ธาตุ คืออะไร

ธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบ
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

ธาตุ (Element) หมายถึง สารบริสุทธิ์เนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบอะตอมของธาตุเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ธาตุไม่สามารถ จะนำมาแยกสลาย ให้กลายเป็นสารอื่นโดยวิธีการทางเคมี แต่อาจแยกออกโดยวิธีนิวเคลียร์ สารซึ่งประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกัน มีธาตุที่ค้นพบแล้ว 109 ธาตุเป็นธาตุที่อยู่ในธรรมชาติ 89 ธาตุ นอกจากนี้เป็นธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น มีธาตุบางชนิด ที่ไม่ค่อยจะทำปฏิกิริยา เช่นทองคำที่เกิดจากธาตุบริสุทธิ์ แต่ธาตุส่วนมากมักเกิดกับรูปสารประกอบกับธาตุอื่น ๆ

ธาตุ

ธาตุมีคุณสมบัติดังนี้

  1. ประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียว
  2. แยกออกโดยวิธีเคมีไม่ได้
  3. อาจแยกออกโดยวิธีนิวเคลียร์
  4. เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์

การแบ่งสาร

การแบ่งสารตามองค์ประกอบทางเคมี แบ่งได้ดังนี้

ธาตุ (Element) หมายถึง สารบริสุทธิ์เนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบอย่างเดียว ไม่สามารถจะนำมาแยกสลายให้กลายเป็นสารอื่นโดยวิธีการทางเคมี ธาตุมี 3 สถานะ ครอบคลุม (1) ของแข็ง (2) ของเหลว และ (3) ก๊าซ โดย

1. ธาตุที่เป็นของแข็ง เช่น ธาตุสังกะสี (Zn), ตะกั่ว (Pb), เงิน (Ag) และดีบุก (Sn)
2. ธาตุเป็นของเหลว เช่น ปรอท (Hg)
3. ธาตุที่เป็นก๊าซ เช่น ไนโตรเจน (N2), ฮีเลียม (He), ออกซิเจน (O2), ไฮโดรเจน (H2) เป็นต้น

ทั้งนี้ธาตุยังแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ครอบคลุม (1) โลหะ (2) อโลหะ และ (3) กึ่งโลหะ

  1. ธาตุโลหะ (metal) จะเป็นธาตุที่มีสถานะเป็นของแข็ง (ยกเว้นปรอทที่เป็นของเหลว) มีผิวที่มันวาว นำความร้อน และไฟฟ้าได้ดี มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง (ช่วงอุณหภูมิระหว่างจุดหลอมเหลวกับจุดเดือดจะต่างกันมาก) ได้แก่ โซเดียม (Na), เหล็ก (Fe), แคลเซียม (Ca), ปรอท (Hg), อะลูมิเนียม (Al), แมกนีเซียม (Mg), สังกะสี (Zn), ดีบุก(Sn) ฯลฯ
  2. ธาตุอโลหะ (non-metal) มีได้ทั้งสามสถานะ สมบัติส่วนใหญ่จะตรงข้ามกับอโลหะ เช่น ผิวไม่มันวาว ไม่นำไฟฟ้า ไม่นำความร้อน จุดเดือด และจุดหลอมเหลวต่ำ ได้แก่ คาร์บอน ( C ), ฟอสฟอรัส (P), กำมะถัน (S), โบรมีน (Br), ออกซิเจน (O2), ไฮโดรเจน (H2), คลอรีน (Cl2), ฟลูออรีน (F2) เป็นต้น
  3. ธาตุกึ่งโลหะ (metalloid) คือ ธาตุที่มีสมบัติ กึ่งโลหะ และอโลหะ เช่น ธาตุซิลิคอน มีลักษณะคล้าย ของแข็งมีสีเงินวาว แต่เปราะง่ายคล้ายธาตุอโลหะ มีจุดเดือดสูงถึง 3,265 องศาเซลเซียส และนำไฟฟ้าได้เล็กน้อย ได้แก่ โบรอน (B), ซิลิคอน ( Si), เป็นต้น
โลหะอโลหะ
ทองคำ
เงิน
เหล็ก
ปรอท
ตะกั่ว
สังกะสี
อะลูมิเนียม
โซเดียม
แมกนีเซียม
(ของแข็ง)
(ของแข็ง)
(ของแข็ง)
(ของเหลว)
(ของแข็ง)
(ของแข็ง)
(ของแข็ง)
(ของแข็ง)
(ของแข็ง)
ไฮโดรเจน
ไนโตรเจน
ออกซิเจน
คลอรีน
โบรมีน
ไอโอดีน
กำมะถัน
อาร์กอน
คาร์บอน
(ก๊าซ)
(ก๊าซ)
(ก๊าซ)
(ก๊าซ)
(ของเหลว)
(ของแข็ง)
(ของแข็ง)
(ก๊าซ)
(ของแข็ง)
ตารางที่ 1 ตัวอย่างของธาตุโลหะและอโลหะที่เราพอรู้จักกันดี

ตารางธาตุ (Periodic table of elements) คือ ตารางที่นักวิทยาศาสตร์ได้รวบรวมธาตุต่าง ๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ตามลักษณะ และคุณสมบัติที่เหมือนกัน เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษา ในแต่ละส่วนของตารางธาตุ โดยคาบ (Period) เป็นการจัดแถวของธาตุแนวราบ ส่วนหมู่ (Group) เป็นการจัดแถวของธาตุในแนวดิ่ง ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ตารางธาตุ ที่มา https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/33817

จากตารางธาตุ ตัวเลขแถวบน 1-18 บอก หมู่ของธาตุ (group)

จากตารางธาตุ ตัวเลขทางซ้าย 1-7 บอก คาบของธาตุ (period) โดย

– คาบที่ 1 มี 2 ธาตุ
– คาบที่ 2 มี 8 ธาตุ
– คาบที่ 3 มี 8 ธาตุ
– คาบที่ 4 มี 18 ธาตุ
– คาบที่ 5 มี 18 ธาตุ
– คาบที่ 6 มีส่วนที่แทรกอยู่ระหว่างหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 4
– คาบที่ 7 มีส่วนที่แทรกอยู่ระหว่างหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 4

ธาตุที่อยู่ในหมู่เดียวกันมีสมบัติทางเคมีคล้ายคลึงกัน เพราะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน

ธาตุที่อยู่ในคาบเดียวกันมีจำนวนระดับพลังงานเท่ากันและเท่ากับเลขที่ของคาบ

ธาตุหมู่ 1A และ 2A มีสมบัติเป็นโลหะ

ธาตุหมู่ 7A เรียกว่าหมู่ฮาโลเจน ธาตุหมู่ 8A เรียกว่าแก๊สเฉื่อย ทั้งหมู่ 7A และหมู่ 8A มีสมบัติเป็นอโลหะ

ชื่อธาตุชื่อในภาษาอังกฤษชื่อในภาษาละตินสัญลักษณ์
เหล็ก
ตะกั่ว
ทองแดง
เงิน
ดีบุก
ปรอท
อลูมิเนียม
ทองคำ
สังกะสี
พลวง
สารหนู
แมงกานีส
โซเดียม
โพแทสเซียม
แคลเซียม
คาร์บอน
ไนโตรเจน
ออกซิเจน
ไฮโดเจน
คลอรีน
กำมะถัน
ฟอสฟอรัส
ไอโอดีน
Lron
Lead
Copper
Silver
Tin
Mercury
Aluminium
Gold
Zinc
Antimony
Aresnic
Manganesw
Sodium
Potassium
Calcium
Carbon
Nitrogen
Oxygen
Hydrogen
Chlorine
Sulphur
Phosphorus
Iodine
Ferrum
Plumbum
Cuprum
Argentum
Stannum
Hydragyrum

Aurum




Natrium
Kalium








Fe
Pb
Cu
Ag
Sn
Hg
Al
Au
Zn
Sb
As
Mn
Na
K
Ca
C
N
O
H
Cl
S
P
I
ตารางแสดงที่ 2 ชื่อธาตุและสัญลักษณ์ของธาตุบางชนิด

การที่เราจำแนกธาตุทั้งหลายออกเป็นโลหะกับอโลหะ ก็เนื่องจากธาตุต่าง ๆ แม้จะมีสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกัน แต่ก็มีสมบัติบางประการเหมือนกันหรือคล้ายกัน พอจะแยกออกได้เป็น 2 พวก คือ (1) โลหะกับ (2) อโลหะ

สมบัติโลหะอโลหะ
1. สถานะเป็นของแข็งในสภาวะปกติ ยกเว้นปรอทซึ่งเป็นของเหลว ไม่มีโลหะที่เป็นแก๊สในภาวะปกติมีอยู่ได้ทั้ง 3 สถานะ ธาตุที่เป็นแก๊สในภาวะปกติเป็น อโลหะทั้งสิ้น อโลหะที่เป็นของเหลว คือ โบรมีน ที่เป็นของแข็งได้แก่ คาร์บอน กำมะถัน ฟอสฟอรัส ฯลฯ
2. ความมันวาวมีวาวโลหะ ขัดขึ้นเงาได้ส่วนมากไม่มีวาวโลหะ ยกเว้น แกรไฟต์ (ผลึกคาร์บอน) เกล็ด ไอโอดีน (ผลึกไอโอดีน)
3. การนำไฟฟ้า และ        นำความร้อนนำไฟฟ้า และนำความร้อนได้ดี เช่น สาย ๆ ไฟฟ้ามักทำด้วยทองแดงนำไฟฟ้าและนำความร้อนไม่ได้ยกเว้นแกรไฟต์ นำไฟฟ้าได้ดี
4. ความเหนียวส่วนมากเหนียว ดึงยืดเป็นเส้นลวดหรือตีเป็นแผ่นบาง ๆ ได้อโลหะที่เป็นของแข็ง มีเปราะดึกยืดออกเป็นเส้นลวดหรือตีเป็น แผ่นบาง ๆ ไม่ได้
5. ความหนาแน่น หรือ ถ.พ.ส่วนมากมีความหนาแน่น หรือ ถ.พ.สูงมีความหนาแน่น หรือ ถ.พ.ต่ำ
6. จุดเดือดและจุดหลอมเหลวส่วนมากสูงเช่น เหล็ก มีจุดหลอดเหลว 1,536  0C  ยกเว้นปรอท ซึ่งมีจุดหลอดเหลวต่ำเพียง –39 0Cส่วนมากต่ำโดยเฉพาะพวก อโลหะที่เป็นแก๊ส เช่น ออกซิเจน มีจุดเดือด – 183 0C จุดเยือกแข็ง (จุดหลอดเหลว)-219 0C กำมะถันมีจุดหลอดเหลว  1130C จุดเดือด  444  0C      เป็นต้น
7. การเกิดเสียงเมื่อเคาะมีเสียงดังกังวานไม่มีเสียงดังกังวาน
ตางรางที่ 3 แสดงสมบัติธาตุโลหะและ อโลหะ
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ความหมายและประเภทของเงิน

ความหมายของเงิน: เงินเป็นสิ่งที่มีค่าใช้และมีความสำคัญในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ มันเป็นสัญลักษณ์ของมูลค่าที่ใช้ในการซื้อขายหรือการแลกเปลี่ยนในชุมชนหรือระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้เงินยังมีคุณสมบัติเป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรหรือการลงทุน มันสามารถเป็นอาหารสำหรับการค้าหรือก็เป็นหนี้ที่จะชำระในอนาคต ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ: เป็นเงินที่มีรูปร่างและมีค่าตามตัว เหรียญสามารถใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น เหรียญเงินทอง และเหรียญเงินแสน เงินแบงก์โนตัส: เป็นเงินที่ถูกเก็บรักษาโดยธนาคารหรือองค์กรการเงิน มีรูปแบบเป็นเช็ค บัตรเครดิต และเงินฝากในบัญชีธนาคาร เงินแบงก์โนตัสมักถูกใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงิน การชำระเงิน และการออมเงิน ทั้งเงินเหรียญและเงินแบงก์โนตัสมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการแลกเปลี่ยนในโลกปัจจุบัน การเข้าใจและการจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบริหารจัดการการเงินของบุคคลและองค์กรทางธุรกิจในทุกๆ ระดับ...

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

เกมกระดานกับการเรียนรู้เชิงวิทยาการคำนวณ

เกมกระดานกับการเรียนรู้เชิงวิทยาการคำนวณ เกมกระดาน เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการเรียนรู้เชิงวิทยาการคำนวณ วิทยาการคำนวณ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิธีคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และออกแบบโดยใช้ตรรกะ การใช้เกมกระดาน ในการเรียนรู้เชิงวิทยาการคำนวณ มีประโยชน์ดังนี้ ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์: เกมกระดานหลายเกม ผู้เล่นต้องวิเคราะห์สถานการณ์ วางแผน และตัดสินใจ ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา: เกมกระดานหลายเกม ผู้เล่นต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรค ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ฝึกการคิดอย่างมีตรรกะ: เกมกระดานหลายเกม ผู้เล่นต้องใช้ตรรกะในการเล่น ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีตรรกะ ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์: เกมกระดานหลายเกม...

ความประสบผลสำเร็จของการอ่านหนังสือ

การอ่านหนังสือเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าและสามารถช่วยให้คุณพัฒนาตัวเองได้ในหลายๆ ด้าน คนที่มีนิสัยรักการอ่านมักจะมีคุณสมบัติที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จในชีวิต เช่น: 1. มีความมุ่งมั่นและสามารถโฟกัสได้ดี - คนที่ประสบความสำเร็จมักจะมีความสามารถในการมุ่งเน้นไปที่งานหนึ่งๆ เป็นระยะเวลานาน 2. กำหนดเป้าหมาย - การมีเป้าหมายชัดเจนเมื่ออ่านหนังสือช่วยให้พวกเขาสามารถบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้ 3. ใช้เวลาอย่างชาญฉลาด - คนที่ประสบความสำเร็จมองเห็นคุณค่าของเวลาและใช้มันอย่างมีประสิทธิภาพ 4. มีมุมมองที่หลากหลาย - การอ่านหนังสือหลากหลายประเภทช่วยเพิ่มมุมมองและความเข้าใจในปัญหาต่างๆ 5. ทบทวนและสะท้อน - การทบทวนสิ่งที่อ่านช่วยให้พวกเขาสามารถสร้างมุมมองใหม่ๆ และเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การอ่านยังช่วยพัฒนาทักษะการเขียนและการจดจำ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการประสบความสำเร็จในหลายๆ...

About ครูออฟ 1240 Articles
https://www.kruaof.com