ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม 10

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม ๑๐ ธรรมของพระราชา, กิจวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินควรประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, ธรรมของนักปกครอง ได้แก่

ทาน (ทานํ)

การให้ คือ สละทรัพย์สิ่งของ บำรุงเลี้ยง ช่วยเหลือประชาราษฎร์ และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์

ศีล (สีลํ)

ความประพฤติดีงาม คือ สำรวมกายและวจีทวาร ประกอบแต่การสุจริต รักษากิตติคุณ ให้ควรเป็นตัวอย่างและเป็นที่เคารพนับถือของประชาราษฎร์ มิให้มีข้อที่ใครจะดูแคลน

ปริจจาคะ (ปริจฺจาคํ)

การบริจาค คือ เสียสละความสุขสำราญ เป็นต้น ตลอดจนชีวิตของตน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

อาชชวะ (อาชฺชวํ)

ความซื่อตรง คือ ซื่อตรงทรงสัตย์ไร้มารยา ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน

มัททวะ (มทฺทวํ)

ความอ่อนโยน คือ มีอัธยาศัย ไม่เย่อหยิ่งหยาบคายกระด้างถือองค์ มีความงามสง่าเกิดแต่ท่วงทีกิริยาสุภาพนุ่มนวล ละมุนละไม ให้ได้ความรักภักดี แต่มิขาดยำเกรง

ตปะ (ตปํ)

ความทรงเดช คือ แผดเผากิเลสตัณหา มิให้เข้ามาครอบงำย่ำยีจิต ระงับยับยั้งข่มใจได้ ไม่ยอมให้หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญและความปรนเปรอ มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ หรืออย่างสามัญ มุ่งมั่นแต่จะบำเพ็ญเพียร ทำกิจให้บริบูรณ์

อักโกธะ (อกฺโกธํ)

ความไม่โกรธ คือ ไม่กริ้วกราด ลุอำนาจความโกรธ จนเป็นเหตุให้วินิจฉัยความและกระทำกรรมต่างๆ ผิดพลาดเสียธรรม มีเมตตาประจำใจไว้ระงับความเคืองขุ่น วินิจฉัยความและกระทำการด้วยจิตอันราบเรียบเป็นตัวของตนเอง

อวิหิงสา (อวิหึสญฺจ)

ความไม่เบียดเบียน คือ ไม่บีบคั้นกดขี่ เช่น เก็บภาษีขูดรีด หรือเกณฑ์แรงงานเกินขนาด ไม่หลงระเริงอำนาจ ขาดความกรุณา หาเหตุเบียดเบียนลงโทษอาชญาแก่ประชาราษฎร์ผู้ใด เพราะอาศัยความอาฆาตเกลียดชัง

ขันติ (ขนฺติญฺจ)

ความอดทน คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำ ถึงจะลำบากกายน่าเหนื่อยหน่ายเพียงไร ก็ไม่ท้อถอย ถึงจะถูกยั่วถูกหยันด้วยคำเสียดสีถากถางอย่างใด ก็ไม่หมดกำลังใจ ไม่ยอมละทิ้งกรณีย์ที่บำเพ็ญโดยชอบธรรม

อวิโรธนะ (อวิโรธนํ)

ความไม่คลาดธรรม คือ วางองค์เป็นหลักหนักแน่นในธรรม คงที่ ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหวเพราะถ้อยคำที่ดีร้าย ลาภสักการะ หรืออิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ใดๆ สติมั่นในธรรม ทั้งส่วนยุติธรรม คือ ความเที่ยงธรรม ก็ดี นิติธรรม คือ ระเบียบแบบแผนหลักการปกครอง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ก็ดี ไม่ประพฤติให้เคลื่อนคลาดวิบัติไป    

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความหมายและประเภทของเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมายและประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยี เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ระบบเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบเทคโนโลยี เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ วัสดุและเครื่องมือ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุและเครื่องมือต่างๆ กระบวนการทางเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคโนโลยีต่างๆ เข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี หลักการออกแบบ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบที่สำคัญ...

About ครูออฟ 1263 Articles
https://www.kruaof.com