“ความเครียด-กังวล-ทำงานไม่มีความสุข” ปัญหาใหญ่คนทำงาน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า โปรแกรมสติในองค์กร (Mindfulness in Organization : MIO) ภายใต้แนวคิด Happy Workplace มุ่งส่งเสริมให้มีความสุข ในการทำงาน ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ลดความเครียด ความวิตกกังวล สู่สังคมที่ร่วมสร้างองค์กรแห่งความสุข จะเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ช่วยให้คนทำงานมีสุขภาวะการทำงานที่ดีและมีความสุขมากขึ้น

โดยข้อมูลสายด่วนสุขภาพจิต 1323 เมื่อเดือน ม.ค. 2566 พบวัยแรงงานอายุ 20-59 ปี ขอรับบริการเรื่องความเครียด วิตกกังวล ไม่มีความสุขในการทำงาน สูงอันดับ 1 กว่า 5,989 สาย จากทั้งหมด 8,009 สาย สะท้อนความต้องการวิธีจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต กลุ่มแรงงานจึงต้องได้รับการดูแลสุขภาวะทุกมิติอย่างจริงจัง ที่ผ่านมา สสส.ร่วมกับ กรมสุขภาพจิต ผลักดันกฎหมายว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2548 กำหนดให้ตรวจสุขภาพประจำปี (การตรวจร่างกายและสภาวะจิตใจ) เป็นสวัสดิการที่กฎหมายกำหนด รวมถึงประเมินสุขภาพจิตในสถานประกอบการด้วยระบบ Mental Health Check in ปีละ 1 ครั้ง

ทั้งนี้โปรแกรม MIO ได้ถูกนำไปใช้ในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาแล้วกว่า 100 แห่ง ทั่วประเทศ ในจำนวนนี้ยกระดับเป็นองค์กรสุขภาวะต้นแบบที่เป็นแหล่งเรียนรู้ 25 แห่ง ต่อยอดเป็นนวัตกรรมหนังสือดิจิทัล “เลือก รับ ปรับ ใช้” รวมถึงงานวิจัยด้านประสิทธิผลของ MIO อีก 5 เรื่อง

ขณะที่ นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และที่ปรึกษาโครงการ MIO กล่าวว่า โปรแกรม MIO มีหลักการสำคัญ คือ การนำจิตวิทยาสติ (Mindfulness Psychology) สมาธิ/สติในแนวจิตวิทยาและศาสตร์สมอง (Neuro Science) มาใช้ภายในองค์กร จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจ และเน้นการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีจิตที่ปล่อยวาง เข้าอกเข้าใจ นำไปสู่การปฏิบัติต่อกันและกันด้วยความถ้อยทีถ้อยอาศัย เน้นการพัฒนาจากระดับบุคคลไปสู่ทีม และองค์กร เพื่อช่วยเสริมสร้าง “ความสุข” ให้แก่บุคลากร แบ่งหลักสูตรออกเป็น 3 กลุ่ม 1.หลักสูตรสำหรับผู้บริหาร 2.หลักสูตรสำหรับวิทยากร 3.หลักสูตรสำหรับบุคคลทั่วไป

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การบันทึกจราจรบนอินเตอร์เน็ต ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) และผู้ให้บริการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log) ไว้เป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปคือไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันที่ข้อมูลนั้นถูกสร้างขึ้น เพื่อตรวจสอบและติดตามการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ได้ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log) คือ ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น ที่อยู่ IP,...

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

About ครูออฟ 1264 Articles
https://www.kruaof.com