ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานมีความเชื่อว่า หากต้องการให้การเรียนรู้มีพลัง และฝังในตัวผู้เรียนได้ ต้องเป็นการเรียนรู้ที่เรียนโดยการลงมือทําเป็นโครงการ (Project) ร่วมมือกันทํา เป็นทีม และทํากับปัญหาที่มีอยู่ในชีวิตจริง โดยผู้เขียนได้ปรับปรุงขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ โครงงานเป็นฐานตามแนวคิดของ วิจารณ์ พาณิช (2555 : 71-75) ดังนี้

1. การกําหนดหัวข้อโครงงาน (Define) คือ ขั้นตอนการทําให้สมาชิกของทีมงาน รวมทั้งครูด้วยมีความชัดเจนรวมกันว่า คําถาม ปัญหา ประเด็น ความท้าทายของโครงการคืออะไร และ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อะไร

2. การวางแผนทําโครงงาน (Plan) คือ การวางแผนการทํางานในโครงการ ครูก็ต้อง วางแผน กําหนดทางหนีทีไล่ในการทําหน้าที่โค้ช รวมทั้งเตรียมเครื่องอํานวยความสะดวกในการทํา โครงการของนักเรียน และที่สําคัญ เตรียมคําถามไว้ถามทีมงานเพื่อกระตุ้นให้คิดถึงประเด็นสําคัญบาง ประเด็นที่นักเรียนมองข้าม โดยถือหลักว่า ครูต้องไม่เข้าไปช่วยเหลือจนทีมงานขาดโอกาสคิดเอง แก้ปัญหาเอง นักเรียนที่เป็นทีมงานก็ต้องวางแผนงานของตน แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ การประชุม พบปะระหว่างทีมงาน การแลกเปลี่ยนข้อค้นพบแลกเปลี่ยนคําถาม แลกเปลี่ยนวิธีการ ยิ่งทําความเข้าใจ ร่วมกันไว้ชัดเจนเพียงใด งานในขั้น Do ก็จะสะดวกเลื่อนไหลดีเพียงนั้น

3. การปฏิบัติตามแผนโครงงาน (Do) คือ การลงมือทํา มักจะพบปัญหาที่ไม่คาดคิด เสมอ นักเรียนจึงจะได้เรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหา การประสานงาน การทํางานร่วมกันเป็นทีม การจัดการความขัดแย้ง ทักษะในการทํางานภายใต้ทรัพยากรจํากัด ทักษะในการค้นหาความรู้เพิ่มเติม ทักษะในการทํางานในสภาพที่ทีมงานมีความแตกต่างหลากหลาย ทักษะการทํางานในสภาพกดดัน ทักษะในการบันทึกผลงาน ทักษะในการวิเคราะห์ผล และแลกเปลี่ยนข้อวิเคราะห์กับเพื่อนร่วมทีม เป็นต้น ในขั้นตอน Do นี้ นักเรียนจะได้มีโอกาสสังเกตทําความรู้จักและเข้าใจศิษย์เป็นรายคน และ เรียนรู้หรือฝึกทําหน้าที่เป็นโค้ชด้วย

4. การถอดบทเรียน (Review) คือ การที่นักเรียนจะทบทวนการเรียนรู้ ที่ไม่ใช่แค่ ทบทวนว่า โครงการได้ผลตามความมุ่งหมายหรือไม่ แต่จะต้องเน้นทบทวนว่างานหรือกิจกรรม หรือ พฤติกรรมแต่ละขั้นตอนได้ให้บทเรียนอะไรบ้าง เอาทั้งขั้นตอนที่เป็นความสําเร็จและความล้มเหลวมาทําความเข้าใจ และกําหนดวิธีทํางานใหม่ที่ถูกต้องเหมาะสมรวมทั้งเอาเหตุการณ์ระทึกใจ หรือเหตุการณ์ที่ภาคภูมิใจ ประทับใจ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ขั้นตอนนี้เป็นการเรียนรู้แบบทบทวนไตร่ตรอง (reflection) หรือในภาษา KM เรียกว่า AAR (After Action Review)

5. การนําเสนอผลงาน (Presentation) คือ การนําเสนอผลผลิต ผลการค้นพบ หรือผลการแก้ปัญหา เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือนําเสนอต่อสังคมระดับโรงเรียน หรือระดับชุมชน เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้นําไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เป็นขั้นตอนที่ให้การเรียนรู้ทักษะอีกชุดหนึ่ง ต่อเนื่องกับขั้นตอน Review เป็นขั้นตอนที่ทําให้เกิดการทบทวนขั้นตอนของงาน และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างเข็มข้น แล้วเอามานําเสนอในรูปแบบที่เร้าใจ ให้อารมณ์และให้ความรู้ (ปัญญา) ทีมงาน ของนักเรียนอาจสร้างนวัตกรรมในการนําเสนอก็ได้ โดยอาจเขียนเป็นรายงาน และนําเสนอเป็นการรายงานหน้าชั้น มีเพาเวอร์พอยท์ (PowerPoint) ประกอบ หรือจัดทําวีดิทัศน์นําเสนอ หรือนําเสนอเป็นละคร เป็นต้น

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ไขปัญหา: วิธีคิดวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ไขปัญหา บทนำ การใช้เหตุผลเชิงตรรกะเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่ช่วยให้เราสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในชีวิตประจำวันหรือในที่ทำงาน การมีเหตุผลเชิงตรรกะช่วยให้เรามองเห็นปัญหาในมุมที่ชัดเจน และสามารถหาทางแก้ไขได้อย่างตรงจุด ความหมายและพื้นฐานของเหตุผลเชิงตรรกะ ความหมายของเหตุผลเชิงตรรกะ เหตุผลเชิงตรรกะหมายถึงการใช้ความคิดอย่างมีระบบระเบียบเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ถูกต้อง โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์และปรัชญา ซึ่งช่วยให้เรามองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ และสามารถวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง หลักการพื้นฐานของเหตุผลเชิงตรรกะ หลักการพื้นฐานของเหตุผลเชิงตรรกะประกอบด้วย: ความชัดเจน (Clarity) ความถูกต้อง (Accuracy) ความสม่ำเสมอ (Consistency) การเป็นเหตุเป็นผล (Relevance) ความแตกต่างระหว่างเหตุผลเชิงตรรกะกับเหตุผลเชิงอารมณ์ เหตุผลเชิงตรรกะเน้นที่การใช้ความคิดและการวิเคราะห์อย่างมีระบบ ขณะที่เหตุผลเชิงอารมณ์เน้นที่ความรู้สึกและการตอบสนองทางอารมณ์ ประโยชน์ของการใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ไขปัญหา การปรับปรุงการตัดสินใจ การใช้เหตุผลเชิงตรรกะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลและมีความมั่นใจมากขึ้น ซึ่งลดความเสี่ยงในการตัดสินใจผิดพลาด การลดความขัดแย้ง การมีเหตุผลเชิงตรรกะช่วยให้เรามีความสามารถในการเจรจาและแก้ไขความขัดแย้งอย่างเป็นเหตุเป็นผล ทำให้สามารถหาทางออกที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ การเพิ่มประสิทธิภาพในที่ทำงาน ในที่ทำงาน การใช้เหตุผลเชิงตรรกะช่วยให้การทำงานเป็นระบบมากขึ้น ลดความผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ขั้นตอนในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ การระบุปัญหา ขั้นตอนแรกคือการระบุปัญหาอย่างชัดเจน โดยการตั้งคำถามเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา การรวบรวมข้อมูล รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา ทั้งข้อมูลที่เป็นจริงและข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมา เพื่อหาความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลต่างๆ การประเมินทางเลือก ประเมินทางเลือกที่มีอยู่ โดยพิจารณาข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือก การตัดสินใจและการดำเนินการ ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดและดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ตัวอย่างการใช้เหตุผลเชิงตรรกะในชีวิตประจำวัน การจัดการเวลา การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการจัดการเวลา...

การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อสื่อสารกับผู้ปกครองในระบบการศึกษา

การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อสื่อสารกับผู้ปกครองในระบบการศึกษาเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเครื่องมือเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง นี่คือการนำเสนอวิธีการและประโยชน์ของการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสื่อสารกับผู้ปกครอง: 1. แพลตฟอร์มการสื่อสารเฉพาะด้านการศึกษา เครื่องมืออย่าง ClassDojo, Seesaw, และ Edmodo เป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อการสื่อสารระหว่างครู ผู้ปกครอง และนักเรียนโดยเฉพาะ ผู้ปกครองสามารถติดตามความก้าวหน้าของบุตรหลาน และรับข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างรวดเร็วและสะดวก 2. อีเมลและจดหมายข่าวดิจิทัล การใช้อีเมลและจดหมายข่าวดิจิทัลเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับผู้ปกครอง ข้อดีของวิธีนี้คือสามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด นอกจากนี้ยังสามารถแนบไฟล์หรือเอกสารสำคัญเพิ่มเติมได้ 3. แอปพลิเคชันสำหรับการส่งข้อความ แอปพลิเคชันเช่น LINE, WhatsApp, และ...

ใช้หลัก SMART ในการกำหนดวัตถุประสงค์

หลัก SMART เป็นกรอบการทำงานที่ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักคือ Specific (เฉพาะเจาะจง), Measurable (วัดผลได้), Achievable (สามารถทำได้), Relevant (สอดคล้อง), และ Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) การใช้หลัก SMART ช่วยให้การวางแผนและการบรรลุเป้าหมายเป็นไปอย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น Specific...

วิธีการสร้างบทเรียน: ขั้นตอนและแนวทางเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างบทเรียน การสร้างบทเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือขั้นตอนและแนวทางในการสร้างบทเรียน: 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ว่าผู้เรียนควรจะได้อะไรจากบทเรียนนี้ ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ 2. วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน พิจารณาระดับความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เลือกเนื้อหาที่สำคัญและตรงตามวัตถุประสงค์ จัดโครงสร้างเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรื่องง่ายไปยาก วางแผนกิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น การอภิปราย กลุ่มงาน...

About ครูออฟ 1257 Articles
https://www.kruaof.com