การเลือกวิธีการแก้ปัญหา ป.4

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การเลือกวิธีการแก้ปัญหา แล้ว นักเรี่ยนสามารถบอกได้ว่า

การเลือกวิธีการแก้ปัญหาในแต่ละปัญหา ควรพิจารณาเงื่อนไขของปัญหาที่ครอบคลุมทุกกรณี โดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง การเลือกวิธีการแก้ปัญหา

ปัญหาที่พบในชีิตประจำวัน
รูปที่ 1 ปัญหาที่พบในชีิตประจำวัน

คำถามเพื่อการรวบรวมข้อมูล

  • ปัญหาที่นักเรียนพบ มีวิธีการแก้ปัญหาหรือไม่
  • การแก้ปัญหาคืออะไร
  • การให้เหตุผลคืออะไร

ให้นักเรียนศึกษาบทความนี้แล้วตอบคำถาม

การแก้ปัญหา (problem solving) เป็นการค้นหาคำตอบ หาวิธีแก้ปัญหาหรือทำงานนั้นให้สำเร็จโดยเริ่มจากการกำหนดคำถามเกี่ยวกับปัญหานั้นว่าเราจะแก้ปัญหาหรือทำงานนั้นให้สำเร็จได้อย่างไร
การให้เหตุผล (reasoning) เป็นการคิดและอธิบายความคิดออกมาเป็นแผนงาน สำหรับการแก้ปัญหานั้นเราอาจเสนอวิธีการแก้ปัญหาโดยการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นข้อความ ซึ่งแสดงวิธีการแก้ปัญหาออกมาเป็นลำดับขั้น ทำให้มองเห็นวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจนโดยแต่ละขั้นจะต้องพิจารณาเงื่อนไขหรือเหตุผลประกอบด้วยการเลือกวิธีการแก้ปัญหาทุกปัญหานั้น นักเรียนควรพิจารณาเงื่อนไขให้ครบทุกกรณี สำหรับแนวทางการแก้ปัญหานั้น นักเรียนอาจนำเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่มาช่วยได้เช่นกัน วิธีการแก้ปัญหาวิธีหนึ่งอาจเหมาะกับเพื่อนแต่อาจไม่เหมาะกับตัวนักเรียนก็ได้เช่นกัน

โต๊ะนั่งในห้องเรียน

หากต้องการวัดความยาวการประมาณด้วยสายตาจะทำให้มีข้อผิดพลาดอยู่มาก การวัดนั้นต้องมีเครื่องมือวัดที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ค่าการวัดที่ถูกต้องโดยเครื่องมือสำหรับการวัดมีหลายชนิด เช่น ไม้บรรทัด สายวัด ตลับเมตร

หากเลือกใช้ไม้บรรทัดในการวัด นักเรียนอาจต้องวัดเป็นระยะ ๆ ตามความยาวของไม้บรรทัด แล้วนำค่าที่ได้มารวมกัน ค่าการวัดที่ได้อาจมีความผิดพลาดได้เช่นกัน หากเลือกใช้สายวัดจะวัดได้สะดวกมากขึ้น หรือหากใช้ตลับเมตรจะวัดได้สะดวกรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ซึ่งการเลือกใช้เครื่องมือใดนั้น นักเรียนต้องพิจารณาเงื่อนไขด้วย

  • การเลือกวิธีการแก้ปัญหาควรพิจารณาอย่างไร
  • นักเรียนจะมีแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร

นักเรียนช่วยกันจำแนกการใช้งานที่เหมาะสมของเครื่องมือแต่ละชนิด

  • ไม้บรรทัด เหมาะสมกับการวัด………..
  • สายวัด เหมาะสมกับการวัด ………
  • ตลับเมตร เหมาะสมกับการวัด ……….

นักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกเครื่องมือเพื่อวัดห้องเรียน แล้วตอบคำถาม ดังนี้

  • นักเรียนจะเลือกใช้ไม้บรรทัดวัดความกว้างและความยาวของห้องเรียนหรือไม่ เพราะเหตุใด
  • นักเรียนจะเลือกใช้สายวัดวัดความกว้างและความยาวของห้องเรียนหรือไม่ เพราะเหตุใด   
  • นักเรียนจะใช้ตลับเมตรวัดความกว้างและความยาวของห้องเรียนหรือไม่ เพราะเหตุใด

สรุปความคิดรวบยอด

การแก้ปัญหาควรพิจารณาเงื่อนไขของปัญหาให้ครบทุกด้าน โดยเลือกวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม อาจใช้เครื่องมือต่าง ๆ มาช่วยในการแก้ปัญหา

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความหมายและประเภทของเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมายและประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยี เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ระบบเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบเทคโนโลยี เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ วัสดุและเครื่องมือ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุและเครื่องมือต่างๆ กระบวนการทางเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคโนโลยีต่างๆ เข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี หลักการออกแบบ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบที่สำคัญ...

About ครูออฟ 1263 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.