การเขียนโปรแกรมให้ตัวละครสื่อสารระหว่างกัน ป.4

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมให้ตัวละครสื่อสารระหว่างกัน แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

การเขียนโปรแกรมเป็นการสร้างลำดับของคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ หากมีข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้อง   ให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมให้ตัวละครสื่อสารระหว่างกัน

  1. นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมในชีวิตประจำวันของตนเอง โดยตอบคำถาม ดังนี้
    • นักเรียนเคยใช้โปรแกรมอะไรบ้าง
    • นักเรียนใช้โปรแกรมดังกล่าวทำอะไร
  2. นักเรียนร่วมกันศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรมให้ตัวละครสื่อสารระหว่างกันโดยผ่านเว็บไซต์ https://code.org จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
  3. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็น โดยตอบคำถามกระตุ้นความคิด ดังนี้
    • เว็บไซต์ https://code.org มีลักษณะอย่างไร
    • เว็บไซต์ https://code.org มีประโยชน์อย่างไร โดยเขียนบันทึกคำตอบของนักเรียนเป็นแผนภาพความคิด  ดังตัวอย่าง

สรุปความคิดรวบยอด

เว็บไซต์ https://code.org เป็นเว็บไซต์ที่มีประโยชน์ โดยมีสื่อการเรียนรู้ให้เลือกหลากหลายตามระดับชั้นและอายุของผู้เรียน ส่งเสริมให้เกิดทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ฝึกปฏิบัติ

  1. เปิดเว็บไซต์ https://code.org แล้วเลือกภาษาที่ใช้
  1. คลิกเมาส์เลือกหัวข้อนักเรียน
  1. คลิกเมาส์เลือกคอร์ส 2
  1. คลิกเมาส์เลือกบทเรียนลำดับที่ 17 Play Lab: Create a Story แล้วคลิกเมาส์เลือกข้อ 1
  1. เขียนโปรแกรมให้ตัวละครสื่อสาร โดยคลิกเมาส์ลากบล็อกคำสั่ง มาวางตรงพื้นที่ทำงาน
  1. คลิกเมาส์เพื่อแก้ไขข้อความ แล้วพิมพ์คำว่า “สวัสดี”

เมื่อคลิกเมาส์ที่ปุ่ม  พื่อให้โปรแกรมทำงาน ตัวละครจะแสดงคำว่า สวัสดี

ลำดับต่อไปเป็นโปรแกรมให้ตัวละคร 2 ตัวสื่อสารระหว่างกัน โดยแสดงหน้าจอดังภาพจะมีบล็อกคำสั่งเพื่อสั่งให้ตัวละครแต่ละตัวพูด

เขียนโปรแกรมโดยคลิกเมาส์ลากบล็อกคำสั่ง    มาวางแล้วให้ตัวละครตัวแรกพูดว่า “สวัสดีครับ” จากนั้นคลิกเมาส์ลากบล็อกคำสั่ง มาวางต่อ แล้วปรับตัวเลขให้เป็นตัวละครตัวที่ 2 และพูดว่า “สวัสดีค่ะ”

เมื่อคลิกเมาส์ที่ปุ่ม   เพื่อให้โปรแกรมทำงาน จะพบว่าตัวละครทั้ง 2 ตัวสื่อสารระหว่างกัน โดยตัวละครตัวแรกจะพูดก่อน

ลำดับต่อไปเขียนโปรแกรมให้ตัวละครสุนัขเคลื่อนที่เข้าหาแมว ซึ่งหน้าจอโปรแกรมจะแสดงผล ดังภาพ

คลิกเมาส์ลากบล็อกคำสั่ง มาวาง แล้วปรับระยะทางเคลื่อนที่ให้เหมาะสมตามต้องการ จากนั้นทดสอบโปรแกรม

สรุปสิ่งที่ได้

การเขียนโปรแกรมเป็นการสร้างลำดับของคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ หากมีข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้อง ให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความหมายและประเภทของเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมายและประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยี เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ระบบเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบเทคโนโลยี เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ วัสดุและเครื่องมือ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุและเครื่องมือต่างๆ กระบวนการทางเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคโนโลยีต่างๆ เข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี หลักการออกแบบ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบที่สำคัญ...

About ครูออฟ 1263 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.