2.1.2 การทำงานขององค์ประกอบต่างๆในบอร์ด KidBright

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

การทำงานขององค์ประกอบต่างๆ ในบอร์ด KidBright ประกอบด้วย

  1. เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ ใช้วัดค่าอุณหภูมิที่อยู่รอบๆ บอร์ด KidBright
  2. จอแสดงผล LED ใช้แสดงผลตัวอักษร ข้อความ หรือ รูปภาพ
  3. เซนเซอร์วัดแสง ใช้วัดปริมาณแสงที่อยู่รอบ ๆ บอร์ด KidBright
  4. ช่องเสียบสายไมโครยูเอสบี ใช้เป็นช่องรับกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า และรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์
  5. ลำโพง เป็นแหล่งกำเนิดเสียงให้กับบอร์ด KidBright
  6. คอนเนกเตอร์ เป็นช่องทางในการเชื่อมต่อกับบอร์ดเสริมของ KidBright
  7. พอร์ตยูเอสบี ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าแบบยูเอสบี
  8. สวิตช์ 1 ใช้ควบคุมการทำงานของบอร์ด KidBright
  9. สวิตช์ 2 ใช้ควบคุมการทำงานของบอร์ด KidBright
  10. สวิตช์รีเซ็ต ใช้รีเซ็ตเพื่อเริ่มต้นการทำงานใหม่ของบอร์ด
  11. ช่องสัญญาณอินพุต 1-4 ใช้รับค่าสัญญาณอินพุตแบบดิจิทัลจากอุปกรณ์ภายนอกที่มาเชื่อมต่อ
  12. ช่อสัญญาณเอาต์พุต 1-2 ใช้ส่งค่าเอาต์พุตแบบดิจิทัลจากบอร์ด KidBright ไปยังอุปกรณ์ภายนอกที่มาเชื่อมต่อ
  13. นาฬิกาเรียลไทม์ ใช้เป็นอุปกรณ์บอกเวลาของบอร์ด KidBright ถ้าใส่แบตเตอรี่จะทำให้นาฬิกาเรียลไทม์เดินได้ตรงเวลา แม้ไม่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับบอร์ด KidBright
  14. รางใส่แบตเตอรี่ ใส่แบตเตอรี่สำหรับเป็นแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับนาฬิกาเรียลไทม์
  15. ส่วนควบคุมการทำงานของบอร์ด KidBright บอร์ด KidBright ถูกควบคุมการทำงานโดยไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ซึ่งมีฟังก์ชันการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน Wifi และ Bluetooth

นักเรียนคิดว่า องค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่บนบอร์ด KidBright ทำหน้าที่อย่างไรบ้าง?

บอร์ด KidBright รองรับการทำงานแบบ E-vent-Driven Programming และ Multitasking Programing ซึ่ง E-vent-Driven Programming คือ วิธีการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ลำดับการทำงานของโปรแกรมกำหนดโดยเหตุการณ์ เช่น ทำงานเมื่อผู้ใช้กดปุ่ม และ E-vent-Driven Programming คือ วิธีการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ทำงานแบบขนาน ทำให้สามารถทำงานได้มากกว่าหนึ่งงาน โดยไม่ต้องรอให้งานใดงานหนึ่งเสร็จก่อน

โดยสรุป การทำงานขององค์ประกอบต่าง ๆ ในบอร์ด KidBright ทำให้บอร์ด KidBright เป็น บอร์ดสมองกลฝังตัวที่อัจฉริยะ ที่สามารถนำไปพัฒนา สร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมต่าง ๆ ได้มากมาย โดยบอร์ดถูกออกแบบให้มีจอแสดงผล และเซนเซอร์แบบง่าย และยังรองรับการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (Internet of Things) สามารถใช้เป็นระบบควบคุมขนาดจิ๋วที่มีประสิทธิภาพได้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความหมายและประเภทของเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมายและประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยี เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ระบบเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบเทคโนโลยี เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ วัสดุและเครื่องมือ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุและเครื่องมือต่างๆ กระบวนการทางเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคโนโลยีต่างๆ เข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี หลักการออกแบบ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบที่สำคัญ...

About ครูออฟ 1263 Articles
https://www.kruaof.com