เครือข่ายคอมพิวเตอร์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

       เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network)  คือ ระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้  นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่นเครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น  การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก  เมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เช่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก  ก็ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชั่น เช่น เว็บ อีเมลล์ เป็นต้น

การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีที่มาจากผู้ที่ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว คอมพิวเตอร์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการประมวลข้อมูลในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือ ผู้ใช้ไม่สามารถแชร์ข้อมูลกับคนอื่นๆได้ ดังนั้น ก่อนมีการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันโดยการ พิมพ์(print) ข้อมูลออกมาเป็นเอกสารก่อนแล้วค่อยนำไปให้ผู้ใช้ที่ต้องการใช้หรือแก้ไขข้อมูลอีกคนหนึ่ง ซึ่งทำให้เสียเวลาและเป็นวิธีที่ยุ่งยากมากเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันที่มีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์แล้ว

การทำสำเนา(copy) หรือ บันทึก(save) ข้อมูลลงในแผ่นดิสก์(floppy disk) แล้วส่งให้คนอื่นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันก่อนที่จะมีการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และนับว่าเป็นวิธีที่เสียเวลาและยุ่งยากน้อยกว่าการส่งเป็นแผ่นกระดาษ เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาในการแปลงข้อมูล เพราะคอมพิวเตอร์สามารถอ่านข้อมูลในแผ่นดิสก์ได้เลย การใช้คอมพิวเตอร์ลักษณะนี้เรียกว่า sneakernet หรือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีคนเป็นสื่อรับส่งข้อมูล การใช้เครือข่ายแบบ sneakernet นี้ ถือว่ายังช้ามากเมื่อเทียบกับความเร็วของคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการใช้คอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ก็ยังมีการใช้กันอยู่บ้างในองค์กรที่ไม่มีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กันโดยสายสัญญาณ การถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องจะเร็วมากเนื่องจากการเดินทางของข้อมูลผ่านสายสัญญาณนี้ จะมีความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะอยู่ห่างกันแค่ไหน การแลกเปลี่ยนข้อมูลก็จะเร็วกว่าการใช้แผ่นดิสก์มาก เครือข่ายแบบนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถแชร์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

– คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่อง

– เน็ตเวิร์คการ์ด(NIC : Network Interface Card)

– สายสัญญาณและอุปกรณ์รับส่งข้อมูล เช่น เราท์เตอร์ เกตเวย์ เป็นต้น

– โปรโตคอล(Protocol) หรือ ภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

– ระบบปฏิบัติการเครือข่าย(NOS : Network Operating System)

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

– สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

– สามารถแชร์ซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ได้ เช่น เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

– สามารถรวมการจัดการไว้ในเครื่องที่เป็น server

– สามารถใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์(e-mail) เพื่อติดต่อผู้ที่อยู่ไกลกันได้อย่างรวดเร็ว

– การสนทนาผ่านเครือข่าย(chat)

– การประชุมทางไกล(video conference)

– ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์จำนวนมาก เนื่องจากใช้ร่วมกันได้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

ประวัติและความเป็นมาของปัญญาประดิษฐ์

จุดกำเนิด ปี 1955 ถือเป็นจุดกำเนิดของปัญญาประดิษฐ์อย่างเป็นทางการ โดย จอห์น แมคคาร์ธี ได้ใช้คำว่า "ปัญญาประดิษฐ์" เป็นครั้งแรก ในงานประชุมที่มหาวิทยาลัยดาร์ทมัธ ยุคแรก (1950 - 1970) มุ่งเน้นไปที่การจำลองการคิดแบบตรรกะของมนุษย์ มีการพัฒนาโปรแกรมที่สามารถเล่นเกม แก้ปัญหา และพิสูจน์ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างที่โด่งดัง ได้แก่ โปรแกรม General Problem Solver...

ที่มาและความสำคัญ

ที่มาและความสำคัญของการวิจัยเรื่อง "การออกแบบและพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อสอนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับเด็กประถมศึกษา" ที่มา 1. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 การปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็กจะช่วยให้เด็กมีพื้นฐานที่ดีในการพัฒนาทักษะนี้ 2. การศึกษาหลายชิ้นพบว่า การเรียนรู้การเขียนโปรแกรมตั้งแต่เด็กจะช่วยส่งเสริมความคิดเชิงวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ 3. บทเรียนออนไลน์แบบมีปฏิสัมพันธ์สามารถทำให้เนื้อหาที่เป็นนามธรรมเข้าใจง่ายขึ้นสำหรับเด็ก โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย เกม และกิจกรรมที่น่าสนใจ 4. การเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสามารถและความสนใจของตน ความสำคัญ 1. ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในอนาคต ตั้งแต่วัยเยาว์ 2. บทเรียนออนไลน์ที่ออกแบบอย่างดีจะช่วยให้เด็กสนใจและเข้าใจการเขียนโปรแกรมซึ่งเป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างยากสำหรับเด็กได้ง่ายขึ้น 3. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความคิดสร้างสรรค์...

ความสนใจในหัวข้อ

หัวข้องานวิจัยที่ 1 "การออกแบบและพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อสอนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับเด็กประถมศึกษา" เป็นหัวข้อที่น่าสนใจมาก เนื่องจากการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 และการปลูกฝังให้เด็กได้เรียนรู้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยพัฒนาความคิดเชิงวิเคราะห์และแก้ปัญหางานวิจัยในหัวข้อนี้อาจประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 1. การศึกษาและทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการสอนการเขียนโปรแกรมให้เด็ก แนวคิดการออกแบบบทเรียนออนไลน์ และทฤษฎีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 2. การวิเคราะห์และกำหนดกลุ่มเป้าหมายเด็กประถมศึกษา เนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ 3. การออกแบบสื่อและกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ในบทเรียนออนไลน์ เช่น เกม สถานการณ์จำลอง วีดิโอ...

หัวข้องานวิจัย

สำหรับการพัฒนาบทเรียนออนไลน์วิทยาการคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กประถมศึกษา หัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจ ได้แก่ 1. การออกแบบและพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อสอนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับเด็กประถมศึกษา 2. การศึกษาผลกระทบของบทเรียนออนไลน์ที่ใช้สื่อมัลติมีเดียและเกมต่อความสนใจในการเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ของเด็กประถมศึกษา 3. การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคนิทานดิจิทัลเพื่อสอนแนวคิดพื้นฐานของวิทยาการคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กประถมศึกษาตอนต้น 4. การเปรียบเทียบประสิทธิผลของบทเรียนออนไลน์และการเรียนการสอนแบบปกติในการสอนหลักการทำงานของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กประถมศึกษา 5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (VR) ในบทเรียนออนไลน์เพื่อสอนความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับเด็กประถมศึกษา 6. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้จากบทเรียนออนไลน์แบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับรายวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐานในระดับประถมศึกษา 7. การออกแบบและพัฒนาบทเรียนออนไลน์ที่ใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แนวคิดเชิงคำนวณสำหรับเด็กประถมศึกษา 8. การประเมินผลการใช้บทเรียนออนไลน์แบบร่วมมือในการสอนการคิดเชิงวิเคราะห์และการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กประถมศึกษา เหล่านี้เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ที่มีลักษณะเหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็กประถมศึกษา โดยใช้เทคนิคและสื่อการสอนที่น่าสนใจและเข้าใจง่าย...

About ครูออฟ 1190 Articles
https://www.kruaof.com