หน่วยที่ 1 การแก้ไขปัญหา วิทยาการคำนวณ ป.4

การแก้ปัญหา ป.4
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

หน่วยที่ 1 การแก้ไขปัญหา วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ใช้หนังสือเรียนสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

มาตรฐาน ว 4.2            เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน   และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงานและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม

ตัวชี้วัด ว 4.2 ป.4/1 ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา การอธิบายการทำงาน การคาดการณ์ผลลัพธ์จากปัญหาอย่างง่าย

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การแก้ไขปัญหา แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

  1. การฝึกลำดับความคิด ทำให้มองเห็นปัญหาแต่ละปัญหา แล้วตัดสินใจแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา
  2. การเลือกวิธีการแก้ปัญหาในแต่ละปัญหา ควรพิจารณาเงื่อนไขของปัญหาที่ครอบคลุมทุกกรณี โดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
  3. ปัญหาบางปัญหามีวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายวิธี ควรให้ความสำคัญของการแก้ปัญหาแต่ละวิธี  เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหา แล้วใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
  4. ปัญหาบางปัญหาต้องพิจารณาให้รอบคอบ หรือคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น การแก้ปัญหาด้วยวิธีที่แตกต่างกันจะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้แตกต่างกันไปด้วย
  5. ขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นหลักการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งประกอบด้วย ระบุปัญหา รวบรวมข้อมูล วางแผนแก้ปัญหา แก้ปัญหา ทดสอบและประเมินผล นำไปใช้แก้ปัญหา  ที่พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. การออกแบบโปรแกรมการแก้ปัญหา เป็นการออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหาที่ควรออกแบบให้ครอบคลุมทุกกรณีตามเงื่อนไขที่โจทย์กำหนด และอาจนำขั้นตอนนี้ไปใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง ตามต้องการ
  7. การเขียนโปรแกรมเป็นการสร้างลำดับของคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ หากมีข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้องให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การแก้ไขปัญหา แล้ว นักเรียนสามารถตอบคำถามต่อไปนี้

  1. นักเรียนมีวิธีการทำงานนี้วิธีใดอีกบ้าง วิธีการของนักเรียนดีอย่างไร
  2. การเลือกวิธีการแก้ปัญหา ควรพิจารณาอย่างไร
  3. นักเรียนจะมีแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
  4. นักเรียนมีแนวทางการแก้ปัญหาการไปโรงเรียนสายของตนเองอย่างไร
  5. การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหามีประโยชน์อย่างไร
  6. จากตัวอย่างพาเด็กน้อยไปขึ้นจรวด จงบอกจำนวนครั้งของด่านที่ต้องผ่าน
  7. มีเส้นทางที่สั้นกว่านี้หรือไม่ ถ้ามีทำไมจึงไม่เลือกเส้นทางนั้น
  8. การแก้ปัญหาตามขั้นตอนการแก้ปัญหามีประโยชน์อย่างไร
  9. การออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหา สามารถนำไปใช้กับเรื่องใดได้บ้าง
  10. การออกแบบโปรแกรมการแก้ปัญหามีหลักการออกแบบอย่างไร
  11. เว็บไซต์ https://code.org มีประโยชน์อย่างไร

โครงสร้างหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การแก้ปัญหา

รายละเอียดวันที่สอน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่    1  เรื่อง การฝึกลำดับความคิด16 พค. 65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่    2  เรื่อง การเลือกวิธีการแก้ปัญหา23 พค. 65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่    3  เรื่อง แนวทางการแก้ปัญหา30 พค. 65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่    4  เรื่อง การคาดการณ์ผลลัพธ์ของปัญหา6 มิย. 65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่    5  เรื่อง รู้จักขั้นตอนการแก้ปัญหา13 มิย. 65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่    6  เรื่อง การแก้ปัญหาตามขั้นตอนการแก้ปัญหา20 มิย. 65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่    7  เรื่อง การออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหา27 มิย. 65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่    8  เรื่อง การออกแบบโปรแกรมการแก้ปัญหา4 กค. 65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่    9  เรื่อง การเขียนโปรแกรมให้ตัวละครสื่อสารระหว่างกัน11 กค. 65

เนื้อหาการเรียนรู้ หน่วยที่ 1 การแก้ไขปัญหา

  1. การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ไขปัญหา (4 ชั่วโมง)
  2. ขั้นตอนการแก้ปัญหา (3 ชั่วโมง)
  3. การออกแบบโปรแกรมในการแก้ไขปัญหา (2 ชั่วโมง)

ความรู้ฝังแน่น ความเข้าใจที่คงทน 

  1. การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา เป็นการนำกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ครอบคลุมทุกกรณี มาพิจารณาในการแก้ปัญหา การอธิบายการทำงาน หรือคาดการณ์ผลลัพธ์
  2. ขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นหลักการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งประกอบด้วย ระบุปัญหา รวบรวมข้อมูล วางแผนแก้ปัญหา แก้ปัญหา ทดสอบและประเมินผล
  3. การออกแบบโปรแกรมการแก้ปัญหา เป็นการออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหาที่ควรออกแบบให้ครอบคลุมทุกกรณีตามเงื่อนไขที่โจทย์กำหนด และอาจนำขั้นตอนนี้ไปใช้ได้หลาย ๆ ครั้งตามต้องการ
  4. การเขียนโปรแกรมเป็นการสร้างลำดับของคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ หากมีข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้อง ให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาและพุทธประวัติ : ปรินิพพาน

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปอย่างกว้างขวางยังดินแดนต่าง ๆ เป็นเวลา ๔๕ พรรษา เมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษา จึงเสด็จดับขันธปรินิพพานในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ (วันวิสาขะ) ณ ใต้ต้นสาละ เมืองกุสินารา ก่อนปรินิพพานทรงประทานปัจฉิมโอวาท (คำสอนครั้งสุดท้าย) แก่พระสงฆ์ว่า...

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาและพุทธประวัติ : ปฐมเทศนา

หลังจากตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงตั้งพระทัยอันเปี่ยมด้วยพระเมตตาที่จะแสดงธรรมโปรดสัตว์โลก ทรงพิจารณาถึงผู้ที่จะเสด็จไปโปรดอย่างรอบคอบเพื่อเผยแผ่หลักธรรมที่ทรงตรัสรู้พระองค์ได้เสด็จไปยังอิสิปตนมฤคทายวัน เพื่อแสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรก คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร (อ่านว่า ทำ-มะ-จัก-กับ-ปะ-วัด-ตะ-นะ-สูด) ว่าด้วยเรื่องอริยสัจ ๔ และมรรค ๘ ให้แก่ปัญจวัคคีย์ฟังในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ในครั้งนั้น โกณฑัญญะได้บรรลุพระโสดาบันและขออุปสมบทเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา ซึ่งทำให้มีพระรัตนตรัยครบสามประการ...

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาและพุทธประวัติ : ตรัสรู้

หลังจากทรงชนะมารพระพุทธองค์ทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ให้ปราศจากกิเลสจนบรรลุธรรม ทรงปฏิบัติธรรมด้วยจิตที่สงบ จนกระทั่งหมดกิเลสด้วยพระปัญญาบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ (อ่านว่า อะ-นุ-ตะ-ระ-สำ-มา-สำ-โพ-ทิ-ยาน) เป็นลำดับ ดังนี้ ยามต้น (ปฐมยาม) ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติ ยามกลาง (มัชฌิมยาม) ความรู้แจ้งถึงการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ตลอดถึงความแตกต่างที่เรียกว่า กรรม ยามสุดท้าย (ปัจฉิมยาม) ความรู้แจ้งในการกำจัดกิเลสให้สิ้นไป หลังจากนั้นพระองค์ทรงตรัสรู้ธรรมที่เรียกว่า อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ หมายถึง...

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาและพุทธประวัติ : ผจญมาร

พระสิทธัตถะทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่า ถ้ายังไม่ได้บรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่ลุกขึ้นจากที่ประทับ แม้ว่าเลือดจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตาม หลังจากนั้นจึงกำหนดจิตเจริญสมาธิ ก่อนที่จะตรัสรู้ พระองค์ทรงผจญกับหมู่มารจำนวนมากที่นำกองทัพมาล้อมพระองค์และแสดงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ เพื่อขัดขวางไม่ให้พระองค์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แต่พญามารก็ไม่สามารถขัดขวางพระองค์ได้ พระองค์ทรงประทับนั่งอย่างสงบนิ่ง แม่พระธรณีได้ปรากฏกายขึ้นมาจากปฐพี (อ่านว่า ปะ-ถะ-พี หมายถึง พื้นดิน)บีบน้ำจากมวยผมที่ชุ่มไปด้วยน้ำทักษิโณทก (น้ำที่พระพุทธเจ้าทรงกรวดทุกครั้งที่ทรงบำเพ็ญบุญบารมี) ให้ไหลท่วมหมู่มารจนหมดสิ้น...

About ครูออฟ 1199 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.