3.1.1 รู้จักกับโปรแกรมตารางคำนวณ Microsoft Excel

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
Print Friendly, PDF & Email

โปรแกรมตารางคำนวณ Microsoft Excel 2016 เป็นโปรแกรมประเภท สเปรดชีต (Spread Sheet) เหมาะสำหรับการจัดการเกี่ยวกับการคำนวณ หาผลลัพธ์ การสร้างกราฟ แผนภูมิ สามารถป้อนข้อความ แทรกรูปภาพ และสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ ของตัวเลข และการจัดการเกี่ยวกับตารางข้อมูลได้ หน้าต่างของโปรแกรมตารางคำนวณ Microsoft Excel 2016 ประกอบด้วย

image 78
ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรม Microsoft Excel
  1. แถบเครื่องมือด่วน (Quick Access Toolbar) => ปุ่มคำสั่งที่เรียกใช้งานบ่อย ซึ่งสามารถกำหนดเพิ่มเติมได้ภายหลัง
  2. แถบชื่อเรื่อง (Title bar) => เป็นส่วนแสดงชื่อของโปรแกรมและชื่อไฟล์งานกำลังสร้างหรือเปิดใช้งาน ในปัจจุบัน
  3. ตัวควบคุมหน้าต่าง (Program Window Control) => ปุ่มควบคุม มีทั้งหมด 3 ปุ่ม ซึ่งปุ่มซ้ายสุดจะย่อโปรแกรมไปไว้ที่ Task bar ปุ่มกลางใช้ย่อขยายขนาดของหน้าจอ และปุ่มสุดท้ายใช้ปิดโปรแกรม
  4. ริบบอน (Ribbon) => เป็นแถบรวมรวมคำสั่งทั้งหมด เป็นส่วนติดต่อกับผู้ใช้โปรแกรม Microsoft Excel 2016 โดยมีการจัดเรียงคำสั่งเป็นชุดแท็บ ในแต่ละแท็บจะมีปุ่มคำสั่งย่อยที่เกี่ยวข้องกัน
  5. กล่องชื่อ (Name Box) => เป็นช่องที่ใช้สำหรับตั้งชื่อเซลล์
  6. แถบสูตร (Formula Bar) => ใช้สำหรับพิมพ์สูตรหรือฟังก์ชันต่าง ๆ
  7. คอมลัมภ์ (Column) => เป็นเซลล์ที่เรียงกันในแนวตั้งของแผ่นงาน
  8. แถว (Row) => เป็นเซลล์ที่เรียงกันในแนวนอนของแผ่นงาน
  9. เซลล์ (Cell) => เป็นช่องสำหรับเก็บข้อมูล
  10. แถบแสดงแผ่นงาน (Sheet Tab)
  11. พื้นที่สำหรับทำงาน (Worksheet)
  12. มุมมองเอกสาร
  13. Zoom => เป็นส่วนที่ใช้ปรับเปอร์เซ็นต์การซูมเข้าซูมออกเพื่อดูเอกสาร

ริบบอน (Ribbon)

แถบริบบอน (Ribbon) เป็นแท็บที่รวบรวมชุดคำสั่งต่าง ๆ ที่อยู่ในชุดหรือกลุ่มเดียวกันเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งริบบอนใน Microsoft Excel 2016 มีอยู่หลายกลุ่มด้วยกัน ดังนี้

1. เมนูไฟล์ (File) รวบรวมกลุ่มคำสั่งที่ใช้ในการจัดการกับไฟล์เอกสาร ประกอบด้วย การสร้างเอกสารใหม่ การเปิด ปิด การบันทึก การพิมพ์ การแชร์เอกสารกับบุคคลอื่น การส่งออก บัญชี คำติชม และคำสั่งตัวเลือกสำหรับการตั้งค่าพื้นฐานให้กับโปรแกรม

image 79

2. เมนูหน้าแรก (Home) รวบรวมกลุ่มคำสั่งที่ใช้ในการจัดรูปแบบข้อความประกอบด้วยคลิปบอร์ด (Clipboard) แบบอักษร (Font) การจัดแนว (Alignment) ตัวเลข (Number) ลักษณะ (Styles) เซลล์ (Cells) การแก้ไข (Editing)

image 80

3. เมนูแทรก (Insert) เป็นเมนูที่ใช้สำหรับแทรกออบเจ็กต์หรือองค์ประกอบต่าง ๆ ลงไปบนแผ่นงาน เพื่อใช้อ้างอิงประกอบข้อมูลให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมถึงการเพิ่มความสวยงาม ประกอบด้วยตาราง (Tables) ภาพประกอบ (Illustrations) แอพพลิเคชัน (Apps) แผนภูมิ (Charts) รายงาน (Reports) วิเคราะห์ข้อมูล (Spark lines) ตัวกรอง (Filters) การเชื่อมโยง (Link) ข้อความ (Text)

image 81

4. เค้าโครงหน้ากระดาษ (Page Layout) รวบรวมคำสั่งที่ใช้ในการจัดรูปแบบเอกสาร ประกอบด้วย ชุดรูปแบบ (Themes) การตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page Setup) ปรับพอดี (Scale to Fit) แผ่นงาน (Sheet Options) จัดเรียง (Arrange)

image 82

5. สูตร (Formulas) คือ แท็บเครื่องมือสำหรับการสร้างสูตรคำนวณ, การแทรกสูตร, การตรวจสอบสูตร เป็นต้น

image 83

6. ข้อมูล (Data) คือ แท็บรวบรวมกลุ่มเครื่องมือที่ใช้จัดการกับข้อมูลประเภทฐานข้อมูล เช่น จัดเรียงข้อมูล, กรองข้อมูล, นำเข้าข้อมูล, ส่งออกข้อมูล เป็นต้น

image 84

7. เมนูตรวจทาน (Review) รวบรวมคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร ประกอบด้วยการพิสูจน์อักษร การช่วยสำหรับการเข้าถึง ภาษา ข้อคิดเห็น การติดตามการเปลี่ยนแปลง การเปรียบเทียบ ป้องกัน และหมึก

image 85

8. เมนูมุมมอง (View) รวบรวมคำสั่งที่ใช้ในการแสดงรูปแบบของเอกสารและกำหนดส่วนประกอบต่าง ๆ ของหน้าต่างโปรแกรม ประกอบด้วย มุมมองสมุดงาน (Workbook Views) แสดง/ซ่อน (Show/Hide) ย่อ/ขยาย (Zoom) หน้าต่าง (Windows) มาโคร (Macros) ใช้สำหรับสร้างมาโคร โดยการบันทึกขั้นตอนการทำงานไว้ใช้งานภายหลัง

image 86

ปุ่มลัด หรือคีย์ลัด (Shortcut keys)” ช่วยให้การใช้งาน และการสั่งงานคำสั่งต่าง ๆ ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ง่าย และรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยการใช้คีย์ลัด เพื่อเข้าถึงคำสั่งต่าง ๆ โดยการใช้ปุ่ม Alt (สำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป), Command key (สำหรับ Mac), ปุ่ม Ctrl หรือ Shift พร้อมกับปุ่มอื่น ๆ ซึ่งคำสั่งเหล่านี้จะใช้สัญลักษณ์บวก เพื่อให้เข้าใจคีย์ลัดง่ายขึ้น เช่น Ctrl+S นั่นหมายความว่าให้กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้แล้วกดปุ่ม S

โปรแกรม Microsoft Excel 2016 เป็นโปรแกรมที่ช่วยการเก็บรวบรวม การคำนวณ โดยการทำงานของโปรแกรมจะใช้ตารางตามแนวนอน (Row) และแนวตั้ง (Column) เป็นหลัก ซึ่งเป็นโปรแกรมประเภทตารางทำการ (Spread Sheet) โดยมีเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานสะดวก รวดเร็ว

คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อสื่อสารกับผู้ปกครองในระบบการศึกษา

การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อสื่อสารกับผู้ปกครองในระบบการศึกษาเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเครื่องมือเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง นี่คือการนำเสนอวิธีการและประโยชน์ของการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการสื่อสารกับผู้ปกครอง: 1. แพลตฟอร์มการสื่อสารเฉพาะด้านการศึกษา เครื่องมืออย่าง ClassDojo, Seesaw, และ Edmodo เป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อการสื่อสารระหว่างครู ผู้ปกครอง และนักเรียนโดยเฉพาะ ผู้ปกครองสามารถติดตามความก้าวหน้าของบุตรหลาน และรับข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างรวดเร็วและสะดวก 2. อีเมลและจดหมายข่าวดิจิทัล การใช้อีเมลและจดหมายข่าวดิจิทัลเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับผู้ปกครอง ข้อดีของวิธีนี้คือสามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด นอกจากนี้ยังสามารถแนบไฟล์หรือเอกสารสำคัญเพิ่มเติมได้ 3. แอปพลิเคชันสำหรับการส่งข้อความ แอปพลิเคชันเช่น LINE, WhatsApp, และ...

ใช้หลัก SMART ในการกำหนดวัตถุประสงค์

หลัก SMART เป็นกรอบการทำงานที่ช่วยในการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักคือ Specific (เฉพาะเจาะจง), Measurable (วัดผลได้), Achievable (สามารถทำได้), Relevant (สอดคล้อง), และ Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) การใช้หลัก SMART ช่วยให้การวางแผนและการบรรลุเป้าหมายเป็นไปอย่างมีระบบและสามารถตรวจสอบได้ง่ายขึ้น Specific...

วิธีการสร้างบทเรียน: ขั้นตอนและแนวทางเพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การสร้างบทเรียน การสร้างบทเรียนเป็นกระบวนการที่สำคัญสำหรับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นี่คือขั้นตอนและแนวทางในการสร้างบทเรียน: 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของบทเรียน ระบุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน ว่าผู้เรียนควรจะได้อะไรจากบทเรียนนี้ ใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการกำหนดวัตถุประสงค์ 2. วิเคราะห์ผู้เรียน ศึกษาความรู้พื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน พิจารณาระดับความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม 3. ออกแบบเนื้อหาและกิจกรรม เลือกเนื้อหาที่สำคัญและตรงตามวัตถุประสงค์ จัดโครงสร้างเนื้อหาอย่างเป็นระบบ เริ่มจากเรื่องง่ายไปยาก วางแผนกิจกรรมที่มีส่วนร่วม เช่น การอภิปราย กลุ่มงาน...

ความหมายและประเภทของเงิน: คู่มือความรู้พื้นฐานทางการเงิน

ความหมายของเงิน เงินเป็นสิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการวัดมูลค่า สะสมมูลค่า และเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ ความสามารถในการทำหน้าที่เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คุณสมบัติของเงิน สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน: ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างสะดวก เครื่องมือวัดมูลค่า: สามารถกำหนดและแสดงมูลค่าของสินค้าและบริการได้อย่างชัดเจน เครื่องมือสะสมมูลค่า: สามารถเก็บรักษามูลค่าไว้เพื่อใช้ในอนาคตได้ มาตรฐานในการชำระหนี้: ใช้ในการชำระหนี้ได้ตามที่กำหนด ประเภทของเงิน เงินสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะและการใช้งาน ได้แก่: เงินสด: เหรียญและธนบัตรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เงินฝาก: เงินที่ฝากไว้ในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ซึ่งสามารถถอนออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น เงินอิเล็กทรอนิกส์: เงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือเงินในแอปพลิเคชันการชำระเงิน เงินตราต่างประเทศ: สกุลเงินของประเทศอื่นที่ใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เงินมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน การเข้าใจความหมายและประเภทของเงินจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการและวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ประเภทของเงิน: เงินเหรียญ:...

About ครูออฟ 1256 Articles
https://www.kruaof.com