การเสริมสร้างคุณภาพชีวิต

สารอาหารกับการดำรงชีวิต
สารอาหารกับการดำรงชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

 การรับประทานอาหารที่พอเหมาะ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ สุขภาพจิตที่ดีการหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่บั่นทอนสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีและเมื่อประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ย่อมจะช่วยสร้างสรรค์ให้ประเทศชาติก้าวหน้าได้ โดยปฏิบัติดังนี้

            1. อาหารกับสุขภาพ อาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ การกินอาหารครบทุกประเภทและถูกสัดส่วนเป็นปัจจัยในการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ควรเลือกรับประทานเฉพาะอาหารที่ชอบ และไม่ควรรับประทานมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดโรคอ้วนซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้

                        คอเลสตอรอล (cholesterol) เป็นสารประเภทไขมันที่ละลายน้ำได้ยาก มีมากในอาหารประเภทไขมันสัตว์ ตับ ไข่แดง สารประเภทนี้หากเกาะติดในหลอดเลือดทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน ซึ่งนำไปสู่ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจซึ่งเป็นอันตรายแก่ชีวิต ปกติร่างกายของคนเรามีสารชนิดนี้สร้างขึ้นจากตับ

                        ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) เป็นไขมันอีกอย่างหนึ่งมีอยู่ในอาหารประเภทไขมันสัตว์ เป็นต้นเหตุของภาวะหลอดเลือดอุดตันเช่นเดียวกับคอเลสเตอรอลการตรวจเลือดเพื่อให้ทราบว่ามีไขมันในหลอดเลือดสูงหรือไม่จะดูจากสาร 2 อย่างนี้ การรับประทานน้ำตาลทรายและการดื่มสุราก็อาจก่อให้เกิดระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้

            2. การออกกำลังกายกับสุขภาพ การออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต เมื่อออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อต่าง ๆ ทั่วร่างกายแข็งแรง ปกติหัวใจเต้นเฉลี่ยประมาณ 72 ครั้งต่อนาที แต่ละคนจะมีจำนวนครั้งของชีพจรใน 1 นาทีแตกต่างกันไปได้ หลังการออกกำลังกายชีพจรจะเต้นเร็วขึ้น และปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจจะมากขึ้น ระหว่างการออกกำลังกายต้องใช้พลังงานมากขึ้น พลังงานดังกล่าวได้จากการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน โดยมีแก๊สออกซิเจนช่วยให้การทำปฏิกิริยา ดังนั้น หัวใจจะเต้นเร็วขึ้นและหายใจถี่ขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องการแก๊สออกซิเจนมากขึ้น

            3. พฤติกรรมการดำเนินชีวิตกับสุขภาพ การวิจัยสมัยใหม่ชี้ชัดว่าในควันบุหรี่มีโพโลเนียม 210 และมีรังสีแอลฟาซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด นอกจากนี้ยังมีสารที่เป็นพิษต่อการหายใจและปอด ได้แก่ แอมโมเนีย ไซยาไนด์ ฟีนอล ซัลไฟต์ คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ นิโคติน แอลกอฮอล์และทาร์ ทำให้เกิด  การระคายเคืองในหลอดลม เกิดการสะสมเขม่าควันบุหรี่ที่หลอดลมและปอด ทำให้ ถุงลมในปอดอักเสบโป่งพอง และแตก โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์  ถ้าสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่ โอกาสที่ลูกในท้องจะมีน้ำน้อยกว่าธรรมดาหรือมี ความพิการแต่กำเนิดจะมีโอกาสสูง

          *** การดื่มสุราให้โทษแก่ผู้ดื่ม คือ ทำลายประสาท เนื้อเยื่อในสมอง ปวดศีรษะ มองไม่เห็น เป็นโรคตับแข็ง เป็นเหตุให้ขาดสติและผิดศีลธรรม
          *** การพักผ่อนที่ดีที่สุด คือการนอนหลับเพราะทำให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้พักผ่อนเต็มที่หรือทำงานน้อย การขาดการพักผ่อนหรือพักผ่อนไม่เพียงพอจะมีผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงความจำเสื่อม มีอารมณ์เครียดและฉุนเฉียวง่าย

           4. ปัญหาสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ มนุษย์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อ  ความสะดวกสบายและรวดเร็วในการดำรงชีวิต ในขณะเดียวกันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบางอย่างก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงควรคำนึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะประชากรที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีจะส่งผลให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง

            5. ปัญหาเนื่องจากสารเสพติด สารเสพติดเป็นสิ่งที่เสพเข้าไปในร่างกายแล้วทำให้ร่างกายต้องการสารนั้นในปริมาณที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถหยุดได้ มีผลทำให้ร่างกาย ทรุดโทรมและสภาวะจิตใจผิดปกติ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ใช้หลัก SMART ในการกำหนดวัตถุประสงค์

หลัก SMART เป็นกรอบการทำงานที่ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักคือ Specific (เฉพาะเจาะจง), Measurable (วัดผลได้), Achievable (สามารถทำได้), Relevant (สอดคล้อง), และ Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) การใช้หลัก SMART ช่วยให้การวางแผนและการบรรลุเป้าหมายเป็นไปอย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น Specific...

วิธีการสร้างบทเรียน: ขั้นตอนและแนวทางเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างบทเรียน การสร้างบทเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือขั้นตอนและแนวทางในการสร้างบทเรียน: 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ว่าผู้เรียนควรจะได้อะไรจากบทเรียนนี้ ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ 2. วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน พิจารณาระดับความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เลือกเนื้อหาที่สำคัญและตรงตามวัตถุประสงค์ จัดโครงสร้างเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรื่องง่ายไปยาก วางแผนกิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น การอภิปราย กลุ่มงาน...

ความหมายและประเภทของเงิน: คู่มือความรู้พื้นฐานทางการเงิน

ความหมายของเงิน เงินเป็นสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการวัดมูลค่า สะสมมูลค่า และเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คุณสมบัติของเงิน สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน: ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างสะดวก เครื่องมือวัดมูลค่า: สามารถกำหนดและแสดงมูลค่าของสินค้าและบริการได้อย่างชัดเจน เครื่องมือสะสมมูลค่า: สามารถเก็บรักษามูลค่าไว้เพื่อใช้ในอนาคตได้ มาตรฐานในการชำระหนี้: ใช้ในการชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด ประเภทของเงิน เงินสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและการใช้งาน ได้แก่: เงินสด: เหรียญและธนบัตรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เงินฝาก: เงินที่ฝากไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งสามารถถอนออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น เงินอิเล็กทรอนิกส์: เงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือเงินในแอปพลิเคชันการชำระเงิน เงินตราต่างประเทศ: สกุลเงินของประเทศอื่นที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน การเข้าใจความหมายและประเภทของเงินจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการและวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ:...

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง?

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง? Generative AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด คือ เทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาควบคุม ตัวอย่างผลงานของ Generative AI เช่น สร้างข้อความ: เขียนบทความ แต่งกลอน...

About ครูออฟ 1255 Articles
https://www.kruaof.com