แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของสื่อใหม

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

สื่อใหม่ถือเป็นสื่อสังคมออนไลน์ เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม (Social Tool) เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ผ่านทางเว็บไซต์และโปรแกรมประยุกต์บนสื่อใด ๆ ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตซึ่งสื่อใหม่ก็มีข้อดีกว่ามากมาย ดังนี้ (พรจิต สมบัติพานิช, 2547:5)

  1. ช่วยลดต้นทุน สื่อใหม่ส่วนใหญ่สามารถช่วยลดต้นทุนในการประชาสัมพันธ์ได้มากเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ต้นทุนที่เกิดขึ้นจะมีเพียงต้นทุนในการสร้างสรรค์ ต้นทุนในการลงโฆษณาบนสื่อใหม่ ซึ่งเทียบแล้วถูกกว่าสื่อกระแสหลักมาก
  2. ตรงกลุ่มเป้าหมาย สื่อใหม่บางประเภทสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย และตรงกลุ่มเป้าหมาย สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้ละเอียดถึงขั้นประชากรศาสตร์และ ภูมิศาสตร์ ทำให้เจาะจงเพศ อายุ ความสนใจได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
  3. วัดผลได้ง่าย เนื่องจากความเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์และใช้ระบบการสื่อสารทำให้นักประชาสัมพันธ์สามารถวัดผลได้ง่าย เช่น การวัดผลจากคนคลิกป้ายประชาสัมพันธ์ โดยยังสามารถรู้ได้ด้วยว่า เมื่อคลิกแล้ว ผู้คนใช้เวลาดูข้อมูลนานเท่าใด และออกไปหน้าเว็บเพจไหนต่อ
  4. มีการปฏิสัมพันธ์ ผู้บริโภคสามารถมีการโต้ตอบกับสื่อใหม่ เช่น คลิกเพื่อดูข้อมูลตามรายการ การเล่นกับกราฟิกเกมบน Banner การขยับแผ่น AR Code เพื่อดูสินค้ารอบทิศทาง
  5. ไม่จำกัดพื้นที่และเวลา สามารถเข้าถึงสื่อใหม่ได้ทุกที่ ทุกเวลาที่มีการเข้าถึงเครือข่ายข้อมูล
  6. ให้ข้อมูลได้อย่างเต็มที่ สามารถให้ข้อมูลได้หลายระดับทั้งแบบข้อมูลขั้นต้น และข้อมูล
    เชิงลึกรายละเอียด ตอบสนองความต้องการของบุคคลได้หลายประเภท
  7. เผยแพร่ได้อย่างรวดเร็ว สื่อใหม่บนระบบเครือข่าย internet สามารถเผยแพร่ได้อย่าง
    รวดเร็วเพียงเสี้ยววินาทีก็สามารถกระจายข่าวสารไปยังทั่วโลก เกิดการบอกต่อได้ง่ายยิ่งขึ้น ถ้า
    ข่าวสารสื่อประชาสัมพันธ์มีความน่าสนใจ จะเกิดการบอกต่อ การแบ่งปันไปยังสื่อสังคมออนไลน์
    ทำให้แพร่กระจายได้หลายคนมากยิ่งขึ้น
  8. ลดทรัพยากรของโลก สื่อใหม่สามารถช่วยลดทรัพยากรกระดาษ หรือแรงงานที่ใช้ในการจัดพิมพ์หรือสร้างสื่อประชาสัมพันธ์แบบเดิม และใช้กำลังคนในแต่ละกระบวนการน้อยกว่า
  9. สื่อสาร 2 ทาง โดยผู้บริโภคสามารถให้ข้อคิดเห็นเสียงสะท้อนกลับมาได้ง่ายกว่าสื่อแบบเก่า
  10. มีความสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันและพัฒนาข้อมูลไปใช้ในสื่ออื่น ๆ ได้ เช่น ข้อมูลที่อยู่บนเว็บ สามารถไปใช้บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ และยังนำไปแสดงบนป้ายดิจิตอลได้

ในส่วนของบทบาทสื่อใหม่ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไลน์ ยูทูป เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความสะดวกในการติดต่อสื่อสารแล้ว ยังมีบทบาทในการกำหนดประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ดังนั้น สื่อใหม่ จึงมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรมการเสพข้อมูลข่าวสารของผู้คนในยุคปัจจุบัน อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการ สถาบันวิชาการ สื่อสาธารณะ (สวส.) ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) กล่าวถึง สื่อออนไลน์หรือสื่อใหม่กับบทบาทในการกำหนดประเด็นทางสังคมว่า สื่อออนไลน์สามารถแบ่งปันข่าวสารกันได้ง่าย โดยมี 8 ช. เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน ดังนี้

  1. ชม ติดตามข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้น ทั้ง ดู ฟัง อ่าน และ เขียน
  2. เชื่อม มีการเชื่อมโยงกับสังคมมากขึ้น ทั้งบุคคลที่เรารู้จัก ดารา นักการเมือง หรือ
    บุคคลที่เป็นที่รู้จักของสังคม
  3. แชร์ แบ่งปันข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ไปสู่เพื่อนและสังคมมากขึ้น
  4. ใช้ มีการใช้สื่อและอุปกรณ์การสื่อสาร เป็นกิจวัตรประจำวันจนแทบจะขาดไม่ได้ ทั้ง
    สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก กล้องดิจิตอล
  5. ชอบ สามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแสดง
    ความรัก ชอบ โกรธ อคติ
  6. ช่วย เป็นช่องทางในการให้ความช่วยเหลือ และส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้กันได้มากขึ้น
  7. เชื่อม เป็นการเชื่อมต่อกลุ่มลัทธิของผู้คนต่าง ๆ ได้มากขึ้น
  8. ชีพ มีการใช้สื่อออนไลน์เป็นประจำ จนมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

นอกจากนี้โซเชียลมีเดีย ยังเป็นแหล่งรวมพลังในการต่อต้านหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม มานับตั้งแต่ปี 2551 ที่เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลาย อาทิ ปรากฏการณ์ “ม็อบโซเชียลมีเดีย” ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มที่เรียกว่า คราวด์ซอร์สซิ่ง (Crowdsourcing) คือ การรวมตัวของกลุ่มคน หรือ มวลชน ที่ต้องการบรรลุเป้าหมายเดียวกัน (สุดทีวัล สุกใส, 2559)

ที่มา พงศ์สิน พรหมพิทักษ์,การจัดการเชิงธุรกิจและแนวดำเนินงานสื่อในยุคดิจิทัล

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้าม ป.6

        สีคู่ตรงข้ามคือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ สีคู่ตรงข้ามทำให้ผู้ที่มองเห็นเกิดความรู้สึกขัดแย้งแต่วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามที่เหมาะสมจะทำให้ผลงานทัศนศิลป์มีความโดดเด่นสวยงามและน่าสนใจ...

พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า สิน ประสูติเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ เป็นบุตรของนายไหฮองกับนางนกเอี้ยง และได้อุปสมบทอยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี เพื่อศึกษาหาความรู้จนเกิดความชำนาญในด้านภาษาต่าง ๆ หลังจากลาสิกขาจึงได้เข้ารับราชการจนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก พ.ศ. ๒๓๐๘ พม่าได้ล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาตาก (สิน) จึงถูกเรียกตัวเข้ามาช่วยป้องกันพระนคร เมื่อเห็นว่าสถานการณ์ไม่พร้อมที่จะสู้พม่าได้...

พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มรณภาพ (อ่านว่า มอ-ระ-นะ-พาบ หมายถึง ตาย ใช้สำหรับพระสงฆ์) เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ สิริรวมอายุได้ ๘๕ ปี ๖๕ พรรษา คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง เป็นผู้มีเมตตาสูง ศรัทธาในพระรัตนตรัย...

พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : มหาวาณิชชาดก (โลภมากจนตัวตาย)

มหาวาณิชชาดก (โลภมากจนตัวตาย) ในอดีตมีพ่อค้ากลุ่มหนึ่งได้เดินทางไปค้าขายต่างเมือง ระหว่างที่เดินผ่านทะเลทรายอันแห้งแล้ง เสบียงอาหารและน้ำที่มีอยู่ค่อย ๆ หมดไป พวกพ่อค้ารู้สึกหมดอาลัยและคิดว่าพวกตนคงจะต้องอดน้ำและอาหารตายกลางทะเลทรายเป็นแน่ แต่เป็นโชคดีของพวกพ่อค้าเพราะกลางทะเลทรายมีต้นไม้อยู่ต้นหนึ่ง มีกิ่งก้านให้ร่มเงา พวกพ่อค้าต่างพากันอาศัยพักพิงใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่นั้น มีพ่อค้าคนหนึ่งมองเห็นน้ำซึมออกมาจากกิ่งทางด้านทิศตะวันออก จึงลองตัดปลายกิ่งออก ทันใดนั้น สายน้ำเย็นสะอาดก็ไหลออกมามากมาย พวกพ่อค้าต่างรู้สึกดีใจพากันดื่มน้ำดับกระหายจากต้นไม้วิเศษนั้นพ่อค้าอีกคนเห็นกิ่งไม้ด้านทิศใต้มีกลิ่นหอม น่ารับประทาน จึงตัดกิ่งไม้นั้นปรากฏว่ามีอาหารและผลไม้หล่นออกมามากมาย พวกพ่อค้าต่างดีใจและเก็บผลไม้มารับประทาน ทุกคนจึงรอดตายจากความอดอยาก เมื่อตัดกิ่งทางทิศตะวันตก...

About ครูออฟ 1207 Articles
https://www.kruaof.com