หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

เมื่อนักเรียนศึกษาหน่วยการเรียนรู้ที่  1  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

สิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์มีโครงสร้างและลักษณะที่เหมาะสมในแต่ละแหล่งที่อยู่ ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้ดำรงชีวิตและอยู่รอดได้ในแต่ละแหล่งที่อยู่ เช่น ผักตบชวามีช่องอากาศในก้านใบ ช่วยให้ลอยนํ้าได้ ต้นโกงกางที่ขึ้นอยู่ในป่าชายเลนมีรากคํ้าจุน ทำให้ลำต้นไม่ล้ม ปลามีครีบช่วยในการเคลื่อนที่ในนํ้า
            ในแหล่งที่อยู่หนึ่ง ๆ สิ่งมีชีวิตจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิต เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต เช่น ความสัมพันธ์กันด้านการกินกันเป็นอาหาร เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หลบภัย และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้อากาศในการหายใจ
            สิ่งมีชีวิตมีการกินกันเป็นอาหาร โดยกินต่อกันเป็นทอด ๆ ในรูปแบบของโซ่อาหาร ทำให้สามารถระบุบทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภค

เมื่อนักเรียนศึกษาหน่วยการเรียนรู้ที่  1  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม แล้ว นักเรียนสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้

     1.  พืชปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร
     2.  พืชทะเลทรายปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร
     3.  พืชปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในนํ้าได้อย่างไร
     4.  พืชมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถเจริญเติบโตและดำรงชีวิตได้อย่างไร
     5.  สัตว์มีการปรับตัวอย่างไรเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
     6.  สิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นกับสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
     7.  กลุ่มสิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กับแหล่งที่อยู่ในด้านต่าง ๆ อะไรบ้าง
     8.  สิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
     9.  การกินกันของสิ่งมีชีวิตเมื่อเขียนเป็นโซ่อาหารมีลักษณะอย่างไร
   10.  สายใยอาหารของสิ่งมีชีวิตมีลักษณะอย่างไร
   11.  นักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างไรบ้าง

เนื้อหาการศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่  1  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

  1. ใบพืชในที่แห้งแล้งเก็บน้ำไว้ได้อย่างไร
  2. การดำรงชีวิตของพืชทะเลทราย
  3. การดำรงชีวิตของพืชน้ำ
  4. การปรับตัวของพืช
  5. การปรับตัวของสัตว์
  6. สำรวจสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
  7. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต
  8. โซ่อาหาร
  9. สายใยอาหาร
  10. การมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

การประเมินหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

มาตรฐานตัวชี้วัดคะแนนเก็บคะแนนปลายภาค
ว1.1 ป.5/1 บรรยายโครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต
ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตในแต่ละแหล่งที่อยู่
73
ป.5/2 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต73
ป.5/3 เขียนโซ่อาหารและระบุบทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภค
ในโซ่อาหาร
73
ป.5/4 ตระหนักในคุณค่าของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต โดยมีส่วนร่วม ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม73
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การบันทึกจราจรบนอินเตอร์เน็ต ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) และผู้ให้บริการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log) ไว้เป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปคือไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันที่ข้อมูลนั้นถูกสร้างขึ้น เพื่อตรวจสอบและติดตามการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ได้ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log) คือ ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น ที่อยู่ IP,...

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

About ครูออฟ 1264 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.