พันธุวิศวกรรม

กลไกของสิ่งมีชีวิต
กลไกของสิ่งมีชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

ในอดีตการปรับปรุงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ให้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ทำโดยการใช้ความรู้ด้านพันธุศาสตร์ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาจเป็นการนำพันธุ์ดีจากต่างประเทศ เข้ามาเลี้ยง หรือผสมกับพันธุ์พื้นเมืองการคัดเลือกพันธุ์ เพื่อหาสายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะดีตามความต้องการ หรือการสร้างพันธุ์ใหม่โดยการชักนำให้เกิดมิวเทชันขึ้นมาก็ได้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้อาศัยหลักพื้นฐาน ของการรวมกลุ่มและการแลกเปลี่ยน ยีนอย่างอิสระ ที่เกิดขึ้นเสมอในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไป

ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ ได้ค้นพบและพัฒนาเทคนิคใหม ่ที่สามารถควบคุมการแสดงออกทางพันธุกรรม บางประการของสิ่งมีชีวิตอย่างได้ผล โดยการนำยีน ที่ควบคุมลักษณะพันธุกรรม ที่ต้องการของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปใส่ให้ กับสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เพื่อให้แสดงลักษณะทางพันธุกรรมที่ต้องการออกมาได้ เรียก กระบวนการตัดต่อยีน ในสิ่งมีชีวิตนี้ว่า พันธุวิศวกรรม (genetic engineering)

ขั้นตอนการตัดต่อยีน

พันธุวิศวกรรมเป็นวิทยาการทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology)  ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางด้านเกษตร และการแพทย์ในอนาคต เทคนิคการทำพันธุวิศวกรรม เป็นการตัดยีนที่ควบคุมลักษณะพันธุกรรม ที่ต้องการจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ไปสอดใส่หรือต่อเข้ากับโมเลกุล ของดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ทำให้ดีเอ็นเอทีเกิดในสิ่งมีชีวิตชนิดหลังนี้ ประกอบด้วยดีเอ็นเอที่ควบคุม ลักษณะพันธุกรรมที่ต้องการ ซึ่งมีรายละเอียดและขั้นตอน ที่นักเรียนจะได้ศึกษาเพิ่มเติมในขั้นสูงต่อไป

ประโยชน์ของพันธุวิศวกรรม

พันธุวิศวกรรมมีประโยชน์อยู่ 3 ด้านครอบคลุม (1) ด้านอุตสาหกรรม (2) ด้านเกษตรกรรม และ (3) ด้านการแพทย์
1. ด้านอุตสาหกรรม ให้ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) เพื่อนำไปใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานผลิตฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (growth hormone) เพื่อบำบัดอาการของมนุษย์ที่เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ผลิตวัคซีน แอนติบอดี ยาปฏิชีวนะ เอนไซม์ วิตามิน และสารประเภทอื่น ๆ ที่ยังผลต่ออุสาหกรรมแปรรูปอาหารอีกมากมาย
2. ด้านการเกษตรกรรม ใช้ผลิตจุลินทรีย์ที่ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อพืชและสัตว์ ผลิตอาหารเสริมสำหรับสัตว์ ผลิตสารอาหารที่ช่วยป้องกันแมลงหรือโรคต่าง ๆ ใช้การทำพันธุวิศวกรรมของพืชเพื่อสร้างพืชต้นใหม่ที่สามารถแสดงลักษณะของยีนที่ใส่เข้าไปตามความต้องการ เช่น ให้ต้านทานโรคบางชนิด ให้ผลติสารพิษทำลายหนอนของแมลงศัตรูพืช ให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่แปรปรวน เช่น ทนเค็ม ทนเปรี้ยว
3. ด้านการแพทย์ พันธุวิศวกรรมด้านนี้ ได้แก่ การบำบัดรักษาโรคบางชนิดด้วยยีนบำบัด แต่มีข้อจำกัดหลายประการยังคงต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป

ปัจจุบันประเทศไทยประสบความสำเร็จในการเพิ่มผลผลิตของพืชและผลผลิตของสัตว์ในระดับหนึ่งแล้ว โดยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร ถ้าในอนาคตประเทศไทยสามารถพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้ทันสมัยมากขึ้น ก็จะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เพียงพอที่จะใช้อุปโภคบริโภคภายในประเทศและส่งขายยังต่างประเทศได้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ความหมายและประเภทของเงิน

ความหมายของเงิน: เงินเป็นสิ่งที่มีค่าใช้และมีความสำคัญในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ มันเป็นสัญลักษณ์ของมูลค่าที่ใช้ในการซื้อขายหรือการแลกเปลี่ยนในชุมชนหรือระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้เงินยังมีคุณสมบัติเป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรหรือการลงทุน มันสามารถเป็นอาหารสำหรับการค้าหรือก็เป็นหนี้ที่จะชำระในอนาคต ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ: เป็นเงินที่มีรูปร่างและมีค่าตามตัว เหรียญสามารถใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น เหรียญเงินทอง และเหรียญเงินแสน เงินแบงก์โนตัส: เป็นเงินที่ถูกเก็บรักษาโดยธนาคารหรือองค์กรการเงิน มีรูปแบบเป็นเช็ค บัตรเครดิต และเงินฝากในบัญชีธนาคาร เงินแบงก์โนตัสมักถูกใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงิน การชำระเงิน และการออมเงิน ทั้งเงินเหรียญและเงินแบงก์โนตัสมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการแลกเปลี่ยนในโลกปัจจุบัน การเข้าใจและการจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบริหารจัดการการเงินของบุคคลและองค์กรทางธุรกิจในทุกๆ ระดับ...

หมูกะทะ : อิ่มอร่อย ครบ 5 หมู่

หมูกะทะ : อิ่มอร่อย ครบ 5 หมู่ หมูกะทะ อาหารยอดฮิตทานกันได้ทุกเพศทุกวัย อร่อย สนุก แถมยังได้สารอาหารครบ 5 หมู่ 1. โปรตีน: เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น หมู เนื้อวัว ไก่ ซีฟู้ด ล้วนอุดมไปด้วยโปรตีนที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยซ่อมแซมและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ไข่ไก่...

โรคเบาหวานย่อมมาพร้อมกับโรคไขมันจริงหรือไหม

โรคเบาหวานย่อมมาพร้อมกับโรคไขมันจริงหรือไหม ความสัมพันธ์ระหว่างโรคเบาหวานและโรคไขมัน โรคเบาหวานและโรคไขมันมักพบร่วมกันบ่อยครั้ง แต่ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอไป โรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคไขมัน เนื่องจากเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะไม่สามารถใช้น้ำตาลเป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องใช้ไขมันแทน ส่งผลให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น การควบคุมและป้องกันโรคไขมันในผู้ป่วยเบาหวาน ถึงแม้โรคเบาหวานจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมัน แต่ถ้าผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลและน้ำหนักได้ดี ก็สามารถป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูงได้ การดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี จึงมีความสำคัญมากสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อไม่ให้โรคเบาหวานนำไปสู่การเกิดโรคไขมัน ดังนั้น โรคเบาหวานจึงไม่จำเป็นต้องมาพร้อมกับโรคไขมันเสมอไป แต่เป็นเพียงปัจจัยเสี่ยงสำคัญเท่านั้น ถ้าผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมโรคได้ดี ก็สามารถป้องกันโรคไขมันได้...

วิธีการสร้างบทเรียนที่น่าสนใจ

วิธีการสร้างบทเรียนที่น่าสนใจ ดึงดูดผู้เรียน กระตุ้นการมีส่วนร่วม นำไปสู่ผลการเรียนรู้ที่ดี 1. เริ่มต้นบทเรียนด้วยกิจกรรมสุดปัง! กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น สร้างความประทับใจ ดึงดูดความสนใจ เล่าเรื่อง เล่นเกม แสดง สาธิต ทดลอง หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา 2. นำเสนอเนื้อหาแบบจัดเต็ม! หลากหลายวิธี ไม่ใช่แค่บรรยาย! สื่อการสอนดึงดูดใจ เข้าใจง่าย สอดคล้องเนื้อหา อภิปรายกลุ่ม ทำงานกลุ่ม ฐานการเรียนจำลอง เทคโนโลยี ฯลฯ 3....

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

About ครูออฟ 1243 Articles
https://www.kruaof.com