1.1.1 ความหมายและความสำคัญของประเพณีและวัฒนธรรมไทย ป.3

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

วันสำคัญ เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้น และเพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของวันนั้น ๆ รัฐ ชุมชน หรือหน่วยงาน ก็จะมีการจัดให้มีพิธีการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เพื่อให้ประชาชน หรือคนในสังคมได้ตระหนักและรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญนั้นด้วยความภาคภูมิใจและยึดมั่นในความดีงาม

ความหมายของวันสำคัญของไทย

วันสำคัญของไทย หมายถึง วันที่มีเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ เกิดขึ้น โดยรัฐบาลได้กำหนดให้มีพิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ โดยประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้ประชาชนได้ระลึกถึงความสำคัญของวันดังกล่าว ด้วยความภาคภูมิใจ เช่น วันสำคัญที่เกี่ยวกับชาติและพระมหากษัตริย์ วันสำคัญที่เกี่ยวกับศาสนา หรือวันสำคัญที่เกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรม

ถ้าพูดถึงวันสำคัญที่เกี่ยวกับชาติและพระมหากษัตริย์ นักเรียนนึกถึงวันสำคัญใดบ้างและวันสำคัญดังกล่าวมีความสำคัญอย่างไร

วันสำคัญที่เกี่ยวกับชาติและพระมหากษัตริย์

วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

ตรงกับวันที่ 6 เมษายนของทุกปี เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี

วันรัฐธรรมนูญ

ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 ให้แก่ประชาชนชาวไทย เพื่อเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ

วันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ

ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเป็นการเฉลิมพระเกียรติของพระองค์ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ อันก่อให้เกิดประโยชน์มากมายต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย พระองค์จึงเปรียบเสมือน “พ่อของแผ่นดิน”

วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ

ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้ทรงเป็น “แม่ของแผ่นดิน”

วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตรงกับวันที่ 28 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันเฉลิมพระเกียรติวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10)

วันปิยมหาราช

เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระองค์ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ซึ่งหมายความว่าพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน

วิธีการปฏิบัติในวันสำคัญที่เกี่ยวกับชาติและพระมหากษัตริย์

วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า-จุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

ประชาชนจะเข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาและบำเพ็ญกุศล เพื่อแสดงถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อประชาชนชาวไทย

วันรัฐธรรมนูญ

การวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

วันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ

จัดกิจกรรมวันพ่อ เพื่อระลึกถึงพระคุณของผู้เป็นพ่อในหน่วยงานภาครัฐจะมีการจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตรประดับธงชาติ

วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ

จัดกิจกรรมเกี่ยวกับวันแม่ เพื่อระลึกถึงพระคุณของแม่ในหน่วยงานภาครัฐจะมีการจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตรร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพร

วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประชาชนชาวไทยร่วมกันถวายพระพรชัยมงคลและจัดกิจกรรมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

วันปิยมหาราช

ประชาชนทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจะจัดกิจกรรมวางพวงมาลาดอกไม้สักการะเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ

ดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของวันพ่อแห่งชาติ คือ
ดอกพุทธรักษา

ดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของวันแม่แห่งชาติ คือ

ดอกมะลิ

คุณค่าและความสำคัญของการมีวันสำคัญที่เกี่ยวกับชาติและพระมหากษัตริย์

  • ประชาชนร่วมใจกันทำความดีและทำคุณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
  • เป็นการสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
  • ประชาชนได้แสดงถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
  • เป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อชาติและพระมหากษัตริย์

โดยสรุป วันสำคัญ เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้น และเพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของวันนั้น ๆ รัฐ ชุมชน หรือหน่วยงาน ก็จะมีการจัดให้มีพิธีการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เพื่อให้ประชาชนหรือคนในสังคมได้ตระหนักและรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญนั้นด้วยความภาคภูมิใจและยึดมั่นในความดีงาม

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความหมายและประเภทของเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมายและประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยี เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ระบบเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบเทคโนโลยี เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ วัสดุและเครื่องมือ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุและเครื่องมือต่างๆ กระบวนการทางเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคโนโลยีต่างๆ เข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี หลักการออกแบบ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบที่สำคัญ...

About ครูออฟ 1263 Articles
https://www.kruaof.com