ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์

สารอาหารกับการดำรงชีวิต
สารอาหารกับการดำรงชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

    ระบบต่าง ๆ ของร่างกายจะทำงานสัมพันธ์กัน และสิ่งที่สำคัญ คือ การรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ การออกกำลังกาย มีสุขภาพจิตที่ดี และทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต

ระบบ/ส่วนประกอบหน้าที่ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ
1. ระบบประสาท
ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท
– ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลและรวบรวมข้อมูล เพื่อควบคุม  การทำงานและการตอบสนอง
ต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
ของร่างกายที่อยู่ในระบบต่าง ๆ
– ถ้าสมองได้รับการกระทบกระเทือนจนเป็นอันตรายจะสั่งการไม่ได้ ทำให้ควบคุม การทำงานของอวัยวะไม่ได้
– ถ้าเซลล์สมองเสื่อมจะทำให้ความจำเสื่อม
– ถ้าไขสันหลังได้รับการกระทบกระเทือนจนรับ – ส่งคำสั่งไม่ได้ จะทำให้เป็นอัมพฤกษ์หรือรุนแรงถึงเป็นอันตราย
2. ระบบย่อยอาหาร
ประกอบด้วยปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี และลำไส้ใหญ่
– ทำหน้าที่ย่อยอาหารที่รับประทานให้โมเลกุลของสารอาหารที่ขนาดเล็กลงจนสามารถซึมเข้าสู่หลอดเลือดได้ และมีกากอาหารที่ย่อยไม่ได้ถูกกำจัดออกจากร่างกาย– สารอาหารที่ย่อยแล้วจะซึมเข้าไปสู่
หลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโต เมื่อหายใจเข้า (ระบบหายใจ) ไปยังปอด เม็ดเลือดแดงจะรับออกซิเจนและ ลำเลียงผ่านหลอดเลือดแดงไปยังเซลล์ (ระบบไหลเวียนของเลือด) เกิดปฏิกิริยาสันดาประหว่างแก๊สออกซิเจนกับสารอาหารภายในเซลล์ทำให้เกิดพลังงานเพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และเกิดของเสีย คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะถูกลำเลียงมาในกระแสเลือดทางหลอดเลือดดำมายังปอด และกำจัดออกสู่ภายนอก  เมื่อหายใจออก (ระบบกำจัดของเสีย)
– ส่วนกากอาหารจะถูกกำจัดออกจากร่างกาย (ระบบกำจัดของเสีย) ทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ถ้าที่ลำไส้ใหญ่มีกากอาหารสะสมอยู่นานจะมีการดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกายทำให้อุจจาระแข็ง ท้องผูกเสี่ยงต่อการเป็นโรคริดสีดวงทวารและมะเร็งลำไส้ใหญ่
3. ระบบหายใจ
ประกอบด้วยจมูก หลอดลม
ปอด และกะบังลม
– ทำหน้าที่นำอากาศเข้า – ออกจากร่างกาย โดยจมูกและหลอดลมนำแก๊สออกซิเจนไปยังปอดและเข้าสู่กระแสเลือดแล้วรับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อส่งออกสู่ภายนอกร่างกายทาง
หลอดลมและจมูก
– ระบบหายใจเป็นระบบที่สัมพันธ์กับระบบไหลเวียนของเลือดและระบบกำจัดของเสีย คือระบบไหลเวียนของเลือดจะให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียออกจากร่างกายผ่านทางปอดและรับแก๊สออกซิเจนเข้ามาและลำเลียงไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
4. ระบบหมุนเวียนเลือด
ประกอบด้วยหัวใจและหลอดเลือด
– ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารและแก๊สออกซิเจนไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย และนำของเสียจากเซลล์ต่าง ๆ ออกสู่ายนอกร่างกายทางปอดผิวหนัง และไต– ระบบไหลเวียนของเลือดจะสัมพันธ์กับระบบหายใจและระบบ กำจัดของเสีย
5. ระบบหมุนกำจัดของเสีย
ประกอบด้วยผิวหนังปอด ลำไส้ใหญ่ และไต
– ผิวหนังทำหน้าที่กำจัดของเสียที่เรียกว่าเหงื่อ
– ปอดกำจัดของเสียออกพร้อมกับลมหายใจออก คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
– ไตกำจัดของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
– กากอาหารกำจัดออกจากร่างกายทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
– ระบบกำจัดของเสียสัมพันธ์กับระบบหมุนเวียนของเลือดที่ไต ผิวหนัง และปอด
– ส่วนการกำจัดของเสียทางลำไส้ใหญ่และทวารหนักสัมพันธ์กับระบบย่อยอาหารโดยกากอาหารที่ย่อยไม่ได้อีกแล้วจะถูกกำจัดออกทางนี้
6. ระบบสืบพันธุ์
ประกอบด้วยอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงและเพศชาย
– อวัยวะเพศทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์โดยเพศชายสร้างอสุจิส่วนเพศหญิงสร้างเซลล์ไข่– ระบบสืบพันธุ์สัมพันธ์กับระบบประสาท ส่วนที่เป็นต่อมใต้สมอง ซึ่งอยู่ภายใต้ การควบคุมของสมองส่วนหน้าจะ
หลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมเพศให้ผลิตฮอร์โมนเพศ ทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงเข้า สู่วัยเจริญพันธุ์
ตารางที่ 3 ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ใช้หลัก SMART ในการกำหนดวัตถุประสงค์

หลัก SMART เป็นกรอบการทำงานที่ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักคือ Specific (เฉพาะเจาะจง), Measurable (วัดผลได้), Achievable (สามารถทำได้), Relevant (สอดคล้อง), และ Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) การใช้หลัก SMART ช่วยให้การวางแผนและการบรรลุเป้าหมายเป็นไปอย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น Specific...

วิธีการสร้างบทเรียน: ขั้นตอนและแนวทางเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างบทเรียน การสร้างบทเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือขั้นตอนและแนวทางในการสร้างบทเรียน: 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ว่าผู้เรียนควรจะได้อะไรจากบทเรียนนี้ ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ 2. วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน พิจารณาระดับความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เลือกเนื้อหาที่สำคัญและตรงตามวัตถุประสงค์ จัดโครงสร้างเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรื่องง่ายไปยาก วางแผนกิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น การอภิปราย กลุ่มงาน...

ความหมายและประเภทของเงิน: คู่มือความรู้พื้นฐานทางการเงิน

ความหมายของเงิน เงินเป็นสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการวัดมูลค่า สะสมมูลค่า และเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คุณสมบัติของเงิน สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน: ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างสะดวก เครื่องมือวัดมูลค่า: สามารถกำหนดและแสดงมูลค่าของสินค้าและบริการได้อย่างชัดเจน เครื่องมือสะสมมูลค่า: สามารถเก็บรักษามูลค่าไว้เพื่อใช้ในอนาคตได้ มาตรฐานในการชำระหนี้: ใช้ในการชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด ประเภทของเงิน เงินสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและการใช้งาน ได้แก่: เงินสด: เหรียญและธนบัตรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เงินฝาก: เงินที่ฝากไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งสามารถถอนออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น เงินอิเล็กทรอนิกส์: เงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือเงินในแอปพลิเคชันการชำระเงิน เงินตราต่างประเทศ: สกุลเงินของประเทศอื่นที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน การเข้าใจความหมายและประเภทของเงินจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการและวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ:...

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง?

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง? Generative AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด คือ เทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาควบคุม ตัวอย่างผลงานของ Generative AI เช่น สร้างข้อความ: เขียนบทความ แต่งกลอน...

About ครูออฟ 1255 Articles
https://www.kruaof.com