การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เน้นศึกษาหาความจริงโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่บนฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เป็นค่าคะแนน หรือตัวเลขและอาศัยขั้นตอนที่มีระเบียบแบบแผน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรู้สภาพ เพื่อจําแนก เปรียบเทียบ เพื่อสังเคราะห์ และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ นําไปสู่การเขียนทฤษฎีทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เช่น ทฤษฎีด้านจิตวิทยา ทฤษฎีทางสังคมวิทยา ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น การวิจัยกลุ่มนี้เน้นการใช้วิธีการทางสถิติมาอธิบายหรือใช้ข้อมูลที่เป็นค่าคะแนน หรือตัวเลขที่สามารถวัดได้

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีจุดเด่นที่แตกต่างจากการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ได้ข้อสรุปจากคนจํานวนมากเน้นการสรุปอ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างไปยังประชากร (Generalization) มีความเป็นปรนัย ผลงานวิจัยมีความแกร่ง สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปร ได้ดีสามารถยืนยันหรือตรวจสอบความเป็นเหตุและผลของข้อสรุปจากการวิจัยให้เป็นแนวคิดทฤษฎีที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางได้ ความลําเอียงในการวิจัยได้รับการควบคุมโดยวิธีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลที่รัดกุม เน้นการนําเสนอข้อมูลที่เป็นค่าหรือตัวเลขที่วัดได้เพราะคนส่วนใหญ่ค่อนข้าง เข้าใจตรงกันในการนําเสนอผลการวิจัยด้วยตัวเลข และจําเป็นต้องใช้สถิติมาช่วยอธิบาย สําหรับข้อจํากัดของการวิจัยเชิงปริมาณ คือ รายงานเฉพาะค่าสถิติหรือตัวเลขตามสมมุติฐานเป็นหลักโดยไม่บรรยายรายละเอียดเพิ่มเติมอาจทําให้ข้อค้นพบที่สําคัญบางอย่างขาดหายไป และขาดสีสันของการรายงาน (Dry Result) ทําให้ผู้อ่านไม่อยากอ่าน มักละเลยข้อมูลแวดล้อมที่สําคัญและไม่ค่อยสนใจผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับปัญหาการวิจัยอื่นที่นอกเหนือจากกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ หากสร้างเครื่องมือวิจัยไม่ดี เช่น ข้อคําถามในแบบประเมินไม่ได้วัดในเรื่องเดียวกัน หรือไม่มีความเป็นเอกพันธ์ (Homogeneity) เป็นต้น จะส่งผลทําให้ได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับสิ่งที่มุ่งวัด และผลการวิจัยขาดความน่าเชื่อถือจนไม่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้และผลการวิจัยไม่ค่อยให้รายละเอียดในเชิงลุ่มลึก ประเด็นนี้เข้าข่ายรู้รอบ แต่ไม้ลึกซึ้ง (สุบิน ยุระรัช. 2559: 8-9)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การพัฒนาทักษะครูในยุคดิจิทัล

บทนำ ความหมายของการพัฒนาทักษะครูในยุคดิจิทัล การพัฒนาทักษะครูในยุคดิจิทัลหมายถึงการเสริมสร้างความสามารถและความรู้ของครูในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการสอนและการบริหารจัดการการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้เครื่องมือและแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนและการพัฒนานักเรียน ความสำคัญของการพัฒนาทักษะครูในยุคดิจิทัล การพัฒนาทักษะครูในยุคดิจิทัลมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในทุกด้านของชีวิตและการศึกษา การที่ครูมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอน ทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจและทันสมัยมากขึ้น ประเภทและหมวดหมู่ ประเภทของทักษะดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับครู ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน: การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ สเปรดชีต และโปรแกรมนำเสนอ ทักษะการสอนออนไลน์: การใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ เช่น Google Classroom, Zoom, Microsoft Teams ทักษะการสร้างสื่อดิจิทัล: การใช้เครื่องมือสร้างสื่อ เช่น Canva, Adobe...

พัฒนาทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยีสำหรับผู้เริ่มต้น: คู่มือฉบับสมบูรณ์

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกแง่มุมของชีวิต การเรียนรู้ทักษะการใช้เทคโนโลยีจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน บทความนี้ขอเสนอคู่มือฉบับสมบูรณ์สำหรับผู้เริ่มต้นที่ต้องการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยี ครอบคลุมทั้งแนวทาง แหล่งข้อมูล และเครื่องมือต่างๆ 1. เริ่มต้นจากพื้นฐาน: ฝึกใช้งานคอมพิวเตอร์: เริ่มต้นจากการเรียนรู้การเปิดปิดเครื่อง การใช้งานโปรแกรมพื้นฐาน เช่น Microsoft Word, Excel, PowerPoint การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์ การใช้งานอีเมล ฯลฯ ฝึกใช้อินเทอร์เน็ต: ฝึกค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์อย่างมีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ข้อมูลบนเว็บอย่างรอบคอบ...

การพัฒนาทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยีสำหรับผู้เริ่มต้น: เพิ่มพลังให้คุณสามารถต่อยอดได้

บทนำ การเรียนรู้เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันที่ทุกอย่างเป็นไปด้วยเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการใช้สมาร์ทโฟน การทำงานกับคอมพิวเตอร์ หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา การพัฒนาทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยีสำหรับผู้เริ่มต้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนควรมีเพื่อเตรียมความพร้อมในการต่อยอดในโลกที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ประเภทและหมวดหมู่ การทำความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี ความหมายของเทคโนโลยี การพัฒนาของเทคโนโลยีตลอดกาล อาการและสัญญาณ สิ่งที่ควรทราบก่อนเริ่มต้น อาการของผู้เริ่มต้นที่เข้าใจเทคโนโลยี สัญญาณที่บ่งชี้ถึงความสนใจในการเรียนรู้ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้เทคโนโลยี ผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่คลุมเครือ พฤติกรรมและวัฒนธรรมที่มีอิทธิพล การตรวจวินิจฉัยและการทดสอบ เครื่องมือและการทดสอบที่สำคัญ วิธีการทดสอบความเข้าใจในเทคโนโลยี การใช้เครื่องมือเพื่อปรับปรุงความเข้าใจ ตัวเลือกการรักษา วิธีการปรับปรุงทักษะการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะ การเลือกใช้แหล่งข้อมูลที่เหมาะสม มาตรการป้องกัน การเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ การวางแผนในการศึกษาเทคโนโลยี การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้กับการเรียนรู้ เรื่องราวส่วนบุคคลหรือการศึกษาเชิงบุคคล ประสบการณ์ของผู้เรียนในการเรียนรู้เทคโนโลยี การเรียนรู้เทคโนโลยีผ่านประสบการณ์ส่วนตัว การใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ คำแนะนำและข้อคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ การสร้างเส้นทางการเรียนรู้ที่เหมาะสม การใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพ...

About ครูออฟ 1269 Articles
https://www.kruaof.com