มารยาทในการรับประทานอาหาร

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

มารยาทในการรับประทานอาหาร เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความเลื่อมใส หรืออาจตำหนี ดังนั้น เราควรฝึกมารยาทในการรับประทานอาหารให้ถูกต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยปฏิบัติให้เป็นนิสัย เพราะนอกจากจะรับประทานอาหารตามปกติในครอบครัวแล้ว เรายังใช้อาหารเป็นสื่อในการพบปะสังสรรค์ ดำเนินงานทางธุรกิจ หรือเข้าสังคมกับผู้อื่น การมีความรู้เกี่ยวกับมารยาทในการรับประทานอาหารตามหลักสากล จะช่วยให้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

๑ มารยาททั่วไปในการรับประทานอาหารตามหลักสากล

ในการรับประทานอาหารร่วมกับบุคคลอื่น ควรจะปฏิบัติตนดังนี้

๑. ไม่ทำเสียงดังในขณะรับประทาน

๒. อาหารแต่ละคำควรตักให้เล็ก และไม่เลือกเฉพาะอาหารที่ชอบ

๓. ไม่ควรตำหนิรสชาติของอาหาร ควรรับประทานอาหารทุกชนิดที่วางอยู่บนโต๊ะอาหาร

๔. ไม่ควรบังคับให้แขกรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินควร

๕. ควรเลือกเรื่องที่จะนำมาสนทนากับผู้รับประทานอาหารทุกครั้ง ไม่ควรตำหนิหรือว่ากล่าวสมาชิกในครอบครัวขณะรับประทานอาหาร

๖. ควรนั่งตัวตรง ไม่นำแขนขึ้นมาวางบนโต๊ะ และไม่ก้มศีรษะลงไปรับประทานอาหารจากจานเข้าปาก

๗. ไม่กระดิกเท้า หรือเคาะโต๊ะเป็นการทำความรำคาญให้แก่ผู้อื่น

๘. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง

๙. ถ้ามีอาหารมาเสิร์ฟในชามที่มีฝาปิด ให้เปิดฝาลงไว้ในจาน ถ้าอุปกรณ์ใดที่ใช้ไม่เป็น ให้สังเกตผู้ที่นั่งด้านข้างแล้วทำตาม

๑๐. ไม่รับประทานอาหารมูมมาม หรือทำอาหารหกเลอะเทอะ

๒ มารยาทในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์

การรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ เป็นการรับประทานอาหารโดยให้ผู้รับประทานช่วยเหลือตนเอง มีการนำอาหารหลากหลายชนิดมาจัดวางเป็นจุด ๆ เพื่อให้ผู้รับประทานเลือกตักอาหารตามความพอใจ ขณะที่รับประทานอาหารอาจมีการสังสรรค์ เพื่อทำให้ประหยัดเวลาก็ได้

ในการรับประทานอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ ควรปฏิบัติดังนี้

๑. ควรลุกไปตักอาหารเอง โดยยืนต่อแถวและอย่าให้เป็นภาระของผู้อื่น ไม่หยิบอาหาร ช้อนส้อม หรือตักอาหารแจกผู้อื่น แต่ละคนต้องช่วยเหลือตนเอง

๑. ไม่พูดคุยขณะที่ตักอาหาร รีบตักอาหารเพื่อให้ผู้อื่นได้ตักอาหารบ้าง

๒. อย่าตักอาหารให้ล้นจาน

๓. ตักอาหารเป็นอย่าง ๆ อย่าวางสุมทับกัน ถ้าของเป็นชิ้นควรหยิบเพียงหนึ่งชิ้น จะหยิบเกินกว่าหนึ่งก็ต่อเมื่อผู้อื่นได้ครบแล้ว

๔. อาหารที่ตักมาต้องรับประทานให้หมด ถ้าไม่พอสามารถลุกเติมได้

๕. เมื่อรับประทานเสร็จต้องเขี่ยเศษอาหารในจาน และรวบช้อนส้อมให้เรียบร้อย

๖. กระดาษเช็ดมือไม่ควรใส่ในจานอาหาร เพราะจะทำให้ปลิว เก็บลำบาก ควรใช้จานวางทับไว้

๗. ถ้ามีการกำหนดให้เอาจานอาหารวางไว้ที่ใด เมื่อรับประทานเสร็จแล้วควรปฏิบัติตาม

๘. อย่าตักอาหารเผื่อผู้อื่น

๙. อาหารหวาน ควรตักเมื่อรับประทานอาคารคาวเสร็จแล้ว

๑๐. ไม่เบียดหรือแซงผู้อื่น ไม่ยื่นมือไปตักอาหารข้ามมือหรือแขน ควรคอยจังหวะให้ผู้อื่นตักเสร็จเสียก่อน แม้ว่าจะเป็นอาหารที่ชอบก็ตาม

3.มารยาทในการรับประทานอาหารแบบยุโรป

โดยทั่วไปการรับประทานอาหารแบบยุโรป มี ๒ แบบ คือ แบบอเมริกัน ซึ่งจะรับประทานอาหารจากส้อมด้วยมือขวา โดยยกปลายส้อมขึ้นข้างบน ใช้ส้อมตักอาหาร และวางมีดไว้ริมจานเมื่อไม่ใช้ส่วนแบบยุโรป จะรับประทานอาหารจากส้อมด้วยมือซ้าย ปลายส้อมคว่ำลง และถือมีดไว้ด้วยมือขวา

การรับประทานอาหารแบบยุโรป จะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ วางอยู่บนโต๊ะอาหาร ควรหยิบใช้ให้ถูกต้องดังนี้

๑) การใช้ผ้าเช็ดปาก ควรปฏิบัติดังนี้

๑. หยิบผ้าเช็ดปากคลี่แล้ววางบนตัก
๒. ใช้เพื่อซับอาหารที่ติดปาก ไม่ควรใช้เช็ดลิปสติกออก
๓. ถ้าผ้าตกระหว่างรับประทานอาหาร ให้พยายามหยิบโดยไม่รบกวนผู้อื่น
๔. ถ้าไม่จำเป็นต้องลุกออกไปไหนชั่วขณะ ให้วางไว้ที่เก้าอี้
๕. ผ้าที่ใช้แล้วไม่ต้องพับ ถ้าเลิกรับประทานให้วางผ้าไว้บนโต๊ะด้านซ้ายมือ

๒) การใช้ช้อน ส้อม มีด และแก้วน้ำ ควรปฏิบัติดังนี้
๑. ใช้ช้อน มีด ด้วยมือขวา ส้อมใช้มือซ้าย
๒. ใช้ช้อนตักซุปออกจากตัวและรับประทานด้านข้างช้อน
๓. ไม่ใช้มีดตักหรือจิ้มอาหารเข้าปาก
๔. แก้วน้ำให้หยิบด้านขวามือ
๕. ช้อน ส้อม มีด เมื่อเลิกใช้แล้วอย่าวางบนโต๊ะ ให้วางบนจานรองหรือบนจานอาคารคาวแทน

 

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

การเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา: เปลี่ยนบทเรียนให้เป็นสนามเด็กเล่น

เกมการศึกษาคืออะไร? เกมการศึกษา หมายถึง เกมที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ โดยผสมผสานเนื้อหาการศึกษาเข้ากับรูปแบบเกมที่สนุกสนาน เกมเหล่านี้อาจเป็นเกมดิจิทัล เกมกระดาน หรือเกมไพ่ ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา การเรียนรู้ด้วยเกมการศึกษา มีประโยชน์มากมาย ดังนี้ เพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้: เกมที่สนุกสนานและท้าทาย ช่วยให้นักเรียนรู้สึกเพลิดเพลิน และอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น ส่งเสริมการมีส่วนร่วม: เกมกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา: เกมหลาย ๆ เกม ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม:...

พุทธสาวก คืออะไร

พุทธสาวก คือ ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชาวพุทธเพื่อนำไปปฏิบัติตาม โดยมีทั้งพุทธสาวก (ผู้ชาย) และพุทธสาวิกา (ผู้หญิง) ในระดับ ประถมศึกษาปีที่ 1 เราจะได้ศึกษา คือ สามเณรบัณฑิต...

ประวัติศาสดาของศาสนาคริสต์

ศาสดาของศาสนาคริสต์ คือ พระเยซู เป็นชาวยิวเกิดใน พ.ศ. ๕๔๓ (ค.ศ. ๑) ที่เมืองเยรูซาเลม ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิสราเอล พระเยซูเติบโตขึ้นด้วยความสนใจในทางศาสนา เมื่ออายุ ๓๐ ปีท่านได้เข้าพิธีรับศีลล้างบาป และเผยแผ่ศาสนาคริสต์เป็นเวลา ๓ ปี มีผู้ศรัทธาหันมานับถือเป็นจำนวนมากทำให้กลุ่มผู้นำศาสนาเดิมคิดกำจัดพระเยซู โดยกล่าวหาว่า พระเยซู...

ประวัติศาสดาของศาสนาอิสลาม

ศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมุฮัมมัด มุฮัมมัดเป็นชาวอาหรับเกิดใน  พ.ศ. ๑๑๑๔ ที่นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มุฮัมมัดเป็นผู้นำโองการของอัลลอฮ์ (พระเจ้าของศาสนาอิสลาม) มาเผยแผ่จนเกิดเป็นศาสนาอิสลามขึ้น...

About ครูออฟ 1186 Articles
https://www.kruaof.com