การทำงานกับสมาชิกในครอบครัว ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

การทำงานบ้านเป็นกิจกรรมที่สมาชิกในครอบครัวได้ทำงานร่วมกัน ช่วยทำให้บ้านสะอาดเรียบร้อย น่าอยู่อาศัย และเมื่อบ้านน่าอยู่อาศัย ทุกคนในบ้านก็จะมีความสุข
งานบ้านมีทั้งงานทำความสะอาดบ้าน งานบริการในบ้าน งานบำรุงรักษาและดูแลบริเวณบ้าน งานดูแลรักษาและทำความสะอาดเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายงานเก็บล้าง และงานประกอบอาหาร ซึ่งงานเหล่านี้สมาชิกทุกคนในครอบครัวควรช่วยกันทำตามความสามารถของตนเอง

ประเภทของงานบ้าน
รูปที่ 1 ประเภทของงานบ้าน

๑.๑ ลักษณะงานบ้านที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันทำ
งานบ้านที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันทำ แบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะดังนี้
๑) งานบ้านที่ได้รับมอบหมาย หมายถึง งานที่หัวหน้าครอบครัวหรือ
ผู้ปกครองมอบหมายให้สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวทำตามความสนใจและความถนัด ซึ่งเหมาะสมกับวัยและความสามารถ
๒) งานบ้านที่ไม่ได้รับมอบหมาย หมายถึง งานที่สมาชิกในครอบครัวช่วยทำด้วยความสมัครใจ หรือช่วยทำแทนสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ ในโอกาสต่างๆ

๑.๒ มารยาทในการทำงานกับสมาชิกในครอบครัว
การทำงานร่วมกับสมาชิกในครอบครัว ควรปฏิบัติตนอย่างมีมารยาท ดังนี้
๑. มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่เกี่ยงกันทำงาน
๒. ให้ความช่วยเหลือหรือทำงานแทนสมาชิกในครอบครัวตามความสามารถของตนเอง เมื่อเจ้าของงานเจ็บป่วย หรือต้องการให้งานเสร็จเร็วขึ้น
๓. กล่าวคำ “ขอบคุณ” เมื่อผู้มีอายุมากกว่าช่วยงาน หรือ “ขอบใจ” เมื่อผู้มีอายุน้อยกว่าช่วยงานทุกครั้ง
๔. กล่าวคำ “ขอโทษ” ทุกครั้งที่ทำงานผิดพลาด และปรับปรุงแก้ไขการทำงานของตนเองให้ดีขึ้น
๕. รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน เมื่อเกิดความผิดพลาดในการทำงาน

๑.๓ ประโยชน์ของการทำงานบ้านร่วมกับสมาชิกในครอบครัว
การทำงานบ้านร่วมกับสมาชิกในครอบครัวอย่างมีมารยาทที่ดีมีประโยชน์ต่อบ้านที่อยู่อาศัยและสมาชิกในครอบครัว ดังนี้
๑. บ้านสะอาดเรียบร้อย น่าอยู่อาศัย
๒. สมาชิกในครอบครัวมีเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน จึงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและให้ความร่วมมือในการทำงานจนสำเร็จได้ ๓. เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
๔. สร้างลักษณะนิสัยที่ดีให้แก่สมาชิกในครอบครัว เช่น ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัยในการดำเนินชีวิต ความประณีตรอบคอบ รักการทำงาน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
๕. ฝึกให้สมาชิกในครอบครัวทำงานอย่างเป็นกระบวนการตามลำดับขั้นตอน

การทำงานบ้านร่วมกับสมาชิกในครอบครัวอย่างมีมารยาทจะช่วยให้สมาชิกในครอบครัวรักใคร่สามัคคีกันสร้างนิสัยที่ดี และบ้านสะอาดเรียบร้อยน่าอยู่อาศัย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความหมายและประเภทของเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมายและประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยี เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ระบบเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบเทคโนโลยี เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ วัสดุและเครื่องมือ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุและเครื่องมือต่างๆ กระบวนการทางเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคโนโลยีต่างๆ เข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี หลักการออกแบบ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบที่สำคัญ...

About ครูออฟ 1263 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.