การออกแบบอัลกอริทึม ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

การเริ่มเขียนโปรแกรมต้องออกแบบการทำงานของโปรแกรมขึ้นมาก่อนหรือเรียกว่า การออกแบบอัลกอริทึม ทำได้โดยสร้างลำดับของคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เช่น ถ้าหากต้องการให้ตัวละครเคลื่อนที่ 100 ก้าวอาจทำได้ ดังนี้

ผังงาน การเคลื่อนที่ของตัวละคร
รูปที่ 1 ผังงาน การเคลื่อนที่ของตัวละคร

คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งหรืออัลกอริทึมที่กำหนดการให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างถูกต้องนั้น ต้องออกแบบอัลกอริทึมให้สมบูรณ์ โดยตรวจสอบเงื่อนไขให้ครอบคลุมทุกกรณี แล้วจึงพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ถ้าทำงานผิดพลาดหรือมีส่วนใดที่ทำงานไม่สมบูรณ์ เราสามารถปรับปรุงอัลกอริทึมได้แล้วจึงแก้ไขโปรแกรมต่อไป

แนวข้อสอบ

1. ก่อนเริ่มเขียนโปรแกรมควรทำอะไรเป็นลำดับแรก
1) ออกแบบแผนภาพความคิด
2) ออกแบบอัลกอริทึม
3) กำหนดตัวแปร
4) สร้างตาราง

ตัวอย่าง
ถ้าต้องการออกแบบอัลกอริทึมสำหรับประมวลผลการสอบ โดยวิชาที่สอบจะมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ถ้าทำคะแนนได้มากกว่าหรือเท่ากับ 50 คะแนน จะผ่านดังนั้นเงื่อนไขของปัญหานี้ คือ ถ้าคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 50 คะแนน ผ่าน และถ้าคะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 49 จะไม่ผ่านนั่นเอง ปัญหานี้ข้อมูลรับเข้า คือ คะแนน ส่วนข้อมูลส่งออก คือ ผลการสอบ เราอาจเขียนอัลกอริทึมได้ ดังนี้

เริ่มต้น
1. รับค่าคะแนนมาเก็บใน X
2. เงื่อนไข x >= 50 ใช่หรือไหม?
2.1 ถ้า x>=50 ผลสอบผ่าน
2.2 ถ้า x< 50 ผลสอบไม่ผ่าน
3. แสดงผลสอบ
จบ

ผังงานพิจารณาผลสอบ
รูปที่ 2 ผังงานการประมวลผลสอบ

การออกแบบอัลกอริทึมควรเขียนการทำงานหลัก ๆ ออกมาก่อน สำหรับการทำงานย่อย ๆ อาจแทรกเข้าไปภายหลังได้

การประมวลผล หมายถึง กระบวนการคิดหรือการจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ เคลื่อนย้าย ข้อมูลการเปรียบเทียบ และการคิดวิเคราะห์ข้อมูล อาจใช้สูตรทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์

จากรูปตอบคำถามต่อไปนี้

  1. ถ้าได้คะแนนสอบ 48 คะแนนเมื่อประมวลผลสอบแล้วเป็นอย่างไร
  2. ถ้าได้คะแนนสอบ 50 คะแนนเมื่อประมวลผลสอบแล้วเป็นอย่างไร
  3. ข้อมูลรับเข้าคืออะไร
  4. ข้อมูลส่งออกคืออะไร
  5. มีวิธีใดบ้างที่เปลี่ยนเงื่อนไขจากX >= 50 เป็นวิธีอื่น โดยได้ผลลัพธ์เหมือนเดิม

การเริ่มเขียนโปรแกรมต้องออกแบบการทำงานของโปรแกรมขึ้นมาก่อนหรือเรียกว่า การออกแบบอัลกอริทึม ทำได้โดยสร้างลำดับของคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยให้ครอบคลุมทุกกรณี แล้วจึงพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น การออกแบบอัลกอริทึมการประมวลผลการสอบและการออกแบบอัลกอริทึมควรเขียนการทำงานหลัก ๆ ออกมาก่อน สำหรับการทำงานย่อย ๆ อาจแทรกเข้าไปภายหลังได้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ใช้หลัก SMART ในการกำหนดวัตถุประสงค์

หลัก SMART เป็นกรอบการทำงานที่ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักคือ Specific (เฉพาะเจาะจง), Measurable (วัดผลได้), Achievable (สามารถทำได้), Relevant (สอดคล้อง), และ Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) การใช้หลัก SMART ช่วยให้การวางแผนและการบรรลุเป้าหมายเป็นไปอย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น Specific...

วิธีการสร้างบทเรียน: ขั้นตอนและแนวทางเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างบทเรียน การสร้างบทเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือขั้นตอนและแนวทางในการสร้างบทเรียน: 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ว่าผู้เรียนควรจะได้อะไรจากบทเรียนนี้ ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ 2. วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน พิจารณาระดับความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เลือกเนื้อหาที่สำคัญและตรงตามวัตถุประสงค์ จัดโครงสร้างเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรื่องง่ายไปยาก วางแผนกิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น การอภิปราย กลุ่มงาน...

ความหมายและประเภทของเงิน: คู่มือความรู้พื้นฐานทางการเงิน

ความหมายของเงิน เงินเป็นสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการวัดมูลค่า สะสมมูลค่า และเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คุณสมบัติของเงิน สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน: ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างสะดวก เครื่องมือวัดมูลค่า: สามารถกำหนดและแสดงมูลค่าของสินค้าและบริการได้อย่างชัดเจน เครื่องมือสะสมมูลค่า: สามารถเก็บรักษามูลค่าไว้เพื่อใช้ในอนาคตได้ มาตรฐานในการชำระหนี้: ใช้ในการชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด ประเภทของเงิน เงินสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและการใช้งาน ได้แก่: เงินสด: เหรียญและธนบัตรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เงินฝาก: เงินที่ฝากไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งสามารถถอนออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น เงินอิเล็กทรอนิกส์: เงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือเงินในแอปพลิเคชันการชำระเงิน เงินตราต่างประเทศ: สกุลเงินของประเทศอื่นที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน การเข้าใจความหมายและประเภทของเงินจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการและวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ:...

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง?

Generative AI คืออะไร? ทำไมถึงเป็นที่พูดถึง? Generative AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์เชิงกำเนิด คือ เทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีมนุษย์เข้ามาควบคุม ตัวอย่างผลงานของ Generative AI เช่น สร้างข้อความ: เขียนบทความ แต่งกลอน...

About ครูออฟ 1255 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.