บทที่ 2 เครือข่ายคอมพิวเตอร์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

พื้นฐานการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย

 

ความหมายของเครือข่าย

ในส่วนของ “เครือข่าย” หมายถึง เครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันในระยะใกล้ภายในพื้นที่เดียวกัน (Local) กับเครือข่ายที่เชื่อมโยงแบบระยะไกล (Remote) โดยเฉพาะเครือข่ายที่เชื่อมโยงแบบระยะไกลนั้น จำเป็นต้องพึ่งพาช่องทางการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลระยะไกลได้

ตัวอย่างของการสื่อสารโทรคมนาคม

– โทรเลข (Telegraphy)

– โทรสาร (Facsimile)

– โทรศัพท์ (Telephone)

– โทรทัศน์ (Television)

– วิทยุกระจายเสียง (Radio)

– ไมโครเวฟ (Microwave)

– ดาวเทียม (Satellite)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การนำกลุ่มคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย โดยใช้สื่อกลางซึ่งเป็นสายเคเบิลหรือคลื่นวิทยุเป็นเส้นทางการลำเลียงข้อมูลเพื่อสื่อสารระหว่างกัน และการที่เครือข่ายสามารถเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวได้ก็เพราะระบบปฏิบัติการเครือข่าย ซึ่งจัดเป็นซอฟต์แวร์ระบบที่สำคัญที่นำมาใช้เชื่อมโยงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เข้าด้วยกัน และทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรบนเครือข่ายอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานทรัพยากรร่วมกันบนเครือข่ายได้อย่างสะดวก

ก่อนจะเป็นเครือข่าย

Sneaker หมายถึง รองเท้าของบุคคลที่เดินไปคัดลอกสำเนาข้อมูล ดังนั้น Sneaker จึงหมายถึงเครือข่ายที่ใช้บุคคลในการเดินเท้าเพื่อถ่ายโอนข้อมูลนั่นเอง อย่างไรก็ตาม Sneakernet นั้นเป็นคำเปรียบเปรยเชิงล้อเล่นมากกว่าที่จะนำไปใช้เป็นศัพท์เชิงทางการ

ประโยชน์ของเครือข่าย

  1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน
  2. ช่วยลดต้นทุน
  3. เพิ่มความสะดวกในด้านการสื่อสาร
  4. ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของระบบ

ประเภทของเครือข่าย (Categories of Networks)

เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network: LAN)

เครือข่ายท้องถิ่นเป็นเครือข่ายส่วนบุคคล ที่มีการลิงค์เชื่อมโยงระหว่างพีซีคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เพื่อการใช้งานร่วมกัน เครือข่ายท้องถิ่นอาจมีเพียงพีซีคอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่องเพื่อใช้งานตามบ้านเรือน หรือเชื่อมโยงพีซีคอมพิวเตอร์เป็นร้อยเครื่องสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ โดยจะครอบคลุมระยะทางไม่กี่กิโลเมตร

เครือข่ายท้องถิ่นหรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า เครือข่ายแลน นั้น ได้รับการออกแบบมาเพื่ออนุญาตให้สามารถแชร์ทรัพยากรบนเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น การแชร์ข้อมูล โปรแกรม และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network: MAN)

เป็นเครือข่ายที่มีขนาดระหว่างเครือข่ายแลนและเครือข่ายแวน ซึ่งปกติจะครอบคลุมพื้นที่ภายในเมืองหรือจังหวัด โดยเป็นเครือข่ายที่ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าสามารถเชื่อมต่อใช้งานเพื่อการสื่อสารความเร็วสูง

เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network: WAN)

เครือข่ายระดับประเทศหรือเครือข่ายแวนสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ระยะไกล สามารถสื่อสารข้ามประเทศหรือข้ามทวีปได้ เครือข่ายแวนอาจมีสายแกนหลักจำนวนมากกว่าหนึ่งเส้นที่นำไปใช้เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต

นอกจากขนาดของเครือข่ายที่สามารถเชื่อมโยงได้ไกลข้ามประเทศอย่างเครือข่ายแวนแล้ว สื่อส่งข้อมูลที่ใช้ในเครือข่ายแวนก็มีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์ สายเคเบิล รวมถึงการสื่อสารผ่านดาวเทียม เป็นต้น

อินเทอร์เน็ต (The Internet)

อินเทอร์เน็ตจัดเป็นเครือข่ายสาธารณะ (Public Network) ที่ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนเนชีวิตปัจจุบันของมนุษย์ในยุคนี้ จึงทำให้รูปแบบธุรกิจเดิมที่เคยดำเนินการอยู่ จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบด้วยการใช้ช่องทางการจำหน่ายผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างทางเลือกและความสะดวกในด้านการบริการแก่ลูกค้า โดยลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าหรือบริการผ่านทางเว็บไซต์ ทั้งนี้มิได้จำกัดเพียงลูกค้าภายในประเทศ แต่นั่นหมายถึงลูกค้าทั่วโลกที่สามารถเข้าใช้บริการนี้ผ่านทางเว็บไซต์

อินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายที่หลากหลาย ดังนั้นอุปกรณ์ที่เรียกว่า เร้าเตอร์ (Router) จึงถูกนำมาใช้เพื่อการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายเข้าด้วยกัน เร้าเตอร์จัดเป็นอุปกรณ์สำคัญของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทีเดียว เพื่อใช้สำหรับกำหนดเส้นทางบนเครือข่าย

นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีค่อนข้างหลากหลายและอาจมีแพลตฟอร์ม (Platform) ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตยกรรมของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ก็ตาม เมื่อเป็นเช่นนี้อุปกรณ์อย่าง เกตเวย์ (Gateway) จึงถูกนำมาใช้งานเพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีระบบแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงสามารถสื่อสารร่วมกันเป็นเครือข่ายเดียวกันได้

การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks-Basic Configurations)

ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในมุมมองเชิงกายภาพ ที่แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อในลักษณะต่าง ๆ และโดยปกติเราสามารถพบเห็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในมุมมองต่าง ๆ ได้จากการสังเกตตามองค์กรหรือหน่วยงาน หรือจากการใช้งานประจำวันไม่ว่าจะที่บ้าน สำนักงาน หรือสถาบันการศึกษา โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ มีดังนี้

1. ไมโครคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายท้องถิ่น (Microcomputer-to-LAN Configurations)

เราสามารถพูดได้ว่าในปัจจุบันนี้ การเชื่อมต่อไมโครคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของเครือข่ายท้องถิ่นนั้น สามารถพบเห็นได้ตามสำนักงานทั่วไป ทั้งนี้เครือข่ายท้องถิ่นจัดเป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมสำหรับการแชร์ใช้งานโปรแกรม ข้อมูล และอุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี

ด้วยอัตราการใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์ และการนำมาเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายท้องถิ่นจำนวนมาก จึงทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันเครือข่ายท้องถิ่นมีอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลสูงคือ ตั้งแต่ 100 เมกะบิตต่อวินาที (100 Mbps) จนถึงระดับกิกะบิตต่อวินาที (1 Gbps)

2. ไมโครคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต (Microcomputer-to-Internet Configurations)

จากการเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และกระแสการใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์ตามบ้านพักอาศัยมีจำนวนมากขึ้น ดังนั้นการนำไมโครคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงมีอัตราสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ใช้ตามบ้านพักอาศัยส่วนใหญ่ใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยเทคโนโลยีระบบ ADSL ที่กลุ่มลูกค้าตามบ้านพักอาศัยสามารถมีทางเลือกในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ โดยอัตราความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลมีได้ตั้งแต่ Mbps แต่การใช้บริการระบบ ADSL ได้นั้น บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) จะต้องมีการติดตั้งระบบดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการใช้งานด้วย ลูกค้าตามบ้านักอาศัยจึงสามารถใช้บริการได้ ที่สำคัญการบริการ ADSL จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือน และสามารถเชื่อมโยงใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง

3. เครือข่ายท้องถิ่นกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (LAN-to-Internet Configurations)
อุปกรณ์ที่เรียกว่า “เร้าเตอร์ (Router)” จัดเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะต้องนำมาใช้เพื่อเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายทั้งสอง ถึงแม้ว่าอุปกรณ์สวิตช์หรือบริดจ์จะสามารถนำมาใช้เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายได้เช่นกัน แต่หลักการทำงานจะแตกต่างกัน โดยเฉพาะเร้าเตอร์จะมีขีดความสามารถในการจัดการเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่รับส่งกันระหว่างเครือข่ายจำนวนมากที่เชื่อมต่อกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี และมีหลักการทำงานที่ซับซ้อนกว่าอุปกรณ์อย่างบริดจ์และสวิตช์

4. ดาวเทียมและไมโครเวฟ (Satellite and Microwave)
เทคโนโลยีดาวเทียมและไมโครเวฟ จัดเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมและนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ซึ่งหากระยะทางระหว่างสองเครือข่ายไกลกันมาก และยากต่อการเดินสายสัญญาณเพื่อเชื่อมต่อระหว่างกัน หรือแทบจะเชื่อมโยงผ่านสายไม่ได้เลยเนื่องจากปัญหาด้านภูมิศาสตร์ ดังนั้นการส่งผ่านข้อมูลด้วยการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมและไมโครเวฟจึงเป็นแนวทางหนึงที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายทั้งสองให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการนำมาประยุกต์ใช้เพื่องานแพร่ภาพทีวีผ่านดาวเทียม โทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบ GPS และวิดีโอคอนเฟเร็นซ์

5. โทรศัพท์ไร้สาย (Wireless Telephone)
ตัวอย่างของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคที่นำมาใช้เชื่อมต่อกับโทรศัพท์ไร้สายผ่านสายเคเบิลหรือบลูทูธ (Bluetooth) การส่งผ่านข้อมูลจากโทรศัพท์ไร้สายที่เชื่อมต่อกับโน๊ตบุค จะส่งไปยังศูนย์กลางโทรศัพท์ไร้สาย (Wireless Telephone Switching Center) ซึ่งศูนย์กลางนี้เองจะทำหน้าที่ช่วยในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างโน๊ตบุคผ่านโครงข่ายโทรศัพท์สาธารณะ รวมถึงการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

ประวัติและความเป็นมาของปัญญาประดิษฐ์

จุดกำเนิด ปี 1955 ถือเป็นจุดกำเนิดของปัญญาประดิษฐ์อย่างเป็นทางการ โดย จอห์น แมคคาร์ธี ได้ใช้คำว่า "ปัญญาประดิษฐ์" เป็นครั้งแรก ในงานประชุมที่มหาวิทยาลัยดาร์ทมัธ ยุคแรก (1950 - 1970) มุ่งเน้นไปที่การจำลองการคิดแบบตรรกะของมนุษย์ มีการพัฒนาโปรแกรมที่สามารถเล่นเกม แก้ปัญหา และพิสูจน์ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างที่โด่งดัง ได้แก่ โปรแกรม General Problem Solver...

ที่มาและความสำคัญ

ที่มาและความสำคัญของการวิจัยเรื่อง "การออกแบบและพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อสอนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับเด็กประถมศึกษา" ที่มา 1. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 การปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็กจะช่วยให้เด็กมีพื้นฐานที่ดีในการพัฒนาทักษะนี้ 2. การศึกษาหลายชิ้นพบว่า การเรียนรู้การเขียนโปรแกรมตั้งแต่เด็กจะช่วยส่งเสริมความคิดเชิงวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ 3. บทเรียนออนไลน์แบบมีปฏิสัมพันธ์สามารถทำให้เนื้อหาที่เป็นนามธรรมเข้าใจง่ายขึ้นสำหรับเด็ก โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย เกม และกิจกรรมที่น่าสนใจ 4. การเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสามารถและความสนใจของตน ความสำคัญ 1. ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในอนาคต ตั้งแต่วัยเยาว์ 2. บทเรียนออนไลน์ที่ออกแบบอย่างดีจะช่วยให้เด็กสนใจและเข้าใจการเขียนโปรแกรมซึ่งเป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างยากสำหรับเด็กได้ง่ายขึ้น 3. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความคิดสร้างสรรค์...

ความสนใจในหัวข้อ

หัวข้องานวิจัยที่ 1 "การออกแบบและพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อสอนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับเด็กประถมศึกษา" เป็นหัวข้อที่น่าสนใจมาก เนื่องจากการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 และการปลูกฝังให้เด็กได้เรียนรู้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยพัฒนาความคิดเชิงวิเคราะห์และแก้ปัญหางานวิจัยในหัวข้อนี้อาจประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 1. การศึกษาและทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการสอนการเขียนโปรแกรมให้เด็ก แนวคิดการออกแบบบทเรียนออนไลน์ และทฤษฎีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 2. การวิเคราะห์และกำหนดกลุ่มเป้าหมายเด็กประถมศึกษา เนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ 3. การออกแบบสื่อและกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ในบทเรียนออนไลน์ เช่น เกม สถานการณ์จำลอง วีดิโอ...

หัวข้องานวิจัย

สำหรับการพัฒนาบทเรียนออนไลน์วิทยาการคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กประถมศึกษา หัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจ ได้แก่ 1. การออกแบบและพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อสอนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นสำหรับเด็กประถมศึกษา 2. การศึกษาผลกระทบของบทเรียนออนไลน์ที่ใช้สื่อมัลติมีเดียและเกมต่อความสนใจในการเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ของเด็กประถมศึกษา 3. การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้เทคนิคนิทานดิจิทัลเพื่อสอนแนวคิดพื้นฐานของวิทยาการคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กประถมศึกษาตอนต้น 4. การเปรียบเทียบประสิทธิผลของบทเรียนออนไลน์และการเรียนการสอนแบบปกติในการสอนหลักการทำงานของฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กประถมศึกษา 5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (VR) ในบทเรียนออนไลน์เพื่อสอนความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับเด็กประถมศึกษา 6. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้จากบทเรียนออนไลน์แบบมีปฏิสัมพันธ์สำหรับรายวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐานในระดับประถมศึกษา 7. การออกแบบและพัฒนาบทเรียนออนไลน์ที่ใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แนวคิดเชิงคำนวณสำหรับเด็กประถมศึกษา 8. การประเมินผลการใช้บทเรียนออนไลน์แบบร่วมมือในการสอนการคิดเชิงวิเคราะห์และการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กประถมศึกษา เหล่านี้เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ที่มีลักษณะเหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็กประถมศึกษา โดยใช้เทคนิคและสื่อการสอนที่น่าสนใจและเข้าใจง่าย...

About ครูออฟ 1190 Articles
https://www.kruaof.com