ทฤษฎีการเรียนรู้ของBloom (Bloom’s Taxonomy)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

Bloom เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกัน เชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน และได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy of Educational objectives

ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน  ครอบคลุม (1) พุทธิพิสัย (2) จิตพิสัย และ (3) ทักษะพิสัย

1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความคิด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย  6 ระดับ ครอบคลุม (1) ความรู้ (2) ความเข้าใจ (3) การนำความรู้ไปประยุกต์ (4) การวิเคราะห์ (5) การสังเคราะห์ และ (6) การประเมินค่า

ที่มาของภาพ http://lifestyemyself.blogspot.com/p/bloom.html

1.1 ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆ และระลึกเรื่องราวนั้นๆ ออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ

1.2 ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้

1.3 การนำความรู้ไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้

1.4 การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆ ได้อย่างชัดเจน

1.5 การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน
โดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น

1.6 การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป
การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้ 

2. จิตพิสัย (Affective Domain) (พฤติกรรมด้านจิตใจ)

ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้ จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อยๆ 5 ระดับ ได้แก่

ที่มาของภาพ http://lifestyemyself.blogspot.com/p/bloom.html
  1. การรับรู้
  2. การตอบสนอง
  3. การเกิดค่านิยม
  4. การจัดระบบ
  5. บุคลิกภาพ

3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)

 พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้

  1. การรับรู้
  2. กระทำตามแบบ
  3. การหาความถูกต้อง
  4. การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจ
  5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ

จากทฤษฎีดังกล่าวคือผู้เรียนทุกคนนั้นต้องมีพื้นฐานในการเรียนรู้ทุกคน  แต่อาจจะไม่เท่ากันเพราะคนเรามีการเรียนรู้ที่ต่างกัน  บางคนพบเจอสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นก็จะมีความรู้ความเข้าใจที่ต่างจากคนอื่น

แต่ถ้าผู้เรียนมีพื้นฐานในการเรียนรู้คล้ายๆกันมีความรู้ ความเข้าใจ มีการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์คล้ายๆ กัน  ผลการเรียนรู้ของคนกลุ่มนี้ก็จะคล้ายกันด้วย

การที่ผู้เรียนจะเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นผู้เรียนจะต้องมีความกระตือรือร้นตลอดเวลา  ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เราจะเรียนรู้  เมื่อมีความเข้าใจแล้วต้องวิเคราะห์ให้ได้ก่อนจากนั้นถึงจะประเมินค่า จากทฤษฎีดังกล่าวกล่าวว่ามนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ  ทุกสิ่งนี้ต้องดำเนินไปอย่างพร้อมๆกัน  ถึงจะเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

ที่มา:  https://sirikanya926.wordpress.com/2014/01/18/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87bloom-blooms-taxono/ (ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2566)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า สิน ประสูติเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ เป็นบุตรของนายไหฮองกับนางนกเอี้ยง และได้อุปสมบทอยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี เพื่อศึกษาหาความรู้จนเกิดความชำนาญในด้านภาษาต่าง ๆ หลังจากลาสิกขาจึงได้เข้ารับราชการจนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก พ.ศ. ๒๓๐๘ พม่าได้ล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาตาก (สิน) จึงถูกเรียกตัวเข้ามาช่วยป้องกันพระนคร เมื่อเห็นว่าสถานการณ์ไม่พร้อมที่จะสู้พม่าได้...

พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มรณภาพ (อ่านว่า มอ-ระ-นะ-พาบ หมายถึง ตาย ใช้สำหรับพระสงฆ์) เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ สิริรวมอายุได้ ๘๕ ปี ๖๕ พรรษา คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง เป็นผู้มีเมตตาสูง ศรัทธาในพระรัตนตรัย...

พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : มหาวาณิชชาดก (โลภมากจนตัวตาย)

มหาวาณิชชาดก (โลภมากจนตัวตาย) ในอดีตมีพ่อค้ากลุ่มหนึ่งได้เดินทางไปค้าขายต่างเมือง ระหว่างที่เดินผ่านทะเลทรายอันแห้งแล้ง เสบียงอาหารและน้ำที่มีอยู่ค่อย ๆ หมดไป พวกพ่อค้ารู้สึกหมดอาลัยและคิดว่าพวกตนคงจะต้องอดน้ำและอาหารตายกลางทะเลทรายเป็นแน่ แต่เป็นโชคดีของพวกพ่อค้าเพราะกลางทะเลทรายมีต้นไม้อยู่ต้นหนึ่ง มีกิ่งก้านให้ร่มเงา พวกพ่อค้าต่างพากันอาศัยพักพิงใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่นั้น มีพ่อค้าคนหนึ่งมองเห็นน้ำซึมออกมาจากกิ่งทางด้านทิศตะวันออก จึงลองตัดปลายกิ่งออก ทันใดนั้น สายน้ำเย็นสะอาดก็ไหลออกมามากมาย พวกพ่อค้าต่างรู้สึกดีใจพากันดื่มน้ำดับกระหายจากต้นไม้วิเศษนั้นพ่อค้าอีกคนเห็นกิ่งไม้ด้านทิศใต้มีกลิ่นหอม น่ารับประทาน จึงตัดกิ่งไม้นั้นปรากฏว่ามีอาหารและผลไม้หล่นออกมามากมาย พวกพ่อค้าต่างดีใจและเก็บผลไม้มารับประทาน ทุกคนจึงรอดตายจากความอดอยาก เมื่อตัดกิ่งทางทิศตะวันตก...

About ครูออฟ 1207 Articles
https://www.kruaof.com