2.1.4 เซนเซอร์และการใช้งาน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

ในระบบสมองกลฝังตัว เซนเซอร์ คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจวัดปริมาณทางกายภาพต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ แสง เสียง การสัมผัส เป็นต้น และแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเพื่อใช้ตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับการสั่งงานส่วนควบคุมแบบอัติโนมัติ หรือตรวจวัดข้อมูลต่าง ๆ สำหรับการเก็บบันทึกข้อมูล

สำหรับบอร์ด KidBright มีเซนเซอร์ที่ติดตั้งมาบนบอร์ดพร้อมใช้งาน ประกอบด้วย เซนเซอร์วัดระดับความเข้มแสง เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ และสวิตช์กดติดปล่อยดับ

คลิปวิดีโอ จันทร์เรืองฟาร์ม สวนทุเรียนที่ควบคุมด้วยสมาร์ตโฟน

นักเรียนคิดว่า ระบบควบคุมการรดน้ำต้นไม้ มีหลักการทำงานอย่างไร

ในระบบสมองกลฝังตัว เซนเซอร์ คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจวัดปริมาณทางกายภาพต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ แสง เสียง การสัมผัส เป็นต้น และแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเพื่อใช้ตรวจสอบเงื่อนไขสำหรับการสั่งงานส่วนควบคุมแบบอัติโนมัติ หรือตรวจวัดข้อมูลต่าง ๆ สำหรับการเก็บบันทึกข้อมูล เช่น เซนเซอร์ตรวจวัดแสงสว่าง เซนเซอร์ตรวจวัดระดับเสียง เซนเซอร์ตรวจวัดความเข้มของสนามแม่เหล็ก เซนเซอร์ ตรวจวัดอุณหภูมิและความชิ้นสัมพันธ์ เป็นต้น

สำหรับบอร์ด KidBright มีเซนเซอร์ที่ติดตั้งมาบนบอร์ดพร้อมใช้งาน ประกอบด้วย เซนเซอร์วัดระดับความเข้มแสง เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ และสวิตช์กดติดปล่อยดับ

เซนเซอร์วัดระดับความเข้มแสง

ให้เซนเซอร์ชนิดค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามความเข้มแสง หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า แอลดีอาร์ (LDR, Light Dependent Resistor) เมื่อแสงตกกระทบแอลดีอาร์มีความเข้มแสงเพิ่มมากขึ้นค่าความต้านทานจะลดลง

เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ

ใช้เซนเซอร์แบบสารกึ่งตัวนำ LM73 โดยวัดค่าอุณหภูมิได้ในช่วง 10-80 องศาเซลเซียส มีค่าความแม่นยำ ±1.0 องศาเซลเซียส และความละเอียด 0.25 องศาเซลเซียส การอ่านค่าเซนเซอร์วัดอุณหภูมิบนบอร์ด KidBright ทำได้โดย ใช้บล็อกคำสั่ง หัววัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor)

สวิตช์กดติดปล่อยดับ

เป็นเซนเซอร์ตรวจวัดการกดซึ่งมีอยู่ 2 ตัวบนบอร์ด KidBright คือ สวิตช์ 1 และ สวิตช์ 2 การอ่านค่าจากเซนเซอร์สวิตช์ ใช้บล็อก สวิตช์ 1 (Switch 1) หรือ สวิตช์ 2 (Switch 2) เมื่อมีการกดสวิตช์ ค่าที่อ่านได้จะมีสถานะเป็นจริง หรือมีค่าเป็น 1 และจะมีสถานะเป็นเท็จ หรือมีค่าเป็น 0 เมื่อไม่มีการกดสวิตช์

นอกจากนี้ บอร์ด KidBright ยังสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เซนเซอร์ภายนอกได้อีกด้วย

คลิปวิดีโอ ระบบรดน้ำต้นไม้อัติโนมัติ

ระบบรดน้ำต้นไม้อัติโนมัติ  มีเงื่อนไข คือ

ถ้า ดินแห้ง ทำ เปิดช่อง USB เปิดไฟให้ปั๊มน้ำทำงาน ประมาณ 5 วินาที แล้วจึงปิด

โดยสรุป บอร์ด KidBright มีเซนเซอร์ที่ติดตั้งมาบนบอร์ดพร้อมใช้งาน ประกอบด้วย เซนเซอร์วัดระดับความเข้มแสง เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ และสวิตช์กดติดปล่อยดับและยังสามารถ เชื่อมต่ออุปกรณ์เซนเซอร์ภายนอกได้อีกด้วย ทำให้สามารถนำ บอร์ด KidBright ไปใช้ในการสร้างอุปกรณ์อัจฉริยะได้มากมาย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต

วิชาออกแบบเทคโนโลยี ม.3: ท้าทายสมอง สร้างสรรค์นวัตกรรม สู่โลกอนาคต ในวิชานี้ นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ: 1. เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก: เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลก เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ ฯลฯ 2. เทคโนโลยีแก้ปัญหา: วิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาปัญหาที่ต้องการแก้ไข ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี นำความรู้ ทักษะ ทรัพยากร มาประยุกต์ใช้ เลือกใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ กลไก ไฟฟ้า...

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1?

เรียนอะไรบ้างในวิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1? วิชา "การออกแบบเทคโนโลยี" ม.1 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการออกแบบ การประเมินผล และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สาระการเรียนรู้หลักๆ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1. รู้จักเทคโนโลยีรอบตัว เทคโนโลยีคืออะไร? มีกี่ประเภท? เทคโนโลยีมีบทบาทอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไร? วัสดุและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? กระบวนการทางเทคโนโลยีมีขั้นตอนอย่างไร? 2. ออกแบบสิ่งประดิษฐ์เทคโนโลยี หลักการออกแบบที่ดีมีอะไรบ้าง?...

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังนี้: การออกแบบและเทคโนโลยี: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและเทคโนโลยี ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี การสร้างชิ้นงาน: การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การเลือกใช้วัสดุและเครื่องมือในการสร้างชิ้นงาน การประกอบและตกแต่งชิ้นงาน การนำเสนอและประเมินผล: การนำเสนอชิ้นงานและแนวคิดการออกแบบ การประเมินผลงานการออกแบบและการสร้างชิ้นงาน การรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงแก้ไขผลงาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ในการสร้างแบบจำลอง ความปลอดภัยในการทำงาน: ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน วิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออย่างปลอดภัย การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เนื้อหาวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้....

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551

สาระการเรียนรู้หลักในวิชา การออกแบบเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ความหมายและประเภทของเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้ความหมายและประเภทต่างๆ ของเทคโนโลยี เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ระบบเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบเทคโนโลยี เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ของระบบ วัสดุและเครื่องมือ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือที่ใช้ในงานออกแบบและเทคโนโลยี เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้งานของวัสดุและเครื่องมือต่างๆ กระบวนการทางเทคโนโลยี: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางเทคโนโลยีต่างๆ เข้าใจถึงขั้นตอนและเทคนิคที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี หลักการออกแบบ: นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบที่สำคัญ...

About ครูออฟ 1263 Articles
https://www.kruaof.com