หน้าที่พลเมืองดิจิทัล

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

Digital Citizens : พลเมืองดิจิทัล 

โดย…นางสาววรลักษณ์ สงวนแก้ว
อาชีพปัจจุบัน นักวิชาการอิสระ
อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
อีเมล์ : woraluk_lawyer@hotmail.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)


พลเมืองดิจิทัล หรือ Digital Citizens เป็นกระแสที่แพร่หลายไปทั่วโลกนับตั้งแต่อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมด้านต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังหลังจากที่รัฐบาลผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจและเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้นี้ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนควร เสริมสร้างศักยภาพการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวอย่างชาญฉลาดและก้าวเข้าสู่ความเป็นพลเมืองในยุคดิจิตอลได้อย่างภาคภูมิ

ความหมายและคุณลักษณะเบื้องต้นของพลเมืองดิจิทัล

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพเป็นคุณลักษณะเบื้องต้นของการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัลนอกจากนี้บุคคลผู้นั้นจะต้องมีทักษะและความรู้ที่หลากหลายในการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์และช่องทางการสื่อสารประเภทต่างๆ เช่น โซเชียลเนตเวิร์ก (Facebook, Twitter, Instagram, Line) และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ (แท็บเล็ต และมือถือสมาร์ทโฟน) เป็นต้น อย่างไรก็ตามมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าทักษะการใช้อินเทอร์เนตและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันไม่เพียงพอต่อคุณลักษณะของการเป็นพลเมืองดิจิตอลที่สมบูรณ์ หากแต่บุคคลผู้นั้นจะต้องใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ในทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคลอื่นและสังคม เช่น การเคารพสิทธิและหน้าที่ของผู้อื่นตลอดจนการใช้เทคโนโลยีเพื่อสื่อสารกับภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีและถูกต้อง

คุณลักษณะที่ดีของพลเมืองดิจิทัล
พลเมืองดิจิตอลที่มีคุณลักษณะที่ดี (Good Digital Citizens) มีองค์ประกอบหลายประการ สรุปได้โดยย่อ ดังนี้

1. การตระหนักถึงความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้อื่น
ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทุกคนควรตระหนักว่าบุคคลมีโอกาสในการเข้าถึงและมีศักยภาพใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่แตกต่างกัน พลเมืองดิจิตอลที่ดีจึงไม่ควรเลือกปฏิบัติและดูหมิ่นบุคคลผู้ขาดทักษะการใช้เทคโนโลยีฯ หากแต่จะต้องช่วยกันแสวงหามาตรการต่างๆเพื่อเสริมสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงเทคโนโลยีฯ อันจะทำให้สังคมและประเทศนั้นๆ ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลได้อย่างภาคภูมิ

2. การเป็นผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่มีจริยธรรม
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนแปลงระบบตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketplace) ไปสู่ตลาดในระบบอิเลคทรอนิกส์ (Electronic-Marketplace) และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายดังจะเห็นได้จากความหลายหลายของประเภทสินค้าที่สามารถซื้อหาได้ในระบบออนไลน์ ตลอดจนบริการประเภทต่างๆ ที่ผู้บริโภคสามารถทำธุรกรรมได้อย่างสะดวก พลเมืองยุคดิจิตอลจะต้องมีความซื่อสัตย์และมีศีลธรรมในการทำนิติกรรมและธุรกรรมทุกประเภทบนโลกออนไลน์ เช่น ไม่ซื้อขายและทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การดาวน์โหลดสิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อหลอกลวงผู้อื่นให้ซื้อสินค้าและบริการที่ไม่มีคุณภาพ เป็นต้น

3. การเป็นผู้ส่งสารและรับสารที่มีมรรยาท
รูปแบบการสื่อสารได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงศตวรรษที่ 21 ดังจะเห็นได้จากรูปแบบการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตที่สะดวก รวดเร็วและมีความเชื่อมโยงทั่วโลก เช่น อีเมลล์และโซเชียลมีเดียหลากหลายประเภท ปัจจุบันมีผู้ใช้ข้อได้เปรียบของช่องทางการสื่อสารดังกล่าวอย่างไม่เหมาะสม เช่น การส่งสารที่ มีเจตนาหมิ่นประมาทผู้อื่นและการส่งสารที่มีเจตนาให้สังคมเกิดความแตกแยก ทั้งที่กระทำไปโดยเจตนาหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้น พลเมืองดิจิตอลที่ดีจะต้องมีมรรยาทและความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนในโลกออนไลน์ หรือ ที่เรารู้จักกันดีในนามของ (Digital Etiquette) ที่จะเป็นเครื่องมือในการย้ำเตือนสติตลอดจนการกระทำที่เหมาะสมในการสื่อสารทุกประเภทในยุคดิจิตอล

4. การเคารพต่อกฎหมายและกฎระเบียบ
ปัจจุบันการทำธุรกรรมและนิติกรรมทางอิเลคทรอนิกส์อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายและกฎระเบียบว่าด้วยการทำธุรกรรมทางอิเลคทรอนิกส์ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการป้องกันและปราบปรามการละเมิด ในรูปแบบต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นอาชญกรรมทางอีเลคทรอนิกส์ เช่น การลักขโมยและการจารกรรมข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ข้อมูลทางธุรกิจและข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนมาตรการคุ้มครองเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบต่างๆ ดังนั้น พลเมืองยุคติจิตอลที่ดีจะต้องตระหนักและรับทราบถึงกฎหมายและกฎระเบียบดังกล่าว ตลอดจนมีความยับยั้งช่างใจต่อการกระทำของตนที่อาจเป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น

5. การใช้เทคโนโลยีให้มีความเหมาะสมและไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ขาดความเหมาะสมอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวม เช่น ความเครียดต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตตลอดจนการก่อให้เกิดการสูญเสียสัมพันธ์ภาพในสังคมได้ พลเมืองยุคดิจิตอลจะต้องควบคุมการใช้อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ให้มีความเหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้เกิดอาการเสพติดต่อ สิ่งดังกล่าวจนเกิดผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้ นอกจากนี้ การลดปริมาณการสื่อสารแบบออนไลน์มาเป็นรูปแบบการสื่อสารแบบดั้งเดิมในบางโอกาสจะก่อให้เกิดผลดีต่อสัมพันธภาพของบุคคลใกล้ชิดอีกด้วย

6. เรียนรู้วิธีการเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยี
พลเมืองดิจิตอลนอกจากจะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพแล้วจะต้องใฝ่รู้และให้ความสำคัญกับมาตรการเพื่อความปลอดภัยและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย (Digital Security) เนื่องจากในยุคดิจิตอลนั้นผู้มีเจตนากระทำผิดและหลอกลวงสามารถใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัยเพื่อหลอกลวงผู้อื่นได้ง่ายกว่ากระบวนการสื่อสารแบบดั้งเดิม วิธีการเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถกระทำได้โดยง่ายมีหลากหลายวิธี เช่น การติดตั้งระบบป้องกันการจารกรรมและการทำลายข้อมูลให้กับอุปกรณ์การสื่อสารทุกประเภท ตลอดจนรู้เท่าทันต่อรูปแบบและกลอุบายของอาชญากรอิเลคทรอนิกส์ที่มักมีการพัฒนารูปแบบของการ
กระทำผิดอยู่เสมอ

 

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

การเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา: เปลี่ยนบทเรียนให้เป็นสนามเด็กเล่น

เกมการศึกษาคืออะไร? เกมการศึกษา หมายถึง เกมที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ โดยผสมผสานเนื้อหาการศึกษาเข้ากับรูปแบบเกมที่สนุกสนาน เกมเหล่านี้อาจเป็นเกมดิจิทัล เกมกระดาน หรือเกมไพ่ ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา การเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา มีประโยชน์มากมาย ดังนี้ เพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้: เกมที่สนุกสนานและท้าทาย ช่วยให้นักเรียนรู้สึกเพลิดเพลิน และอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น ส่งเสริมการมีส่วนร่วม: เกมกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา: เกมหลาย ๆ เกม ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม:...

พุทธสาวก คืออะไร

พุทธสาวก คือ ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชาวพุทธเพื่อนำไปปฏิบัติตาม โดยมีทั้งพุทธสาวก (ผู้ชาย) และพุทธสาวิกา (ผู้หญิง) ในระดับ ประถมศึกษาปีที่ 1 เราจะได้ศึกษา คือ สามเณรบัณฑิต...

ประวัติศาสดาของศาสนาคริสต์

ศาสดาของศาสนาคริสต์ คือ พระเยซู เป็นชาวยิวเกิดใน พ.ศ. ๕๔๓ (ค.ศ. ๑) ที่เมืองเยรูซาเลม ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิสราเอล พระเยซูเติบโตขึ้นด้วยความสนใจในทางศาสนา เมื่ออายุ ๓๐ ปีท่านได้เข้าพิธีรับศีลล้างบาป และเผยแผ่ศาสนาคริสต์เป็นเวลา ๓ ปี มีผู้ศรัทธาหันมานับถือเป็นจำนวนมากทำให้กลุ่มผู้นำศาสนาเดิมคิดกำจัดพระเยซู โดยกล่าวหาว่า พระเยซู...

ประวัติศาสดาของศาสนาอิสลาม

ศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมุฮัมมัด มุฮัมมัดเป็นชาวอาหรับเกิดใน  พ.ศ. ๑๑๑๔ ที่นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มุฮัมมัดเป็นผู้นำโองการของอัลลอฮ์ (พระเจ้าของศาสนาอิสลาม) มาเผยแผ่จนเกิดเป็นศาสนาอิสลามขึ้น...

About ครูออฟ 1186 Articles
https://www.kruaof.com