อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

ADSL  อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

การเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้ตามบ้านโดยทั่วไปในอดีตและปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้วิธีการหมุนโมเด็มเข้าสู่ระบบ ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าความเร็วในการรับส่งข้อมูลของโมเด็มในปัจจุบันสูงสุดได้ไม่เกิน 56 กิโลบิตต่อวินาที(Kbps) แต่ในความเป็นจริงแล้ว น้อยครั้งที่เราสามารถใช้งานโมเด็มได้เต็มความสามารถที่ความเร็วดังกล่าว เนื่องจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่นสภาพของคู่สายโทรศัพท์ไม่ดีพอ หรือขีดความสามารถของผู้ให้บริการ ซึ่งการใช้งานอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วต่ำดังกล่าวได้สร้างความเบื่อหน่ายให้กับนักท่องอินเตอร์เน็ตเป็นอย่างยิ่ง และเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโตของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในบ้านเราปัจจุบันยังไม่สูงมากนัก อีกทางเลือกหนึ่งของผู้ใช้ตามบ้านปัจจุบันคือการใช้เคเบิ้ลโมเด็ม ซึ่ง ถึงแม้จะให้ความเร็วที่สูงแต่ยังมีข้อจำกัดอยู่ที่ต้องลงทุนเดินสายสัญญาณ ใหม่ทำให้ต้องจ่ายค่ายริการที่ค่อนข้างสูงและมีพื้นที่บริการจำกัดอยู่เฉพาะ ในเขตกรุงเทพฯ เท่านั้น สำหรับผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มองค์กร หรือบริษัท ต่างๆ ก็อาจมีทางเลือกมากขึ้นในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้แก่ การใช้คู่สาย ISDN ,วงจรเช่า(Leased Line),ไฟเบอร์ออพติค หรือตลอดจนดาวเทียมเป็นต้น ซึ่งแม้จะสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ด้วยความเร็วที่สูงกว่า แต่สิ่งที่ตามมาก็คือค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าหลายเท่าเช่นกัน แต่ในวันนี้ผู้ใช้งานทั้งสองกลุ่มมีทางเลือกที่ดีกว่า ทั้งด้านประสิทธิภาพและราคา ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า ADSL

ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) เป็นหนึ่งในสมาชิกของเทคโนโลยีตระกูลDSL (Digital Subscriber Line) หรือบางครั้งเรียกว่า xDSL ได้แก่ HDSL (High Bit Rate DSL), SDSL (Symmetric DSL), VDSL (Very High Bit Rate DSL),RADSL (Rate Adaptive DSL)เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีตระกูลนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลผ่านคู่สายทองแดงที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ให้มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้มากขึ้น เป็น การใช้ประโยชน์จากโครงข่ายเดิมที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยที่ไม่ ต้องลงทุนสร้างโครงข่ายใหม่ทั้งหมดในบรรดาเทคโนโลยีตระกูล DSL ความจริงแล้วก็สามารถกล่าวได้ว่าเป็นโมเด็มชนิดหนึ่งนั่นเอง แต่สิ่งที่แตกต่างที่เห็นได้ชัดคือความเร็วในการส่งข้อมูล ซึ่งในบรรดาเทคโนโลยีตระกูล DSL ที่ใช้งานกันในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใน     ปัจจุบัน ADSL เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมและได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากว่าในการใช้งานโดยทั่วไปเราจะเป็นผู้ที่โหลดข้อมูลจากเครือข่ายมากกว่าส่งข้อมูลไปยังเครือข่าย ซึ่งโมเด็ม ADSL มีความสามารถในการดาวโหลดข้อมูลจากผู้ให้บริการ(Downstream) ได้สูงสุดถึง 8 เมกกะบิตต่อวินาที (Mbps) และสามารถส่งข้อมูลขึ้นไปยังผู้ให้บริการ(Upstream) ได้สูงถึง ประมาณ 640 กิโลบิตต่อวินาที จากการที่ความเร็วในการรับและส่งข้อมูลที่ไม่เท่ากันจึงเป็นที่มาของคำว่า Asymmetric DSL นั่นเอง ซึ่งความเร็วในการดาวโหลดข้อมูลของ ADSL หากเทียบกับโมเด็มปกติ (56 Kbps) แล้วจะเร็วกว่าถึงประมาณ140 เท่าเลยทีเดียว หากยังนึกไม่ออกว่าจะเร็วขนาดไหน ก็ขอยกตัวอย่างการดาวโหลดโปรแกรมซักโปรแกรมหนึ่งที่มีขนาด 10 เมกกะบิต หากใช้โมเด็มปกติจะใช้เวลาในการดาวโหลดถึงประมาณสามชั่วโมง เรียกว่ารอกันจนเหนื่อยเลย แต่หากเป็น ADSL แล้วจะใช้เวลาเพียง ประมาณนาทีครึ่งเท่านั้นเอง  อะไรที่ทำให้เทคโนโลยี ADSL จึงทำได้เหนือกว่าโมเด็มธรรมดาขนาดนั้น ก็ต้องอธิบายก่อนว่าโมเด็มธรรมดาได้ใช้การส่งข้อมูลไปในช่องสัญญาณเดียวกับช่องสัญญาณโทรศัพท์ ซึ่งมีช่วงแบนวิทด์(ช่วงกว้างของความถี่) เพียง 4 กิโลเฮิร์ต เท่านั้นเอง ด้วยเทคโนโลยีการมอดดูเลชั่น(การผสมสัญญาณข้อมูลเข้ากับคลื่นพาหะ) ปัจจุบันจึงทำให้สามารถส่งข้อมูลได้สูงสุดเพียง 56 กิโลบิตต่อวินาทีและข้อมูลจะถูกส่งผ่านสายโทรศัพท์ไปยังตัวสวิทชิ่งของชุมสายโทรศัพท์และถูกส่งต่อไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต แต่ในความจริงแล้วคู่สายโทรศัพท์ที่เป็นสายทองแดงมีช่วงความถี่กว้างถึงประมาณหนึ่งเมกกะเฮิร์ต

ดังนั้น เทคโนโลยี ADSL จึงได้นำความถี่ในช่วงที่เหนือจากช่วงความถี่ของระบบโทรศัพท์ที่เหลืออยู่นี้มาใช้ในการรับส่งข้อมูล ด้วยช่วงความถี่ที่กว้างกว่าและเทคโนโลยีการส่งสัญญาณแบบใหม่ คือ DMT (Discrete Multi Tone) หรือ CAP (Carrierless Amplitude And Phase Modulation) จึงทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 8 เมกกะบิตต่อวินาทีนั่นเอง โดยจะมีการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับแยกสัญญาณระหว่างเสียงกับข้อมูลที่บ้านผู้ใช้บริการที่เรียกว่า Splitter โดยสัญญาณเสียงและข้อมูลจะถูกส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์เดียวกัน ไปยังอุปกรณ์ Splitter ด้านชุมสายโทรศัพท์  เพื่อแยกสัญญาณเสียงไปยังอุปกรณ์ชุมสายโทรศัพท์และ แยกสัญญาณข้อมูลไปยังอุปกรณ์ ADSL Card ซึ่งเป็นโมเด็มที่อยู่ด้านชุมสาย และ อุปกรณ์DSLAM (DSL access Multiplexer) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรวบรวมสัญญาณข้อมูลจากผู้ใช้รายย่อย จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งผ่านระบบสื่อสัญญาณไปยังผู้ให้บริการเครือข่าย ADSL และส่งต่อไปยังผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตต่อไปดังรูปภาพด้านบนอย่างไรก็ตามในการใช้งานจริงการที่จะส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงมากเท่าใดนั้นต้องขึ้นอยู่กับสภาพของคู่สายโทรศัพท์ด้วย ซึ่งคู่สายโทรศัพท์ที่ใช้อยู่จริงมีจุดต่อหลายจุดและอาจมีออกไซด์หรือความชื้นในสายซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลในเกิดการสูญเสียของข้อมูลได้ ในการทดลองใช้งานจริงในประเทศไทยก็พบว่าการรับส่งข้อมูลทำได้ไม่ถึงตามความสามารถสูงสุดที่ 8 Mbps โดยปัจจุบันอัตราความเร็วสูงสุดที่ให้บริการลูกค้ากลุ่มองค์การในอยู่ที่ความเร็ว 2 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วเพียงพอที่จะใช้งานกับข้อมูลมัลติมีเดียแบบภาพเคลื่อนไหวเช่นวิดีโอได้

คุณสมบัติของเทคโนโลยี ADSL มีอะไรบ้าง

ความเร็วสูง  เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วสูงกว่าโมเด็มแบบ 56K ธรรมดากว่า 5 เท่า (256 Kbps.) หรือสูงสุดกว่า 140 เท่าที่ความเร็ว 8 Mbps.   

การเชื่อมต่อแบบ Always On สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา เหมาะสำหรับการใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา   

ค่าใช้จ่ายคงที่ ในอัตราที่ประหยัด  ค่าใช้จ่ายเป็นแบบเหมาจ่ายรายเดือนแบบไม่จำกัดเวลา ในราคาเริ่มต้นที่ประหยัด ไม่ต้องเสียค่าเชื่อมต่อโทรศัพท์ต่อครั้ง

ความเร็วของ ADSL เป็นอย่างไร

เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และความเร็วในการส่งข้อมูล (Upstream) ไม่เท่ากัน  โดยมีความเร็วในการรับข้อมูลสูงกว่าความเร็วในการส่งข้อมูลเสมอ เทคโนโลยีADSL มีความเร็วในการรับข้อมูลสูงสุด 8 เม็กกะบิตต่อวินาที (Mbps) และความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 640 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps.) ความเร็วอาจเริ่มตั้งแต่ 128/64, 256/128, 512/256 เป็นต้น โดยความเร็วแรกเป็นความเร็วขารับข้อมูล

เราสามารถใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างจากบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ADSL

– รับและส่งไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว

– การดาวน์โหลดซอฟต์แวร์จากอินเทอร์เน็ต

– การดู VDO streaming และ การประชุมทางไกล VDO conferencing

– การประยุกต์ใช้สำหรับการรักษาความปลอดภัยของบ้าน และการมอนิเตอร์สถานที่ต่าง ๆ จากระยะไกล โดยใช้ใIP Camera เชื่อมต่อผ่าน ADSL

– การเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานด้วยกันในราคาที่ประหยัด

– การสำรองข้อมูลจากสำนักงาน หรือจากอินเทอร์เน็ต

– การเล่นเกมส์ออนไลน์ที่เร็วและสนุกกว่าเดิม

ที่มา : http://www.satitm.chula.ac.th/computer/info/6/info.htm 

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการเสริมสร้างทักษะของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ

บทนำ การเสริมสร้างทักษะของผู้เรียนเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาความสามารถทางการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต การมีทักษะที่ดีไม่เพียงแต่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในทางการศึกษาเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อชีวิตประจำวันและอาชีพในอนาคตอีกด้วย ในบทความนี้ เราจะพาท่านไปพบกับวิธีการเสริมสร้างทักษะของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพโดยละเอียด สารบัญ ความสำคัญของการเสริมสร้างทักษะ ประเภทของทักษะ ทักษะทางวิชาการ ทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต ปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างทักษะ วิธีการเสริมสร้างทักษะทางวิชาการ การเรียนรู้แบบใช้กิจกรรม การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน การฝึกฝนและการทำแบบฝึกหัด วิธีการเสริมสร้างทักษะทางสังคม การสอนให้ทำงานเป็นทีม การส่งเสริมการสื่อสาร การสร้างความเข้าใจและความเห็นอกเห็นใจ วิธีการเสริมสร้างทักษะชีวิต การจัดการเวลา การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การประเมินและติดตามผลการเสริมสร้างทักษะ เรื่องราวและกรณีศึกษา ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ สรุปและข้อคิดในการดำเนินการ ความสำคัญของการเสริมสร้างทักษะ การเสริมสร้างทักษะเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ช่วยให้พวกเขามีความพร้อมในการเรียนรู้และประสบความสำเร็จในชีวิต การมีทักษะที่ดีทำให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น และสามารถเผชิญหน้ากับความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของทักษะ ทักษะทางวิชาการ ทักษะทางวิชาการเป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ในห้องเรียน รวมถึงความสามารถในการอ่าน การเขียน การคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา ทักษะเหล่านี้มีความสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนสามารถประสบความสำเร็จในทางการศึกษา ทักษะทางสังคม ทักษะทางสังคมเป็นทักษะที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี รวมถึงการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ทักษะเหล่านี้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวในสังคมได้ดี ทักษะชีวิต ทักษะชีวิตเป็นทักษะที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถจัดการกับชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการเวลา...

การบันทึกจราจรบนอินเตอร์เน็ต ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์

ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) และผู้ให้บริการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log) ไว้เป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปคือไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันที่ข้อมูลนั้นถูกสร้างขึ้น เพื่อตรวจสอบและติดตามการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ได้ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log) คือ ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น ที่อยู่ IP,...

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

About ครูออฟ 1265 Articles
https://www.kruaof.com