ประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ

กลไกของสิ่งมีชีวิต
กลไกของสิ่งมีชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

 การนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และโดยเฉพาะทางด้านการแพทย์ใช้ประโยชน์มากที่สุดในการผลิตยาชนิดใหม่ และวิธีการรักษาพยาบาลแบบใหม่ ดังต่อไปนี้

1. ด้านเกษตรกรรม มีดังนี้

  • การผสมเทียมและการถ่ายฝากตัวอ่อน กรมปศุสัตว์ได้ปรับปรุงพันธุ์โคนมด้วยเทคโนโลยีชีวภาพการผสมเทียม และการถ่ายฝากตัวอ่อน ทำให้ลดการนำเข้าพันธุ์โคจากต่างประเทศได้ และได้ปรับปรุงพันธุ์ด้วยการผลิตโคลูกผสม โคเนื้อ และ โคนม 3 สายเลือด
ภาพที่ 23 การปรับปรุงพันธุ์ให้ได้โคนม 3 สายเลือด
ที่มา: หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 87
  •  การปรับปรุงพันธุ์ ได้มีการสร้างสุกรสายพันธุ์ใหม่ให้มีลักษณะดี และเจริญเติบโตเร็ว ด้วยการปรับปรุงสายพันธุ์ เป็นสุกรลูกผสม เช่น สุกรสายพันธุ์ปากช่อง B เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ลาร์จไวท์กับพันธุ์เปียแตรง
  • การเพิ่มผลผลิตของสัตว์ ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาช่วยเพิ่มผลผลิตของสัตว์ในการเร่งความเจริญเติบโต การเพิ่มปริมาณ และการป้องกันรักษาโรคในสัตว์ ดังต่อไปนี้
    • การใช้วัคซีนเร่งความสมบูรณ์และการเจริญเติบโตของกระบือ เมื่อใช้ฮอร์โมน เร่งอัตราการเจริญเติบโต ช่วยให้กระบือเพศเมีย ตกลูกตั้งแต่อายุยังน้อยและตกลูกได้มาก การเร่งการเจริญเติบโตของโคเพศผู้ช่วยเพิ่มผลผลิตของเนื้อโค
    • การใช้ฮอร์โมน เมื่อต้องการกระตุ้นวัวพื้นเมืองเพศเมีย ให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้น้ำนม จากแม่วัวเร็วกว่า การเจริญเติบโตตามปกติ

2. ด้านอุสาหกรรม มีดังนี้

  • พันธุวิศวกรรม เป็นการตัดต่อสายพันธุกรรม ที่มีลักษณะดีตามที่ต้องการ และคัดเลือกมาแล้ว เพื่อการปรับปรุงสิ่งมีชีวิต สายพันธุ์ใหม่ เพื่อเพิ่มผลผลิต  ยารักษาโรค วัคซีน ยาต่อต้านเนื้องอก น้ำยาสำหรับตรวจวินิจฉัยโรค และฮอร์โมนเร่ง การเจริญเติบโตของสัตว์
  • การถ่ายฝากตัวอ่อน เป็นการเพิ่มปริมาณและพัฒนาคุณภาพของโคเนื้อและโคนม เพื่อนำมาใช้ในอุสาหกรรม การผลิตนมโคและเนื้อโค เพื่อแปรรูปเป็นนมผง และอาหารกระป๋อง
  • การผสมเทียมสัตว์น้ำและสัตว์บก การผสมเทียมปลาเพื่อเพิ่มปริมาณ และพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรม อาหารกระป๋อง และอาหารแปรรูปต่อไป

3. ด้านอาหาร 

ปัจจุบันมีอาหารที่เป็นผลผลิตจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมมาใช้ ดังนั้น จึงมีผู้เสนอให้ติดฉลาดกว่าเป็นอาหาร GMOs ให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกรับประทานเอง เช่น
        – ข้าวที่มียีนต้านทานแมลง
        – มะเขือเทศซึ่งมียีนที่ทำให้ยืดอายุการเก็บได้นานขึ้น
        – ถั่วเหลืองที่มียีนต้านสารปราบวัชพืช
        – ข้าวโพดที่มียีนต้านทานแมลง
นอกจากที่ได้มีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผลผลิตจากสัตว์ เช่น เนย  นมเปรี้ยว โยเกิร์ต

4. ด้านการแพทย์ 

ในด้านการแพทย์จะใช้เทคโนโลยีชีวภาพด้านพันธุวิศวกรรมเป็นส่วนใหญ่ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • การตรวจวินิจฉัยโรคที่มียีนเป็นพาหะ เพื่อตรวจสอบโรคทาลัสซีเมีย โรคปัญญาอ่อน โรคโลหิตจาง และโรคมะเร็ง
  • การตรวจสอบความเป็นพ่อ แม่ ลูก จากลายพิมพ์ของยีน หรือที่เรียกว่าการตรวจ DNA เพื่อหาตัวผู้กระทำความคิด
  • การใช้ยีนบำบัดโรค เช่น การรักษาผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง การรักษาโรคการทำงานผิดปกติของไขกระดูก
  • การค้นหายีนควบคุมการสร้างภูมิคุ้มกัน ยีนควบคุมความอ้วน และยีนควบคุมความชรา
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ความหมายและประเภทของเงิน

ความหมายของเงิน: เงินเป็นสิ่งที่มีค่าใช้และมีความสำคัญในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ มันเป็นสัญลักษณ์ของมูลค่าที่ใช้ในการซื้อขายหรือการแลกเปลี่ยนในชุมชนหรือระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้เงินยังมีคุณสมบัติเป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรหรือการลงทุน มันสามารถเป็นอาหารสำหรับการค้าหรือก็เป็นหนี้ที่จะชำระในอนาคต ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ: เป็นเงินที่มีรูปร่างและมีค่าตามตัว เหรียญสามารถใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น เหรียญเงินทอง และเหรียญเงินแสน เงินแบงก์โนตัส: เป็นเงินที่ถูกเก็บรักษาโดยธนาคารหรือองค์กรการเงิน มีรูปแบบเป็นเช็ค บัตรเครดิต และเงินฝากในบัญชีธนาคาร เงินแบงก์โนตัสมักถูกใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงิน การชำระเงิน และการออมเงิน ทั้งเงินเหรียญและเงินแบงก์โนตัสมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการแลกเปลี่ยนในโลกปัจจุบัน การเข้าใจและการจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบริหารจัดการการเงินของบุคคลและองค์กรทางธุรกิจในทุกๆ ระดับ...

หมูกะทะ : อิ่มอร่อย ครบ 5 หมู่

หมูกะทะ : อิ่มอร่อย ครบ 5 หมู่ หมูกะทะ อาหารยอดฮิตทานกันได้ทุกเพศทุกวัย อร่อย สนุก แถมยังได้สารอาหารครบ 5 หมู่ 1. โปรตีน: เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น หมู เนื้อวัว ไก่ ซีฟู้ด ล้วนอุดมไปด้วยโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยซ่อมแซมและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ไข่ไก่...

โรคเบาหวานย่อมมาพร้อมกับโรคไขมันจริงหรือไหม

โรคเบาหวานย่อมมาพร้อมกับโรคไขมันจริงหรือไหม ความสัมพันธ์ระหว่างโรคเบาหวานและโรคไขมัน โรคเบาหวานและโรคไขมันมักพบร่วมกันบ่อยครั้ง แต่ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอไป โรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคไขมัน เนื่องจากเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะไม่สามารถใช้น้ำตาลเป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องใช้ไขมันแทน ส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น การควบคุมและป้องกันโรคไขมันในผู้ป่วยเบาหวาน ถึงแม้โรคเบาหวานจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมัน แต่ถ้าผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและน้ำหนักได้ดี ก็สามารถป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูงได้ การดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี จึงมีความสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อไม่ให้โรคเบาหวานนำไปสู่การเกิดโรคไขมัน ดังนั้น โรคเบาหวานจึงไม่จำเป็นต้องมาพร้อมกับโรคไขมันเสมอไป แต่เป็นเพียงปัจจัยเสี่ยงสำคัญเท่านั้น ถ้าผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมโรคได้ดี ก็สามารถป้องกันโรคไขมันได้...

วิธีการสร้างบทเรียนที่น่าสนใจ

วิธีการสร้างบทเรียนที่น่าสนใจ ดึงดูดผู้เรียน กระตุ้นการมีส่วนร่วม นำไปสู่ผลการเรียนรู้ที่ดี 1. เริ่มต้นบทเรียนด้วยกิจกรรมสุดปัง! กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น สร้างความประทับใจ ดึงดูดความสนใจ เล่าเรื่อง เล่นเกม แสดง สาธิต ทดลอง หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา 2. นำเสนอเนื้อหาแบบจัดเต็ม! หลากหลายวิธี ไม่ใช่แค่บรรยาย! สื่อการสอนดึงดูดใจ เข้าใจง่าย สอดคล้องเนื้อหา อภิปรายกลุ่ม ทำงานกลุ่ม ฐานการเรียนจำลอง เทคโนโลยี ฯลฯ 3....

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

About ครูออฟ 1243 Articles
https://www.kruaof.com