ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน

ที่มา www.kruchiangrai.net
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

การวิจัยในชั้นเรียนมีความสำคัญต่อวงการวิชาชีพครูเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากครูจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนการสอน การจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียน การพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียน การเพิ่มสัมฤทธิผลการเรียน และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทดั้งเดิมของครูที่มีความเชี่ยวชาญ และสนใจเรื่องการสอนโดยเน้นเนื้อหาสาระของบทเรียน จึงทุ่มเทการศึกษา ค้นคว้า หาข้อมูล ทฤษฎี ที่เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร มากกว่าการศึกษาวิธีการพัฒนาหรือปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลงานของอาจารย์ส่วนใหญ่จึงเป็นผลงานหนังสือ ตำรา บทความหรือเอกสารทางวิชาการมากกว่าผลงานวิจัย

ปัจจุบัน การวิจัยมีบทบาทเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายตัวทางการศึกษา ที่เปิดระดับการศึกษาถึงขั้นปริญญาโทและปริญญาเอกในประเทศไทย ทำให้มีการเรียนการสอนระเบียบวิธีวิจัย ตลอดจนการกำหนดให้ทำวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา จึงมีผู้รู้วิธีการทำวิจัยเพิ่มขึ้น ที่สำคัญคือ การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ หรือ การเลื่อนระดับของผู้อยู่ในสายวิชาชีพทางการศึกษา มีข้อกำหนดให้ส่งผลงานวิชาการและงานวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณา ผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาจึงต้องหันมาสนใจเรื่องของการวิจัยเพิ่มขึ้น ประกอบกับการที่กฎหมายได้กำหนดให้มีการส่งเสริมการวิจัยในมาตรา ๒๔ ดังนี้
มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้
….(๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมสื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งความสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการต่างๆ ด้วยปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้ครูอาจารย์ต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็นผู้วิจัยเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาการสอน การเรียนรู้ของผู้เรียน และการพัฒนาวิชาชีพครูเพิ่มขึ้น

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

พุทธสาวก คืออะไร

พุทธสาวก คือ ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชาวพุทธเพื่อนำไปปฏิบัติตาม โดยมีทั้งพุทธสาวก (ผู้ชาย) และพุทธสาวิกา (ผู้หญิง) ในระดับ ประถมศึกษาปีที่ 1 เราจะได้ศึกษา คือ สามเณรบัณฑิต...

ประวัติศาสดาของศาสนาคริสต์

ศาสดาของศาสนาคริสต์ คือ พระเยซู เป็นชาวยิวเกิดใน พ.ศ. ๕๔๓ (ค.ศ. ๑) ที่เมืองเยรูซาเลม ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิสราเอล พระเยซูเติบโตขึ้นด้วยความสนใจในทางศาสนา เมื่ออายุ ๓๐ ปีท่านได้เข้าพิธีรับศีลล้างบาป และเผยแผ่ศาสนาคริสต์เป็นเวลา ๓ ปี มีผู้ศรัทธาหันมานับถือเป็นจำนวนมากทำให้กลุ่มผู้นำศาสนาเดิมคิดกำจัดพระเยซู โดยกล่าวหาว่า พระเยซู...

ประวัติศาสดาของศาสนาอิสลาม

ศาสดาของศาสนาอิสลาม คือ นบีมุฮัมมัด มุฮัมมัดเป็นชาวอาหรับเกิดใน  พ.ศ. ๑๑๑๔ ที่นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มุฮัมมัดเป็นผู้นำโองการของอัลลอฮ์ (พระเจ้าของศาสนาอิสลาม) มาเผยแผ่จนเกิดเป็นศาสนาอิสลามขึ้น...

ปรินิพพาน (ตาย)

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเวลา ๔๕ ปี มีพุทธสาวกเป็นจำนวนมาก พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน (ดับ-ขัน-ธะ-ปะ-ริ-นิบ-พาน หมายถึง ตาย) ขณะพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ที่ใต้ต้นสาละ ณ เมืองกุสินารา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖...

About ครูออฟ 1185 Articles
https://www.kruaof.com