาะกลุ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูลไม่แกร่งเหมือนข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นค่าสถิติหรือตัวเลข เพราะเน้นข้อมูลที่เป็นข้อความ คําพูด รูปภาพ ของจริง ร่องรอย หรือหลักฐานต่างๆ และ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การตีความเชิงเหตุผลหรือให้เหตุผลในเชิงตรรกะ (Logic Reasoning) ซึ่งต้องใช้การแปลความหมายด้วย เทคนิคค่อนข้างสูง ซึ่งหากวิเคราะห์ไม่ดีจะทําให้ผลการวิจัยขาดความน่าเชื่อถือหรือบิดเบือนไปจากความจริง (สุบิน ยุระรัช. 2559 : 11)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

กิจกรรมบูรณาการวิชาสุขศึกษา

กิจกรรมวิชาการ ของวิชาสุขศึกษา และวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้นักเรียนตอบคำถาม ตาม Google form ข้างล่างนี้ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScFxCcmY6Lznsb3bItrwiEQPn31sgEqGtUd3_hf6NNWqDaAfQ/viewform...

 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย ประถมศึกษาปีที่ 5 ให้นักเรียนค้นหาข้อมูลมาคนละ 1 วิธี แล้วตอบที่ช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่าง อย่าลืมเขียนชื่อและนามสกุลด้วยนะ https://www.thaitestonline.com/webboard/show.php?Category=thaitestonline&No=10643...

About ครูออฟ 1175 Articles
https://www.kruaof.com